คณะกรรมการแม่น้ำโขงและการบริหารทรัพยากรน้ำ

(VOVWORLD) - แม่น้ำโขงที่มีความยาว5,000กิโลเมตรมีต้นน้ำอยู่ในเขตที่ราบสูงทิเบตไหลผ่านจีน ลาว เมียนมาร์ ไทย กัมพูชาและเวียดนาม  เป็นหนึ่งในแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายทางชีวภาพที่สุดในโลก เป็นแหล่งน้ำและอาหารของคนหลายรุ่น แต่อย่างไรก็ดี ผลกระทบที่เกิดจากพฤษติกรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้สร้างความวิตกกังวลต่อความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำบนแม่น้ำโขง จากความท้าทายดังกล่าว บรรดาประเทศสมาชิกของคณะกรรมการแม่น้ำโขงได้มีมาตรการต่างๆในการบริหารและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ 

คณะกรรมการแม่น้ำโขงและการบริหารทรัพยากรน้ำ - ảnh 1โครงการ IWRM 

กระบวนการพัฒนาเป็นตัวเมือง การจับสัตว์น้ำที่ส่งผลทำลายแหล่งสัตว์น้ำ  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำและระบบชลประทานขนาดใหญ่ ปัญหาน้ำท่วมและปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นบนแม่น้ำโขงได้ส่งผลกระทบต่อประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่น กัมพูชา ลาว ไทยและเวียดนาม ซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า65ล้านคนที่มีวิถีชีวิตและเศรษฐกิจที่พึ่งพาแม่น้ำโขง สิ่งที่น่าเสียดายคือ ความพยายามในการแก้ไขปัญหานี้ในระดับท้องถิ่นยังมีไม่มากนัก  ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คณะกรรมการแม่น้ำโขงหรือMRCมีบทบาทที่สำคัญและเป็นฟอรั่มเกี่ยวกับความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเพื่อบริหารแหล่งทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ จากความช่วยเหลือด้านการเงินจากธนาคารโลกนับตั้งแต่ปี2009 MRCได้ช่วยเหลือ4ประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนามในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติผ่านโครงการบริหารทรัพยากรน้ำ นาย Greg Browder ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำของธนาคารโลกได้เผยว่า  “แหล่งทรัพยากรน้ำไหลผ่านประเทศต่างๆ  ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือต้องร่วมมือและประสานงานในการบริหารและใช้แหล่งทรัพยากรนี้ แม่โขงเป็นเขตใหญ่และมีปัญหาต่างๆที่ซับซ้อน  โครงการบริหารแหล่งทรัพยากรน้ำจะช่วยให้ประเทศต่างๆมีความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาข้ามชาติ โดยเฉพาะ ปัญหาระหว่างประเทศต่างๆ การจัดทำกลไกการประสานงานและการปฏิบัติแผนปฏิบัติงาน”

โครงการ IWRM ได้รับการปฏิบัติบนพื้นฐานของหลักการบริหารแหล่งทรัพยากรน้ำ ซึ่งเป็นมาตรการเข้าถึงและการบริหารเพื่อสร้างความสมดุลย์ระหว่างความต้องการด้านสังคมและเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศในเขตที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน จากความช่วยเหลือด้านเทคนิคของMRC นับตั้งแต่ปี2011 4ประเทศสมาชิกMRCได้กำหนดโครงการทวิภาคี5โครงการเพื่อผลักดันการสนทนาข้ามแดนในระดับท้องถิ่น เน้นถึงการบริหารเขตที่ราบลุ่ม สัตว์น้ำ แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ  สำหรับโครงการ IWRM  นาย ฝามต๊วนฟาน ผู้อำนวยการบริหารMRCได้เผยว่า “นี่เป็นสิ่งใหม่ในประวัติศาสตร์ความร่วมมือในระดับภูมิภาคของคณะกรรมการแม่น้ำโขง การสนทนาข้ามแดนจะช่วยลดความตึงเครียด ผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกและจิตใจแห่งความร่วมมือแม่โขงเพื่อบริหารแหล่งทรัพยากรและร่วมกันเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ผมคิดว่า ในเวลาที่จะถึง ความร่วมมือข้ามแดนจะพัฒนาอย่างรวดเร็วในภูมิภาค  คณะกรรมการแม่น้ำโขงจะให้การสนับสนุนความพยายามนี้”

คณะกรรมการแม่น้ำโขงและการบริหารทรัพยากรน้ำ - ảnh 2นาย ฝามต๊วนฟาน ผู้อำนวยการบริหารMRC 

จนถึงขณะนี้  โครงการที่โดดเด่น3โครงการในจำนวนทั้งหมด5โครงการได้แก่ โครงการบริหารอาชีพประมงบนแม่น้ำโขงและแม่น้ำเซกองระหว่างกัมพูชากับลาวที่ได้รับการปฏิบัตินับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี2014เพื่อแก้ไขปัญหาการลดจำนวนของปลาเนื่องจากผลกระทบต่างๆ   โครงการผลักดันความร่วมมือระหว่างเวียดนามกับกัมพูชาในการบริหารอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำเซซานและแม่น้ำSerpokที่ได้รับการปฏิบัตินับตั้งแต่เมื่อเดือนพฤษภาคมปี2014ที่เกี่ยวข้องถึงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โครงการบริหารทรัพยากรน้ำในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่ติดกับชายแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามเพื่อแก้ไขความท้าทายจากการพัฒนาเขตต้นน้ำและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่ง3โครงการดังกล่าวได้กำหนดปัญหาร่วมผ่านการประเมิน การพบปะและการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วม  ซึ่งช่วยให้สำนักงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนในท้องถิ่นยกระดับจิตสำนึกเกี่ยวกับความร่วมมือข้ามชายแดน นาย Nou Ketputhirath รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทาน การเกษตรและทรัพยากรน้ำจังหวัตาแกว ประเทศกัมพูชาได้เผยว่า “ผ่านโครงการร่วมมือระหว่างเวียดนามกับกัมพูชา ผมหวังว่า ทั้งสองประเทศจะร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อมีมาตรการใช้แหล่งน้ำอย่างยั่งยืน รวมทั้ง การฟื้นฟูเขตเชื่อมโยงเพื่อลดปริมาณน้ำให้แก่ทั้งสองประเทศ”

ส่วนสองโครงการที่เหลือเน้นถึงการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โครงการบริหารพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ระหว่างแม่น้ำเซบังโฟของลาวและแม่น้ำก่ำของไทยที่ได้รับการปฏิบัตินับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี2013เพื่อส่งเสริมการบริหารพื้นที่ชุ่มน้ำผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ โครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างทะเลโตนเลสาบของกัมพูชากับทะเลสาบสงขลาของไทยเพื่อส่งเสริมกลไกการบริหารทะเลสาบอย่างมีประสิทธิภาพผ่านกิจกรรมการสื่อสาร ซึ่งโครงการดังกล่าวได้จัดการเยือนและเรียนรู้วิธีการอนุรักษ์ระบบนิเวศผ่านการบริหารแหล่งทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ถ่ายทำคลิปวีดีโอเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรน้ำในเขตของตน มีข้อคิดริเริ่มและมาตรการต่างๆ  นาย ชินบัวบาน สมาชิกของกลุ่มปฏิบัติงานของโครงการทะเลสาบสงขลาในหมู่บ้านทะเลหลวง ได้เผยว่า “การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของพี่น้องชาวเขมรในหมู่บ้านนี้นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีกับพี่น้องที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำทะเลสาบสงขลา เราจะเอาความรู้และประสบการณ์จากที่นี่ไปใช้เพื่อให้เราสามารถปรับตัวรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

จนถึงขณะนี้ การสนทนาข้ามแดนระดับชาติได้รับการปฏิบัติในระดับจังหวัดและ4ประเทศสมาชิกMRCกำลังมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันเพื่อเพิ่มความเข้าใจร่วมเกี่ยวกับปัญหาข้ามชาติเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีของประเทศหุ้นส่วนในการหามาตรการที่ยั่งยืนให้แก่ปัญหาดังกล่าว.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด