AYFN – เชื่อมโยงมิตรภาพอาเซียน

(VOVworld)ถ้าคุณเป็นพลเมืองรุ่นใหม่ของอาเซียนที่กำลังอยู่ในวัย 17-25 ปีและคุณสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วก็ถือว่าผ่าน 3 เงื่อนไขพื้นฐานเพื่อเข้าร่วมโครงการเครือข่ายมิตรภาพเยาวชนอาเซียนหรือ AYFN ซึ่งเป็นองค์กร NGO ที่ได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 10 มกราคมปี 2010 ณ เมืองย๊อคจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย หลังจากดำเนินงานมาเป็นเวลา 7 ปี จนถึงปัจจุบัน AYFN ได้จัดให้เยาวชนในสมาคมอาเซียนเดินทางไปเยือน พบปะสังสรรค์และศึกษาวัฒนธรรมของบรรดาประเทศอาเซียนรวม 45 ครั้งแล้ว

(
VOVworld)ถ้าคุณเป็นพลเมืองรุ่นใหม่ของอาเซียนที่กำลังอยู่ในวัย 17-25 ปีและคุณสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วก็ถือว่าผ่าน 3 เงื่อนไขพื้นฐานเพื่อเข้าร่วมโครงการเครือข่ายมิตรภาพเยาวชนอาเซียนหรือ AYFN ซึ่งเป็นองค์กร NGO ที่ได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 10 มกราคมปี 2010 ณ เมืองย๊อคจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย หลังจากดำเนินงานมาเป็นเวลา 7 ปี จนถึงปัจจุบัน AYFN ได้จัดให้เยาวชนในสมาคมอาเซียนเดินทางไปเยือน พบปะสังสรรค์และศึกษาวัฒนธรรมของบรรดาประเทศอาเซียนรวม 45 ครั้งแล้ว
 AYFN – เชื่อมโยงมิตรภาพอาเซียน - ảnh 1
โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเยาวชนเวียดนามกับอินโดนีเซีย

“งานด้านการแนะนำวัฒนธรรมในอาเซียนควรได้รับการผลักดันมากขึ้น เพราะปัจจุบัน ดูเหมือนว่า เยาวชนส่วนใหญ่ชอบฟังเพลง Kpop และรู้เรื่องของสหรัฐและญี่ปุ่นเป็นอย่างดี แต่กลับยังไม่เข้าใจดีเกี่ยวกับวัฒนธรรมของอินโดนีเซียหรือไทย ซึ่งถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมในภูมิภาค”
นี่คือความเห็นของคุณ Satiawan Minarjo เกิดเมื่อปี 1987 และเป็นประธาน AYFN คุณ Satiawan Minarjo เคยเป็นนักศึกษาสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัย Gadjah Mada หรือ UGM ในเมืองย๊อคจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย จึงมีโอกาสมากมายเพื่อพบปะสังสรรค์และรู้จักนักศึกษาต่างประเทศ ในตลอด 4 ปีที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย คุณ Satiawan Minarjo ต้องการผลักดันให้นักศึกษาอินโดนีเซียได้พบปะสังสรรค์และเชื่อมโยงกับเยาวชนต่างชาติ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน จนถึงปีสุดท้ายที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย  คุณ Satiawan Minarjo ได้ก่อตั้งองค์กร AYFN โดยมีสมาชิก 7 คน “ในตอนแรกที่เพิ่งก่อตั้ง AYFN พวกเราได้พยายามติดต่อกับคณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยบางแห่งในภูมิภาค พวกเราได้ส่งจดหมายแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมและองค์กรของ AYFN เพื่อให้พวกเขารับทราบ ถ้าพวกเขาตกลงก็จะส่งจดหมายตอบรับ หลังจากนั้น พวกเราจะวางแผนที่เป็นรูปธรรม และเมื่อมีความสัมพันธ์กับครูอาจารย์และเพื่อนร่วมงานในต่างประเทศ พวกเขาจะช่วยให้ผมติดต่อโดยตรงกับองค์กรต่างๆในประเทศเขา ซึ่งสะดวกกว่าเมื่อเทียบกับในตอนแรก”

 AYFN – เชื่อมโยงมิตรภาพอาเซียน - ảnh 2
สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ AYFN

กิจกรรมแรกที่ AYFN จัดขึ้นคือการเยือนเวียดนามเป็นเวลา 4 วัน โดยในกรอบการเยือน สมาชิกของ AYFN ได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กับนักศึกษาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นครโฮจิมินห์ เยือนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เจอก่าว ในจังหวัดเตี่ยนยางและสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งของเวียดนาม หลังจากการเยือนเวียดนามประสบความสำเร็จ  AYFN ได้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของตนผ่านเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ และมหาวิทยาลัยหลายแห่งในภูมิภาคก็ได้เข้าร่วมกับทาง AYFN เช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของประเทศไทย มหาวิยาลัยแห่งบรูไนดารุสซาลามและมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เป็นต้น
เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของ AYFN  นักศึกษาต้องสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วเพื่อติดต่อและประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของตน อีกทั้งต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน และค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรมก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องออกเงินเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม”
การเยือนจะใช้เวลาตั้งแต่ 4-7 วัน จำนวนสมาชิกเข้าร่วมการเยือนมี 15-20 คน นอกจากประเทศอาเซียน ตั้งแต่ปี 2012 AYFN ได้ขยายโครงการพบปะสังสรรค์กับมหาวิทยาลัยบางแห่งในสาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่นและจีน สำหรับเวียดนาม AYFN ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์โฮจิมินห์ มหาวิทยาลัยคุรุศาสตร์ฮานอยและมหาวิทยาลัยทังลอง โดยทุกปี  AYFN จะจัดการพบปะสังสรรค์กับมหาวิทยาลัยดังกล่าว 1-3 ครั้ง
นี่คือบรรยากาศการพูดคุยและแนะนำเกี่ยวกับชุดประชำชาติของสตรีชาวมุสลิมในโครงการพบปะสังสรรค์ระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยคุรุศาสตร์ฮานอยกับสมาชิกของ AYFN นี่คือครั้งแรกที่คุณ Sari Warningsih จากมหาวิทยาลัย UPI อินโดนีเซียเข้าร่วมโครงการและเผยว่า“ดิฉันรู้สึกดีใจมากเพราะได้มีโอกาสแสดงการฟ้อนรำพื้นเมืองของอินโดนีเซียในเวียดนาม ดิฉันอยากแนะนำให้ประเทศต่างๆรู้จักการฟ้อนรำของอินโดนีเซีย”
ครู เหงียนดึ๊กกวาง สอนสาขาวิชาการท่องเที่ยวจากมหาวิทยาลัยทังลองฮานอยได้ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมนี้และยืนยันว่า โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับ AYFN จะได้รับการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพราะได้ช่วยยกระดับทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศและเพิ่มความรู้เกี่ยวกับประเทศต่างๆโดยเฉพาะในประชาคมอาเซียน
เช่นเดียวกันความเห็นของครู เหงียนดึ๊กกวาง คุณ Setiawan ประธาน AYFN ได้เผยว่า“ผมอยากช่วยให้นักศึกษาของอินโดนีเซียและอาเซียนมีโอกาสพบปะสังสรรค์ เพราะประชาคมอาเซียนได้รับการจัดตั้งแล้วและการเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญของประชาคมอาเซียน พวกเราจะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อทำให้สำเร็จ”
ปัจจุบัน จำนวนสมาชิก AYFN อยู่ที่ 500 คนจากประเทศต่างๆในภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่คือนักศึกษาจากอินโดนีเซีย ในต้นปีใหม่ 2017 AYFN จะจัดการไปเยือนจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทยในระหว่างวันที่ 14-19 กุมภาพันธ์ และจะปฏิบัติหน้าที่ของตนคือสร้างสายสัมพันธ์มิตรภาพระหว่างเยาวชนในภูมิภาค.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด