เกษตรกรมีรายได้สูงเนื่องจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

(VOVWORLD) - อำเภอเขตเขา ดึ๊กลิง จังหวัดบิ่งถ่วนกำลังส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนารูปแบบการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยใช้เทคนิคและพันธุ์ใหม่ ซึ่งประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจที่ได้รับการประเมินว่าสูงกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับการปลูกพืชแบบดั้งเดิมกำลังช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น
เกษตรกรมีรายได้สูงเนื่องจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม - ảnh 1นาย โห่ หยวาน หุ่ง เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุ์พืชอย่างเข้มแข็งตามแนวทางที่มีประสิทธิภาพ 

นาย โห่ หยวาน หุ่ง เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุ์พืชอย่างเข้มแข็งตามแนวทางที่มีประสิทธิภาพในตำบล สุ่งเญิน อำเภอ ดึ๊กลิง จังหวัดบิ่งถ่วน เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว หลังจากเดินทางไปเยือนเขตปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในเมืองบ๋าวโหลก จังหวัดเลิมด่ง นาย หุ่ง ได้ตัดสินใจเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบันมาเป็นการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพันธุ์ F7 ซึ่งหลังจากปลูกหม่อนเป็นเวลา 4 เดือน ใบหม่อนสีเขียวก็ครอบคลุมไปทั่วพื้นที่ ครอบครัวนาย หุ่ง เห็นถึงประสิทธิภาพอย่างชัดเจน ซึ่งในพื้นที่เดียวกัน การปลูกหม่อนสร้างรายได้สูงกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับการปลูกพืชแบบดั้งเดิม นาย หยุ่ง เผยว่า “พื้นที่ปลูกหม่อน 1 เฮกตาร์สามารถเลี้ยงไหมได้ 5 รุ่น และได้ 4 กล่องไหม รังไหมดิบขายได้ 200 ล้านด่ง หลังจากหักลบค่าใช้จ่ายจ้างคนงานและเมล็ดพันธุ์เกือบ 80 ล้านด่ง จะมีรายได้เหลือ 120 ล้านด่งต่อเฮกตาร์”

จากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่มีรายได้สูงกว่า  3 เท่าเมื่อเทียบกับการปลูกพืช เกษตรกรในตำบล สุ่งเซิน ได้มุ่งมั่นประกอบอาชีพใหม่ บนพื้นที่ผลิตพืชแบบดั้งเดิมในอดีต นาย ฝ่ายหงอกอุ๊ต ได้ปรับที่ดินสำหรับปลูกหม่อน 4 พันตารางเมตร เมื่อเร็วๆนี้ นาย อุ๊ต ได้เลี้ยงไหมพันธุ์ใหม่ 1 กล่องแรก โดยภายในเวลา 13 วัน ไหมให้รังไหมที่มีคุณภาพดีเกือบ 45 กิโลกรัม โดยขายได้เกือบ 2 แสนด่งต่อกิโลกรัม  ครอบครัวนาย อุ๊ตมีรายได้กว่า 8 ล้านด่ง ถึงแม้ต้องทำงานหนัก แต่ก็มีรายได้สูงเมื่อเทียบกับการปลูกข้าวโพดและถั่ว นาย อุ๊ต จึงมีแผนการขยายพื้นที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอีกนับพันตารางเมตร

เกษตรกรมีรายได้สูงเนื่องจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม - ảnh 2นาย ฟานหงอกอุ๊ต ในสวนปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 

นาย เจืองกวางเด๊น หัวหน้าเกษตรอำเภอ ดึ๊กลิง ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อน อำเภอ ดึ๊กลิง เคยเป็นแหล่งปลูกหม่อนหลัก ซึ่งในช่วงนั้น ทางอำเภอมีสหกรณ์ปลูกหม่อน แต่หลังจากนั้น การปลูกหม่อนไม่เกิดประสิทธิภาพ สหกรณ์ฯจึงได้ปิดตัวลงเมื่อช่วงปี 1990 แต่ในหลายปีมานี้ จากการมีหม่อนและไหมพันธุ์ใหม่พร้อมกับเทคนิคการปลูกเลี้ยงที่ทันสมัย อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมกำลังมีโอกาสพัฒนา หม่อนพันธุ์ใหม่ให้ใบหม่อนเยอะ และไหมพันธุ์ใหม่ก็ไม่ค่อยติดโรค เลี้ยงง่ายจึงให้รังไหมที่มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์เก่า บวกกับวิธีการเลี้ยงใหม่คือ ไหมถูกเลี้ยงใต้พื้นปูนซีเมนต์หรือเลี้ยงบนตะแกรงที่เป็นตาข่าย โดยไม่ต้องใช้กระด้งสานด้วยไม้ไผ่ ดังนั้นการให้อาหารไหมหรือการทำความสะอาดมูลหม่อนไหมจึงสะดวกมากขึ้น ซึ่งประหยัดค่าจ้างแรงงานดูแลและเกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในระดับสูง

บนเจตนารมณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุ์พืชและแขนงอาชีพการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตและอำนวยความสะดวกในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เมื่อเร็วๆนี้ อำเภอ หมีดึ๊ก ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในตำบล สุ่งเญิน เดินหน้าพัฒนารูปแบบนี้ หลังจากนั้นจะขยายผลไปทั่วอำเภอ ซึ่งในนั้นการเชื่อมโยงกับสถานประกอบการและค้ำประกันการจำหน่ายอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรคือเรื่องสำคัญหลัก นาย เจือง กวาง เด๊น หัวหน้าเกษตรอำเภอ ดึ๊กลิง เผยว่า “พร้อมกับการพัฒนาพื้นที่ปลูกหม่อน พวกเราสร้างห่วงโซ่เชื่อมโยง แสวงหาสถานประกอบการเพื่อร่วมกันลงทุน จำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในปัจจุบัน บนเจตนารมณ์ดังกล่าว หน่วยงานการเกษตรให้ความสนใจ รณรงค์ให้สถานประกอบการและเกษตรกรสร้างความเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าที่นับวันพัฒนามากขึ้น”

จนถึงปัจจุบัน ตำบล สุ่งเญิน อำเภอ ดึ๊กลิง มี 16 ครอบครัวปลูกหม่อนเลี้ยงไหม รวมพื้นที่เกือบ 10 เฮกตาร์ ในเวลาที่ผ่านมา ราคาจัดซื้อรังไหมมีเสถียรภาพคือตั้งแต่ 1 แสน 5 หมื่นด่งถึง 1 แสน 8 หมื่นด่งต่อกิโลกรัม ภายในเวลา 1 ปี พื้นที่ปลูกหม่อน 1 เฮกตาร์ให้กล่องพันธุ์ไหมเกือบ 20 กล่อง และมีรังไหมเกือบ 1 ตัน สร้างรายได้กว่า 100 ล้านด่ง  รูปแบบที่มีประสิทธิภาพที่ได้สร้างรายได้สูงให้แก่เกษตรกรในอำเภอเขตเขา ดึ๊กลิง จังหวัดบิ่งถ่วน.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด