ก้าวกระโดดในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในจังหวัดลายโจว์

(VOVworld) - ถึงแม้เป็นจังหวัดเขตเขาในเขตชายแดนที่ประสบความยากลำบากมากมาย แต่จังหวัดลายโจว์ได้ฟันฝ่าอุปสรรคและเป็นหนึ่งใน 3 จังหวัดเขตเขาภาคเหนือที่มีก้าวกระโดดในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ จนถึงขณะนี้ จังหวัดลายโจว์มี 15 ตำบลที่ได้มาตรฐานของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ รวมถึงตำบลบ๊านยางที่เป็นหนึ่งในตำบลที่ประสบความยากลำบากมากแต่ก็ได้บรรลุ มาตรฐานและกลายเป็นจุดเด่นในโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในเขตเขาตะวันตกเฉียง เหนือ
(VOVworld) - ถึงแม้เป็นจังหวัดเขตเขาในเขตชายแดนที่ประสบความยากลำบากมากมาย แต่จังหวัดลายโจว์ได้ฟันฝ่าอุปสรรคและเป็นหนึ่งใน 3 จังหวัดเขตเขาภาคเหนือที่มีก้าวกระโดดในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ จนถึงขณะนี้ จังหวัดลายโจว์มี 15 ตำบลที่ได้มาตรฐานของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ รวมถึงตำบลบ๊านยางที่เป็นหนึ่งในตำบลที่ประสบความยากลำบากมากแต่ก็ได้บรรลุมาตรฐานและกลายเป็นจุดเด่นในโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในเขตเขาตะวันตกเฉียงเหนือ
ก้าวกระโดดในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในจังหวัดลายโจว์ - ảnh 1
ประชาชนชนกลุ่มน้อยเข้าร่วมการก่อสร้างถนนในจังหวัดลายโจว์ (Photo: baolaichau.vn)
ตำบลบ๊านยางในอำเภอตามเดื่องจังหวัดลายโจว์มีหมู่บ้าน 9 แห่งที่เป็นที่อยู่อาศัยของ 5 ชนเผ่า โดยส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าไย้และชนเผ่าม้งและมีประชากรกว่า 3 พัน 5 ร้อยคน ถึงแม้เป็นตำบลเขตเขาที่ประสบความยากลำบากมากมาย แต่ตำบลบ๊านยางได้เสร็จสิ้นโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ของจังหวัดลายโจว์ในปี 2015 โดยตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปัจจุบัน  ตำบลบ๊านยางได้ระดมทุกแหล่งพลังเพื่อลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รวมมูลค่ากว่า 3 หมื่น 9 พันล้านด่ง ซึ่งในนั้น ประชาชนได้บริจาคที่ดินเกือบ 3 เฮกตาและบริจาคเงินกว่า 500 ล้านด่ง พร้อมทั้งเข้าร่วมกระบวนการก่อสร้างกิจการสาธารณะ นาย เหงวียนบ๊าเกี๋ยน ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลบ๊านยาง อำเภอตามเดื่องได้เผยว่า“ในเวลาข้างหน้า พวกเราจะใช้งบประมาณของตำบล อีกทั้งส่งเสริมให้ธนาคารนโยบายสังคมและธนาคารการเกษตรปล่อยเงินกู้เพื่อช่วยให้ชาวบ้านพัฒนาการผลิตและปศุสัตว์ ในปี 2016 พวกเราจะพยายามเพิ่มอัตราครอบครัวที่หลุดพ้นจากความยากจนเพื่อสานต่อผลสำเร็จในปี 2015”
อำเภอตามเดื่องเป็นอำเภอแถวหน้าของจังหวัดลายโจว์ในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ โดยมี ตำบล 4 แห่งจากทั้งหมด 13 แห่งที่ได้มาตรฐานของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ประชาชนได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการใช้พลังจากแหล่งต่างๆในการก่อสร้างกิจการสาธารณะ ส่วนการปฏิบัติก็ได้ดำเนินไปอย่างโปร่งใสและเปิดเผยภายใต้การตรวจสอบของประชาชน นอกเหนือจากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในท้องถิ่นยังได้เน้นปฏิบัติกิจกรรมต่างๆเพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ ทำให้อัตราครอบครัวที่ยากจนได้ลดลงจากร้อยละ 51.78 เมื่อปี 2010 เหลือร้อยละ 14.7 ในปี 2015 นาย บุ่ยกวางวิง รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอตามเดื่องกล่าวว่า“พวกเราจะรณรงค์ให้ประชาชนส่งเสริมบทบาทเป็นแกนหลักในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเพื่อให้โครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เข้าสู่ชีวิตอย่างจริงจัง  โดยเน้นการพัฒนาการผลิตสินค้าการเกษตรควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงกับตลาด ผลักดันการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตตามแนวทางที่ยั่งยืน ปฏิบัติโครงการและนโยบายให้ความช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจนในตำบลที่มีอัตราครอบครัวที่ยากจนในระดับสูง ผลักดันการตรวจสอบและการบริหารการใช้แหล่งเงินทุนเพื่อการสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพ”
หลังการปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่มาเป็นเวลา 5 ปี จนถึงขณะนี้ จังหวัดลายโจว์มี 15 ตำบลที่ได้มาตรฐานของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวมาจากการใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในด้านภูมิศาสตร์ ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและประเพณีการทำการเกษตรของท้องถิ่นต่างๆที่อยู่เลียบตามทางหลวงหมายเลข 32 และหมายเลข 4 D การตั้งถิ่นฐานใหม่ของตำบลต่างๆที่ถูกเวนคืนที่ดินให้แก่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำห่วยกว๋าง บ๊านจ๊าต เซินลาและลายโจว์ การใช้งบประมาณสำหรับการบริการทางด้านสิ่งแวดล้อมและป่าเพื่อสนับสนุนชาวบ้านพัฒนาการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้
นาย ห่าวันอุม ผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทและรองหัวหน้าคณะกรรมการชี้นำโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่จังหวัดลายโจว์ได้เผยว่า ทางการจังหวัดได้ตั้งเป้าหมายว่า ตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี 2020 แต่ละปีจะมีอีก 6 ตำบลที่ได้มาตรฐานของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่และเผยว่า“ในเวลาข้างหน้า พวกเราจะให้ความสนใจเป็นอันดับแรกต่อการธำรงรักษาและยกระดับมาตรฐานที่ได้บรรลุใน 15 ตำบลที่ได้มาตรฐานของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ อีกทั้งเน้นการปฏิบัติมาตรฐานต่างๆของการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในอีก 6 ตำบลในปี 2016 โดยเฉพาะการก่อสร้างระบบคมนาคมชนบท สิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัยของประชาชน นอกจากนี้ ทางการจังหวัดจะผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างการเกษตร ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพันธุ์พืชและสัตว์ตามตำบลต่างๆควบคู่ไปกับการฝึกสอนอาชีพให้แก่แรงงานในเขตชนบทเพื่อเพิ่มรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน”
จากการปฏิบัติมาตรการต่างๆที่มีความคิดสร้างสรรค์และสอดคล้องกับสถานการณ์ในท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพแสดงให้เห็นว่า การสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในจังหวัดลายโจว์กำลังเดินถูกทิศทาง ซึ่งถือเป็นก้าวกระโดดเพื่อช่วยให้ทางการท้องถิ่นทุกระดับสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด