วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี-แนวทางของความร่วมมือในอาเซียน

การประชุมรมต.กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีอาเซียน ครั้งที่๑๔ได้มีขึ้น ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียตนาม เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาซึ่งเป็นการประชุมที่ได้รับการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยสมาชิกอาเซียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ ที่ประชุมได้เห็นพ้องกันว่า จะปฏิบัติความคิดสร้างสรรค์เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของอาเซียน

            จากหัวข้อ“วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์เพื่ออาเซียนที่แข่งขันอย่างยั่งยืนและผสมผสาน” ที่ประชุมไม่เพียงแต่เน้นประเมินผลสำเร็จของความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในเวลาที่ผ่านมาเท่านั้นหากยังอภิปรายเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีของอาเซียนในช่วงปี๒๐๑๒ถึงปี๒๐๑๗ด้วยโดยมี๖โครงการที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจ เทคโนโลยีดิจิตอล กลไกสื่อสารมวลชน เครือข่ายสังคม เทคโนโลยีสีเขียว ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน การบริหารน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสุขภาพและความเจริญรุ่งเรืองของชีวิตและเห็นพ้องกันว่า อาเซียนควรมีข้อตกงเกี่ยวกับความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของหุ้นส่วนเพื่อให้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นพลังขับเคลื่อนผลักดันการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศในภูมิภาค  ศาสตราจารย์โล เทค แซง ผู้อำนวยการบริหารองค์การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิจัยสิงคโปร์เผยว่า 
           “ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง พวกเรามี๖โครงการที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆซึ่งประเทศสมาชิกต้องร่วมมือกันเพื่อปฏิบัติ สิงคโปร์มีความประสงค์ที่จะขยายความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆในภูมิภาค  แม้ว่า ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและความต้องการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียนจะไม่เท่ากันแต่สิ่งที่สำคัญคือทุกประเทศล้วนให้ความสนใจถึงความร่วมมือในด้านต่างๆโดยเฉพาะ การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติและความมั่นคงด้านอาหาร”
             ที่ประชุมได้อนุมัติขั้นตอนความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมโดยในช่วงปี๒๐๑๒ถึงปี๒๐๑๗อาเซียนจะปฏิบัติโครงการที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในภูมิภาค เช่น ปัญหาความมั่นคงด้านอาหารจะได้รับการปฏิบัติจนถึงปี๒๐๑๓ ระบบเตือนภัยเพื่อลดภัยธรรมชาติ เชื้อเพลิงชีวภาพ การประยุกต์ใช้และพัฒนาซอฟต์แวร์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้รับการปฏิบัติในช่วงปี๒๐๑๑ถึงปี๒๐๑๕ และอภิปรายถึงข้อเสนอของไทยเกี่ยวกับการจัดตั้งเครือข่ายสำนักงานกำกับดูแลความปลอดภัยนิวเคลียร์ในอาเชียน
             ในการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุวน.ภายหลังการประชุม นายNguyễn Quân รมต.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวน.ได้กล่าวว่าอุปสรรคในความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีของอาเซียนปัจจุบันคือ ระดับการพัฒนาของ๑๐ประเทศสมาชิกไม่เท่ากันดังนั้นในกระบวนการวิจัยและวางหน้าที่ร่วมจึงไม่ได้รับความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ แต่อย่างไรก็ดี ประเทศสมาชิกยังคงมีความมุ่งมั่น ความร่วมมือที่ดีงาม รวมทั้งความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์จากบรรดาผู้นำดังนั้นการเลือก๖เนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆเพื่อปฏิบัติกำลังได้รับความสนใจจากประเทศสมาชิก เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  ความร่วมมือในการวิจัยและเตือนภัยแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ การพัฒนาเกษตร  การแสวงหาเสียงพูดร่วมและการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ รมต.Nguyễn Quân กล่าวว่า 

          “ประเทศอาเซียนมีจุดแข็งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีดังนั้นอาจจะร่วมมือกับประเทศที่มีระดับการพัฒนาสูงได้หรืออาจให้ความช่วยเหลือประเทศที่มีระดับการพัฒนาปานกลาง ในหลายปีที่ผ่านมา บางประเทศอาเซียนได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆในโลกด้วยเหตุนี้ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีของประเทศอาเซียนจะมีอนาคตอันสดใส และประเทศสมาชิกต้องร่วมมือกันมากยิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพอันยิ่งใหญ่ให้แก่การพัฒนาของแต่ละประเทศสมาชิก”

            ในยุคเศรษฐกิจเชิงปัญญาในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นหนึ่งในด้านที่มีความสำคัญในความร่วมมืออาเซียน เป็นปัจจัยชี้ขาด มีส่วนร่วมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ค้ำประกันการขยายตัวอย่างยั่งยืน และยกระดับทักษะของอาเซียนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้ อาเซียนกำลังปฏิบัติโครงการร่วมมือหลายโครงการ รวมทั้ง๖ด้านที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในความร่วมมือของอาเซียนครั้งนี้  ผลสำเร็จของการประชุมครั้งนี้ยืนยันอีกครั้งถึงความตั้งใจที่จะขยายความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อมุ่งสู่การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนบน๓เสาหลักคือ การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมในปี๒๐๑๕ ให้เป็นผลสำเร็จ./.

 

คำติชม

ณํชชา

ดีค่ะกำลังรายงานพอดีเลย

ข่าวอื่นในหมวด