อนาคตของเอเปกคืออนาคตของเวียดนาม

(VOVWORLD) - “อนาคตของเอเปกคืออนาคตของเวียดนาม” นี่คือคำยืนยันของนาย ฝ่ามบิ่งมิง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในพิธีเปิดการประชุมครบองค์ครั้งที่ 24 สภาความร่วมมือประกอบธุรกิจเอเปกเมื่อเช้าวันที่ 15 พฤษภาคม ณ กรุงฮานอย
อนาคตของเอเปกคืออนาคตของเวียดนาม - ảnh 1 ภาพการประชุม

ซึ่งเป็นนัดประชุมที่สำคัญในกรอบการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปกครั้งที่ 2 โดยนาย ฝ่ามบิ่งมิง ได้เผยว่า สภาความร่วมมือประกอบธุรกิจเอเปกเป็นกลไกที่ระดมสติปัญญาของสถานประกอบการ รัฐบาลและนักวิชาการเพื่อแสวงหามาตรการแก้ไขความท้าทายที่สำคัญๆที่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกำลังต้องเผชิญ

โดยที่ประชุมได้หารือถึงปัญหาต่างๆ เช่น แนวทางการพัฒนาเอเชีย-แปซิฟิกในทศวรรษหน้า เอเปกต้องทำอะไรเพื่อผลักดันการขยายตัวด้านเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและมีความคิดสร้างสรรค์ในยุคดิจิตอล สร้างสรรค์ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดและเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การเชื่อมโยงเศรษฐกิจในโลกยุคโลกาภิวัตน์

“จากการอยู่ใจกลางภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เวียดนามได้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงใหม่ในทุกด้าน การผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างกว้างลึกและปฏิบัตินโยบายการต่างประเทศหลายรูปแบบหลายฝ่าย  ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในนโยบายการต่างประเทศของเวียดนาม ซึ่งข้อเสนอและความคิดเห็นของบรรดาผู้แทนในวันนี้จะมีส่วนร่วมที่สำคัญต่อการจัดทำแนวทางความร่วมมือเอเปกจนถึงปี 2020 และในอนาคต”

นอกรอบการประชุม นาย หวอชี๊แถ่ง ประธานคณะกรรมการแห่งชาติเกี่ยวกับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจแปซิฟิก หรือ VNCPEC ได้ยืนยันว่า การประชุมเอเปกปีนี้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่กระบวนการเชื่อมโยงในภูมิภาคเป็นไปอย่างซับซ้อน ซึ่งจากการเป็นเศรษฐกิจที่เปิดกว้างและคล่องตัว เวียดนามมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งต่อกระบวนการเชื่อมโยงและผสมผสานเข้ากับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเพราะอนาคตของเอเปกก็คืออนาคตของเวียดนาม

“จากการผสมผสานอย่างกว้างลึกในปัจจุบัน นอกเหนือจากการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาการค้า การลงทุนและการผสมผสานในภูมิภาค ที่ประชุมเอเปกยังเสนอความคิดริเริ่มใหม่เพื่อแก้ไขความท้าทายที่เวียดนามกำลังต้องเผชิญ เช่น การพัฒนาตัวเมือง โครงสร้างประชากร การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ซึ่งช่วยให้เวียดนามทำการปฏิรูปในด้านต่างๆ”

ที่ประชุมยังได้เสนอมาตรการแก้ไขความท้าทายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น ปัญหาผลผลิตตกตํ่า การพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างภูมิภาคและระหว่างเศรษฐกิจต่างๆ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด