ผู้แทนสภาแห่งชาติตั้งกระทู้ถามสมาชิกรัฐบาล

(VOVWORLD) - เมื่อเช้าวันที่ 16 พฤศจิกายน ณ กรุงฮานอย ที่ประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 4 สมัยที่ 14 ได้เริ่มการตั้งและตอบกระทู้ถามผู้แทนสภาฯเป็นเวลา 3 วัน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุเวียดนามเพื่อให้ประชาชนและผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถติดตามรับชมและรับฟังได้อย่างทั่วถึง

นาย ดิงเตี๊ยนหยุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ตอบกระทู้ถามผู้แทนสภาฯคนแรก โดยได้ชี้แจงปัญหาต่างๆ เช่น การบริหารจัดการด้านภาษี ศุลกากร มาตรการผลักดันการบริหารจัดการหนี้สาธารณะเพื่อคํ้าประกันการรักษาระบบการเงินให้ปลอดภัยและดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับมาตรการผลักดันการทำระเบียบศุลกากรสำหรับสินค้าส่งออกเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่สถานประกอบการ นาย ดิงเตี๊ยนหยุง ได้เผยว่า“นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติมติให้จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบสินค้านำเข้าส่งออก ณ ด่าน เพื่อสนับสนุนการทำระเบียบศุลกากร 10 แห่งในจังหวัดและนครที่มีกิจกรรมการนำเข้าส่งออกสินค้าให้ดำเนินไปอย่างคึกคัก เช่น นครโฮจิมินห์ กรุงฮานอย เมืองท่าไฮฟอง จังหวัดหล่างเซิน นครดานัง จังหวัดลาวกาย จังหวัดกว๋างนิงและจังหวัดกว๋างหงาย พร้อมทั้งเสนอมาตรการเปลี่ยนแปลงใหม่ตามแนวทางลดเวลาทำระเบียบศุลกากร ยกเลิกขั้นตอนที่ซํ้าซ้อนกัน ลดจำนวนหน่วยงานตรวจสอบทางวิชาการ ประสานงานกับกระทรวงต่างๆในการปฏิบัติกลไกone-stop-service ระดับชาติและในภูมิภาคอาเซียนระยะปี 2016-2020 และชี้นำให้หน่วยงานศุลกากรผลักดันโครงการปฏิบัติระเบียบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ระยะ 2 ให้แล้วเสร็จ”

นาย ดิงเตี๊ยนหยุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ยืนยันว่า กระทรวงการคลังได้ทำการปฏิรูประเบียบราชการอย่างเคร่งครัด สำหรับปัญหาการควบคุมความไม่สมดุลของรายรับรายจ่ายงบประมาณแผ่นดิน นาย ดิงเตี๊ยนหยุง ได้เผยว่า“เราเน้นใช้เงินโอดีเอเพื่อลงทุนโครงการที่สำคัญๆและส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ควบคุมอัตราหนี้สาธารณะอย่างค่อยเป็นค่อยไป กำหนดอัตราขาดดุลรายรับรายจ่ายงบประมาณแผ่นดินและกระบวนการลดอัตรานี้ เพิ่มความเข้มงวดในคํ้าประกันของรัฐบาล อีกหนึ่งมาตรการก็คือการกำหนดการเบิ่กจ่ายเงินโอดีเอให้แก่โครงการต่างๆต้องไม่สูงกว่า 300 ล้านล้านด่ง ทำให้ระบบการเงินสาธารณะมีความโปร่งใสและควบคุมการลงทุนสาธารณะอย่างเข้มงวด”

สำหรับปัญหาหนี้สาธารณะ นาย เวืองดิ่งเหวะ รองนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่า“รัฐบาลยืนหยัดไม่เสนอให้สภาแห่งชาติเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ พร้อมทั้งชี้นำให้กระทรวงการคลังจัดทำโครงการปรับปรุงโครงสร้างรายรับรายจ่ายเพื่อคํ้าประกันการรักษาระบบการเงินให้ปลอดภัยและดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลตั้งเป้าหมายว่า จนถึงปี 2020 อัตราหนี้สาธารณะต้องไม่สูงกว่าร้อยละ 65 หนี้เสียของรัฐบาลไม่สูงกว่าร้อยละ 54 และหนี้ต่างประเทศไม่สูงกว่าร้อยละ 50 ของจีดีพี ดังนั้น ค่าใช้จ่ายและการกู้เงินต่างๆต้องสอดคล้องกับความสามารถในการชำระ”.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด