การประชุมรัฐมนตรีสหกรณ์ย่านเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10

(VOVworld) - รัฐเวียดนามให้ความสนใจช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจร่วมมือแบบสหกรณ์ การประชุมนี้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ทั้งในระดับภูมิภาคและโลกมีความผันผวนอย่างซับซ้อน มีทั้งโอกาสและความท้าทาย ดังนั้นต้องผลักดันความเชื่อมโยงและการผสมผสานเข้ากับกระแสภูมิภาคอย่างกว้างลึก 

การประชุมรัฐมนตรีสหกรณ์ย่านเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10 - ảnh 1
บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม

(VOVworld) - การประชุมรัฐมนตรีสหกรณ์ย่านเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10 ภายใต้หัวข้อ “วิสัยทัศน์จนถึงปี 2030: ผลักดันการช่วยเหลือและความร่วมมือมากขึ้นระหว่างรัฐบาลกับสหกรณ์เพื่อปฏิบัติเป้าหมายพัฒนาอย่างยั่งยืน” ได้เปิดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 18 เมษายน ณ กรุงฮานอย ซึ่งมีผู้แทนต่างประเทศเกือบ 500 คนเข้าร่วม ในการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม นาง ดั่งถิหงอกถิ่ง รองประธานประเทศได้แสดงความภาคภูมิใจและเป็นเกียรติที่เวียดนามได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสหกรณ์ย่านเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10  และยืนยันว่า นี่คือช่วงที่เวียดนามสามารถมีส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นให้แก่สหกรณ์ย่านเอเชียแปซิฟิก นำผลประโยชน์มาสู่สหกรณ์และประชาชน เวียดนามเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา รัฐเวียดนามให้ความสนใจช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจร่วมมือแบบสหกรณ์ การประชุมนี้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ทั้งในระดับภูมิภาคและโลกมีความผันผวนอย่างซับซ้อน มีทั้งโอกาสและความท้าทาย ดังนั้นต้องผลักดันความเชื่อมโยงและการผสมผสานเข้ากับกระแสภูมิภาคอย่างกว้างลึก ทำให้ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนมีความคึกคักมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อผลักดันการขยายตัวของสหกรณ์ รองประธานประเทศ ดั่งถิหงอกถิ่งได้ย้ำว่า “ดิฉันเห็นว่าไอซีเอ – เอพีต้องเน้นแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนในปัจจุบันผ่านการผลักดันความร่วมมือและมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล พวกเราต้องผลักดันเศรษฐกิจร่วมมือแบบสหกรณ์ ในการปฏิรูปโครงสร้างต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อไอซีเอ เอพี เพื่อผลักดันความร่วมมือ ยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสหกรณ์ต่างๆ ขยายตัวอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และลดช่องว่างการพัฒนา สร้างสรรค์ชุมชนสหกรณ์ที่เข้มแข็งและพัฒนาอย่างยั่งยืน ถือประชาชนและสหกรณ์เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา”
ในกรอบการประชุมรัฐมนตรีสหกรณ์ย่านเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10 จะมีการจัดการประชุมเชิงวิชาการต่างๆ เช่น กระบวนการจนถึงปี 2030: โครงการของสหพันธ์สหกรณ์ระหว่างประเทศและเป้าหมายพัฒนาอย่างยั่งยืน บทบาทของสหกรณ์ตลอดจนผู้ผลิตและจำหน่ายเพื่อค้ำประกันสิทธิการเข้าถึงอาหาร สหกรณ์สามารถเข้าถึงด้านสาธารณสุข การศึกษา เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การดูแลและให้ความสนใจผู้สูงอายุและให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อสตรีและเยาวชน เป็นต้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด