การประชุมแม่โขง-ล้านช้างครั้งที่ 2 ออกแถลงการณ์พนมเปญ

(VOVWORLD) - การประชุมแม่โขง-ล้านช้างหรือ MCL ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “แม่น้ำแห่งสันติภาพและพัฒนาอย่างยั่งยืนของพวกเรา” ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม ณ กรุงพนมเปญ โดยที่ประชุมได้ประเมินการปฏิบัติความร่วมมือนับตั้งแต่การประชุม MCL ครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคมปี 2016 และหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือในเวลาที่จะถึง
การประชุมแม่โขง-ล้านช้างครั้งที่ 2 ออกแถลงการณ์พนมเปญ - ảnh 1การประชุมแม่โขง-ล้านช้างครั้งที่ 2 ออกแถลงการณ์พนมเปญ (vietnamplus) 

บรรดาผู้นำได้ยืนยันอีกครั้งถึงเป้าหมายสร้างสรรค์ภูมิภาคแม่น้ำโขง-ล้านช้างที่สันติภาพ เสถียรภาพ พัฒนาอย่างยั่งยืนและเจริญรุ่งเรือง เห็นพ้องกันว่า ความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างต้องมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งมากขึ้นต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของภูมิภาค ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกและให้การช่วยเหลือการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียน ควบคู่กันนั้น ความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างต้องประสานงานอย่างกลมกลืนกับโครงการและแผนการพัฒนา เหมือนแผนการแบบบูรณาการณ์เชื่อมโยงอาเซียนหรือเอ็มพีเอซี ข้อคิดริเริ่มผสมผสานอาเซียนหรือไอเอไอ ระเบียบวาระการประชุม 2030 เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติและข้อคิดริเริ่มเชื่อมโยงภูมิภาค

ในการประชุม บรรดาผู้นำได้ออกแถลงการณ์พนมเปญและแผนปฏิบัติการ 5 ปี MCL ในช่วงปี 2018-2022 ด้วยการกำหนดแนวทางใหญ่ๆและมาตรการปฏิบัติความร่วมมือบน 3 เสาหลักคือ ความมั่นคง-การเมือง เศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน สังคม วัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนระดับประชาชน

ในการปิดการประชุม นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้ส่งมอบหน้าที่ประธานร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างให้แก่นายกรัฐมนตรีลาว

ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังการประชุม นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สมเด็จ ฮุนเซน ได้เผยว่า “ในการเสร็จสิ้นการประชุม พวกเราได้จัดตั้งคณะเลขาธิการประสานงานของแต่ละประเทศและคณะกรรมการอื่นๆเพื่อให้การช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกและหน่วยงานอื่นๆ เช่นศูนย์ร่วมมือด้านแหล่งน้ำ ศูนย์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแม่โขง-ล้านช้างและศูนย์วิจัยแม่โขง-ล้านช้าง พวกเรายินดีมากและมีความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติคำมั่นแม่โขง-ล้านช้างครั้งที่หนึ่งที่ผ่านมาเป็นอย่างดี”

ส่วนนาย หลีเค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนได้ยืนยันอีกครั้งถึงการสนับสนุนต่อหลักการขั้นพื้นฐานของความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างคือความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ความเสมอภาค การประสานงานและทาบทามความคิดเห็นระหว่างกัน อาสา ร่วมมือและแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ให้ความเคารพกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายสากล พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่า กลไกความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างคือกลไกความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแนวโน้มโลกาภิวัตน์และการผสมผสานที่นับวันเข้มแข็งในปัจจุบัน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด