พัฒนาผลิตภัณฑ์หลักของหมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามตามแนวทางหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์

(VOVWORLD) - รูปแบบ  “หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือโอวีโอพี มีต้นแบบจากหมู่บ้าน Oita ประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 30 ปีก่อน รูปแบบนี้ได้บรรลุผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่และขยายผลไปยังหลายประเทศ รวมทั้งเวียดนาม เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2018 นายกรัฐมนตรีได้ลงนามมติอนุมัติโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ในช่วงปี 2018-2020 หรือ OCOP ซึ่งปฏิบัติในทั่วประเทศ โดยหมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามกำลังผลิตผลิตภัณฑ์หลักตามแนวทาง 1 หมู่บ้าน 1 ผลิตภัณฑ์
พัฒนาผลิตภัณฑ์หลักของหมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามตามแนวทางหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ - ảnh 1ผลิตภัณฑ์ของหมู้บ้านผ้าไหมหว่านฟุก 

ปัจจุบัน เวียดนามมีหมู่บ้านศิลปาชีพกว่า 5,400 แห่งโดยมีอาชีพเกือบ 50 อาชีพ ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามได้รับการส่งออกไปยัง 160 ประเทศและดินแดน รวมมูลค่าการส่งออกบรรลุ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

เนื้อหาหลักของโครงการ OCOP คือพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์การเกษตร การบริการที่มีจุดแข็งของแต่ละท้องถิ่นตามห่วงโซ่คุณค่า ถึงแม้โครงการ OCOP เพิ่งได้รับการปฏิบัติในทั่วประเทศ แต่ในทางเป็นจริง ท้องถิ่นหลายแห่งได้ปฏิบัติมาก่อนแล้วเป็นเวลาหลายปี นาย เหงียนมิงห์เตี๊ยน ปลัดสำนักงานประสานงานชนบทใหม่ส่วนกลางได้เผยว่า “พวกเราพยายามจนถึงสิ้นปี 2018 จังหวัดและนครทุกแห่งอนุมัติโครงการ OCOP ระดับจังหวัด ถึงแม้พวกเราได้ปฏิบัติในทั้ง 63 จังหวัดและนคร แต่คณะกรรมการชี้นำส่วนกลางได้เลือกจังหวัดและนครบางแห่งเพื่อปฏิบัติเป็นการนำร่อง ถอดประสบการณ์เพื่อขยายผล นี่ก็คือประสบการณ์จากความสำเร็จในโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ อำนวยความสะดวกเพื่อให้สถานประกอบการและครอบครัวสามารถเข้าร่วมการลงทะเบียนผลิตภัณฑ์เพื่อขยายผลโครงการ OCOP ปัจจุบัน พวกเรามีผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านศิลปาชีพเกือบ 4 พัน 9 ร้อยรายการที่สามารถพัฒนาได้”

การสร้างสรรค์และปฏิบัติโครงการโอซีโอพีคือสิ่งที่จำเป็นเพื่อผลักดันการพัฒนาในหมู่บ้านศิลปาชีพในเวียดนามในปัจจุบันตามแนวทางเน้นถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงที่สุดในตลาดและแนะนำเป็นที่รู้จักในตลาดโลก สิ่งที่สำคัญที่สุดของโครงการนี้คือไม่ใช่สร้างผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นของที่ระลึกเพื่อขายให้แก่นักท่องเที่ยวเท่านั้น หากต้องสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อจำหน่ายภายในประเทศและมุ่งสู่ตลาดโลกและสร้างเครื่องหมายการค้าให้แก่ผลิตภัณฑ์ นาย ลิว ยวี เหยิ่น ประธานสมาพันธ์หมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า “ควรมีตลาดสำหรับหมู่บ้านศิลปาชีพ โดยเน้นเครื่องเซรามิก เช่นเครื่องเซรามิก บ๊าตจ่าง มิงห์ลองและเบ่าจุ๊ก แต่ต้องสอดแทรกแนะนำอาหารของท้องถิ่นด้วย  การสร้างสรรค์หมู่บ้านวัฒนธรรมศิลปาชีพและยกระดับคุณภาพวัฒนธรรมหมู่บ้านศิลปาชีพ หมู่บ้านศิลปาชีพต้องเป็นหมู่บ้านศิลปาชีพวัฒนธรรมในระดับสูง เป็นแหล่งกำเนิดมรดกวัฒนธรรม ฝึกอบรมช่างศิลป์ที่สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของหมู่บ้านฯที่ทัดเทียมกับผลิตภัณฑ์ของประเทศต่างๆ”

พัฒนาผลิตภัณฑ์หลักของหมู่บ้านศิลปาชีพเวียดนามตามแนวทางหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ - ảnh 2ตลาดขายงอบของหมู่บ้านชวง 

เพื่อปฏิบัติโครงการ “1 หมู่บ้าน 1 ผลิตภัณฑ์” กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้เสนอมาตรการให้การช่วยเหลือ เช่นก่อตั้งศูนย์พัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพในท้องถิ่น พัฒนากิจกรรมให้คำปรึกษาด้านทักษะวิชาชีพและบริหารจัดการผลิตในหมู่บ้านศิลปาชีพ เปิดการฝึกสอนอาชีพ สืบทอดอาชีพในหมู่บ้านฯ  ให้การช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อพัฒนาการผลิต โดยเน้นถึงการฝึกอบรมและยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากร จนถึงปัจจุบัน มีกว่า 30 จังหวัดและนครในทั่วประเทศที่ศึกษาและปฏิบัติโครงการ OCOP ในขอบเขตที่แตกต่างกัน ซึ่งภายในเวลาอันสั้น สามารถสร้างผลิตภัณฑ์นับพันรายการที่หลากหลายและมีคุณภาพ ท้องถิ่นหลายแห่งมีข้อคิดริเริ่ม รูปแบบและวิธีการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ  หมู่บ้านศิลปาชีพที่มีผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงในตลาด เช่น หมู่บ้านผ้าไหม หว่านฟุก หมู่บ้านจักสาน ฟู้วิงห์ หมู่บ้านพัดกระดาษ จ่างเซินในกรุงฮานอย หมู่บ้านตอกลายเครื่องเงิน ด่งเซิมในจังหวัดท้ายบิ่งห์ หมู่บ้านภาพพื้นเมืองดงโห่ในจังหวัดบั๊กนิงห์ นาย เหงียนหุยหยึก หัวหน้าหน่วย OCOP ในจังหวัดห่าติ่งห์ เผยว่า “จากการปฏิบัติโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ พวกเราจัดคณะฯไปศึกษาดูงานที่จังหวัดกว๋างนิงห์และ ในต่างประเทศ พวกเราสร้างเอกลักษณ์ให้แก่ตราสินค้าและจัดทำกลไกการบริหารผลิตภัณฑ์ OCOP ผลิตภัณฑ์ที่นำไปขายในตลาดต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย สร้างความไว้วางใจกับผู้บริโภคถึงจะสร้างเครื่องหมายการค้า OCOP ของแต่ละท้องถิ่น ตลอดจน OCOP ของเวียดนามได้”

โครงการ “1หมู่บ้าน 1 ผลิตภัณฑ์” ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างงานทำให้แก่แรงงานในเขตชนบท มีส่วนร่วมสำคัญต่อการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมรักษาคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมืองและวัฒนธรรมนามธรรมในหมู่บ้านชนบทอีกด้วย ทั่วประเทศกำลังผลักดันขบวนการพัฒนาเศรษฐกิจในเขตชนบทอย่างเข้มแข็งตามรูปแบบ 1 หมู่บ้าน 1 ผลิตภัณฑ์.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด