ประเทศไทยกับปัญหาการบริหารจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์

(VOVWORLD) - ตามรายงานล่าสุด เมื่อปี 2016 ในจำนวนประชากรของประเทศไทยเกือบ 70 ล้านคน มีร้อยละ 56 ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ดังนั้น จึงไม่สามารถปฏิเสธบทบาทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อประชาชนชาวไทยได้ รัฐบาลไทยกำลังบริหารเครือข่ายสังคมออนไลน์ยังไงเพื่อประโยชน์ของประชาชนและรัฐบาลอย่างเต็มที่ในขณะที่เครือข่ายสังคมออนไลน์กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว นี่คือเนื้อหาของการเสวนาเชิงวิชาการ “สถานการณ์ ปัญหาที่วางไว้และมาตรการบริหารการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ในประเทศไทยในปัจจุบัน” ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทยโดยสถาบันการสื่อสารและประชาสัมพันธ์และสถานทูตเวียดนามประจำประเทศไทยจัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้
ประเทศไทยกับปัญหาการบริหารจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ - ảnh 1 บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการเสวนา

ในการเสวนา ผู้แทนเกือบ 20 คนซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารเครือข่ายสังคมออนไลน์ นักข่าวและนักวิชาการไทยได้พูดคุยอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับบทบาทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ในประเทศไทย ถึงแม้ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แต่ผู้แทนหลายคนได้ยืนยันถึงอิทธิพลของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อทุกด้านของชีวิต รวมทั้งสื่อสารมวลชน นาย กิตติศักดิ์ หาญกล้า ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยได้เผยว่า “ปัจจุบัน ผลกระทบจากสื่อสังคมออนไลน์มีผลกระทบต่อสื่อหลักในประเทศไทย อย่างสูง และปัจจุบันนี้เอง สื่อที่เป็นสื่อหลัก ไม่ว่าจะเป็นสื่อของสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ เราก็พยายามปรับตัวเพื่อที่จะเอาให้การสื่อสารเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด ถ้าทัดเทียบกับสมัยก่อนที่สื่อสังคมออนไลน์ยังไม่เข้ามามีบทบาท สื่อโทรทัศน์ในประเทศไทยมีอิทธิพลสูงยิ่งในสังคม แต่ปัจจุบันนี้ได้เป็นคู่แข่งสำคัญยิ่งกับสื่อหลัก เฉพาะสื่อโทรทัศน์ในประเทศไทยกลับกลายเป็นสื่อสังคมออนไลน์ ตอนนี้สื่อหลักพยายามปรับตัวเพื่อที่จะทำงานควบคู่กันไประหว่างสื่อหลักของประเทศกับสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเราถือว่า สื่อNews Media เป็นสื่อสมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาท ดังนั้นวิธีการดำเนิน เราจะทำควบคุมกันไป เราผลิดออกสื่อในสื่อหลักเสร็จแล้ว แล้วพยายามที่จะเข้าสื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้ถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น.”

ขณะนี้ ในจำนวนผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 38 ล้านคน มีร้อยละ 32 ใช้ facebook รองลงมาคือ Line คิดเป็นร้อยละ 29 และ Instagram คิดเป็นร้อยละ 19  โดยเฉพาะเยาวชนเป็นกลุ่มคนที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด ดังนั้น จากการตระหนักได้ดีถึงบทบบาทการสื่อสารของเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อประชาชน พรรคการเมืองและสถานประกอบการได้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อเข้าถึงประชาชนและลูกค้า นาย อนุสรณ์ อัครนิติ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาเทคนิคและเชื่อมโยงเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ได้เผยว่า “ผมคิดว่า Social Media กำลังเป็นตัวหลักของการเมืองไทย เพราะตอนเลือกตั้งเมื่อปี 52 ครั้งล่าสุด พรรคที่ได้คะแนนนำก็ใช้ Social Media ในการประชาสัมพันธ์ ยิ่งในตอนนี้ก็มี Line Facebook live Youtube live มี Youtube เอาไว้ดูให้นโยบายหาเสียงได้ มันจะfrickเป็นหลัก แล้วมันไปไว ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องพึ่งสถานีสื่อหลักๆ ทีวี วิทยุ ตอนนี้ องค์กร สถานประกอบการนิยมเป็น facebook fanpage”

ประเทศไทยกับปัญหาการบริหารจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ - ảnh 2 บรรดาผู้แทนถ่ายรูปด้านหน้าสถานทูตเวียดนามประจำประเทศไทย

จากการตระหนักถึงอิทธิพลของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ไม่เพียงแต่องค์การและสถานประกอบการเท่านั้น หากรัฐบาลไทยก็ได้ปฏิบัติโครงการต่างๆอย่างทั่วถึงเพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าใจและใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ นาย อนุสรณ์ อัครนิติ เผยต่อไปว่า“โดยเฉพาะตามโครงการอินเตอร์เน็ตประชารัฐ ทางรัฐบาลจะลงให้ความรู้ ความเข้าใจ เกษตรกร farmer รู้การทำ facebook fanpage ลงตามหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ผลิภัณฑ์ ให้คนในหมู่บ้านชุมชนนั้นคิดออกมาว่าผลิตผลิตภัณฑ์อะไร ทำ facebook fanpage และมีโครงการโรงเรียนประชารัฐ”

แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากได้รับประโยชน์แล้ว เครือข่ายสังคมออนไลน์ยังส่งผลกระทบในทางลบได้ถ้าหากบริหารไม่ดี โดยผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์สามารถใส่ร้ายป้ายสี จนส่งผลกระทบต่อผู้เคราะห์ร้าย หลอกลวงและขายสินค้าปลอม เป็นต้น ซึ่งเพื่อแก้ไขปัญหานี้ รัฐบาลไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการบริหารเครือข่ายสังคมออนไลน์ ขณะนี้พรบ.ฉบับนี้กำลังได้รับการแก้ไขฉบับที่ 2 ให้สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งในนั้นมีข้อใหม่หลายข้อ เช่นการขายสินค้าบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ไม่ติดประกาศราคาก็จะถูกจำคุกและการขายสินค้าออนไลน์ต้องเสียภาษี เป็นต้น ไทยก็มีตำรวจด้านคอมพิวเตอร์เพื่อรับข้อมูลและการแจ้งความผิดของประชาชนที่เกี่ยวข้องถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประชาชนสามารถแจ้งข้อมูลหลอกลวงถึงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นาย กิตติศักดิ์ หาญกล้า ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยได้เผยว่า“กฎหมายที่เข้ามากำกับดูแลจำเป็นเนื่องจากประเทศไทยเองพื้นฐานเราเป็นประเทศประชาธิปไตย มีความเป็นอิสระ ความเป็นส่วนตัวสูงมาก ถ้าไม่มีกฎเกณฑ์มากำกับดูแลและควบคุม ประเทศไทย เรื่องของสังคม เรื่องของสถาบันก็จะให้สื่อตรงนี้เป็นสื่อที่ให้ทุกคนเป็นเจ้าของสื่อได้จะสร้างความอันตรายต่อความมั่นคง”

ประเทศไทยกับปัญหาการบริหารจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ - ảnh 3องศาสตราจารย์ ดร. โด๋ ถิ ทู หั่ง และผู้สื่อข่าวของวีโอวี 

เช่นเดียวกันประเทศไทย ขณะนี้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ก็กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วในเวียดนาม โดยเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ส่งผลต่อทุกด้านของเศรษฐกิจสังคม รัฐบาลเวียดนามกำลังให้ความสนใจถึงการบริหารเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในฐานะผู้แทนของเวียดนามที่เข้าร่วมการสัมมนา รองศาสตราจารย์ ดร. โด๋ ถิ ทู หั่ง ได้ย้ำถึงบทบาทของเครือข่ายสังคมออนไลน์และความคล้ายคลึงกันในการบริหารเครือข่ายสังคมออนไลน์ในสองประเทศว่า “พวกเราเห็นว่า เวียดนามและไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกำลังมีก้าวเดินแรกเพื่อพยายามบริหารการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ในแนวโน้มการพัฒนาของสังคมแห่งการสื่อสาร ปัญหาที่วางไว้ในการบริหารการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของไทยและเวียดนามมีความคล้ายคลึงกันในหลายข้อ เช่นต้องเผชิญกับปัญหาที่เกี่ยวข้องถึงการทุจริตในเชิงพาณิชย์และการค้า ผลกระทบต่อศีลธรรมและสังคมในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ การบริหารเครือข่ายสังคมออนไลน์และการให้การศึกษาต่อเยาวชน ทุกปัญหานี้เมื่อพวกเราหารือก็ได้บรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับความคล้ายคลึงกันในหลายข้อและร่วมกันแสวงหามาตรการต่างๆเพื่อมีส่วนร่วมสร้างสรรค์รูปแบบการบริหารข้อมูลสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เหมาะสมกับแต่ละประเทศ”

การเสวนามีขึ้นเป็นเวลาเกือบ 2 ชั่วโมงนี้ได้ช่วยให้บรรดาผู้แทนสามารถมองเห็นภาพรวมเกี่ยวกับสถานการณ์การพัฒนาเครือข่ายสังคมออนไลน์ในประเทศไทย สำหรับผู้แทนเวียดนาม การเสวนาได้เสนอมาตรการที่ดีในสภาวการณ์ที่เวียดนามกำลังแสวงหาวิธีการบริหารเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วในประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด