ส่งเสริมจิตใจประชาคมอาเซียน

(VOVWORLD) - ในวิสัยทัศน์อาเซียน 2025 บรรดาประเทศอาเซียนได้ตั้งเป้าหมายสร้างสรรค์ประชาคมที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมความสามัคคี ความเป็นเอกฉันท์ภายในกลุ่ม กำหนดคุณค่าและมาตรฐานเพื่อสร้างเอกลักษณ์ร่วมกันของประชาคมและเพื่อสร้างความผูกพันอย่างยั่งยืนระหว่างประชาชนภายในกลุ่ม
ส่งเสริมจิตใจประชาคมอาเซียน - ảnh 1

พิธีเชิญธงอาเซียน ณ กระทรวงการต่างประเทศเวียดนามเนื่องในโอกาสรำลึกครบรอบ 51 ปีวันก่อตั้งอาเซียน

ในหลายปีมานี้ ภาพการเชิญธงชาติอาเซียนขึ้นสู่ยอดเสาพร้อมกับธงชาติของประเทศตนเป็นภาพที่คุ้นตากับประชาชนประเทศสมาชิกอาเซียน

นับตั้งแต่ปี 2011 กิจกรรมเชิญธงชาติอาเซียนคือกิจกรรมประจำปีที่จัดขึ้นในวันก่อตั้งอาเซียน 8 สิงหาคมในทุกประเทศสมาชิกอาเซียน ธงชาติอาเซียนมีสัญลักษณ์ คือ รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้นที่ถูกมัดรวมกัน ซึ่งหมายถึงสันติภาพ ความสามัคคีและความคล่องตัวของอาเซียน โดยธงอาเซียนถูกเชิญขึ้นยอดเสาท่ามกลางเพลงอาเซียน นอกจากเพื่อส่งเสริมความสามัคคีภายในกลุ่ม การเชิญธงชาติอาเซียนยังสะท้อนให้เห็นถึงคำมั่นของทุกประเทศอาเซียนในการปฏิบัติวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนปี 2025 แห่งการผสมผสาน สันติภาพและเสถียรภาพ ควบคู่กับการจัดกิจกรรมรำลึกในวันก่อตั้งประชาคมอาเซียน 8 สิงหาคม ในหลายปีมานี้ รัฐบาลและสำนักงานการทูตของบรรดาประเทศอาเซียนยังจัดกิจกรรมการพบปะแลกเปลี่ยนและประชาสัมพันธ์เพื่อช่วยให้ประชาชนมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

ในระดับประชาคม บรรดาประเทศอาเซียนได้เห็นพ้องกันในการจัดกิจกรรมเพื่อเชิดชูผู้ที่ก่อตั้งอาเซียน เชิดชูสถานประกอบการรุ่นใหม่ที่มีส่วนร่วมต่อสังคมและบุคคลที่มีผลงานในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ส่วนในระดับประเทศ แต่ละประเทศได้วางแผนจัดกิจกรรมรำลึกเพื่อให้ประชาชนสามารถศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาเซียนได้อย่างสะดวกมากขึ้น

ในการสัมมนา ณ กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้ อดีตเลขาธิการอาเซียน เลเลืองมิงห์ ได้ย้ำถึงหน้าที่ที่สำคัญในปัจจุบันคือ การเพิ่มความรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนมากขึ้น โดยเผยว่า ประชาคมอาเซียนที่ประสบความสำเร็จคือประชาคมที่เอื้อประโยชน์อย่างแท้จริงให้แก่ประชาชน แต่เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประชาชนอาเซียนต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนก่อน            “ ถ้าอยากเป็นพลเมืองของอาเซียน ก่อนอื่นต้องตอบคำถามว่า ในฐานะพลเมืองอาเซียน เราภูมิใจเรื่องอะไร ยกตัวอย่างเช่นชาวภูฏานต้องตอบคำถามว่า มีความสุขจากอะไร แต่ละประเทศอาเซียนมีระบอบการเมืองที่แตกต่าง มีอัตราการพัฒนาเศรษฐกิจแตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว เราเป็นหนึ่งเดียว ดังนั้น เราต้องสร้างเอกลักษณ์เฉพาะของอาเซียนโดยทุกประเทศต้องมีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วม”

อย่าคิดตนเองเป็นพลเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่งหรือจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งเหมือนความคิดในอดีต แต่ต้องคิดว่าเราเป็นพลเมืองของอาเซียน ยกตัวอย่างเช่น พลเมืองเวียดนามจงคิดเกี่ยวกับเพื่อนๆอาเซียนในประเทศอื่นๆ พยายามเข้าใจเกี่ยวกับพวกเขาผ่านการอ่านหนังสือและคิดให้มากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสการเปิดกว้างสู่โลกภายนอก จากมุมมองดังกล่าว ปัจจุบันนี้ มีหลายประเทศอาเซียนได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เช่น การพบปะสังสรรค์ระหว่างเยาวชนและนักศึกษาอาเซียน การแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน การประกวดร้องเพลงอาเซียน การจัดนิทรรศการภาพถ่ายอาเซียนและการประกวดความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอาเซียนได้ช่วยให้ประชาชนตระหนักได้ดีว่า ประชาคมอาเซียนคือประชาคมของตนเอง

อาเซียนเป็นตลาดใหญ่ด้วยประชากรกว่า 630 ล้านคน มีศักยภาพด้านทรัพยากรธรรมชาติและเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาเป็นกลุ่มที่เข้มแข็งและเป็นหนึ่งเดียว ส่วนคนรุ่นใหม่คืออนาคตของอาเซียนและเป็นผู้กำหนดทิศทางของประชาคมฯ ดังนั้น เพื่อใช้โอกาสนี้ คนรุ่นใหม่ของอาเซียนได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านความคิด พยายามเพิ่มความรู้ เพิ่มผลผลิตและทักษะความสามารถของตนในการผสมผสานมากขึ้น นางเหงียนถิมิงห์เหวะ คนรุ่นใหม่เวียดนามแสดงความคิดเห็นว่า            “อาเซียนในขณะนี้มีจุดแข็งคือมีประชากรที่อยู่ในวัยเยาว์จำนวนมาก และได้สัมผัสกับเทคโนโลยีขั้นสูง มีความรู้สมัยใหม่ มีความคล่องตัวและให้ความสนใจมากขึ้นถึงนโยบาย นโยบายมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากต่ออาเซียนและต่อแต่ละประเทศสมาชิก”

การผลักดันการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลกอย่ากว้างลึกจะเป็นเป้าหมายสำคัญในยุทธศาสตร์ของอาเซียนเพื่อมุ่งสู่การมีบทบาทมากขึ้นบนเวทีโลก แต่อย่างไรก็ตาม ทุกเป้าหมายของอาเซียนจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อทำเพื่อประชาชนและเมื่อประชาชนตระหนักได้ดีเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน พวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการออกนโยบายและการตัดสินใจต่างๆเพื่อสามารถเข้าถึงผลประโยชน์ของประชาคมแล้วเป็นแกนหลักในกระบวนการสร้างและพัฒนาอาเซียน นี่คือแนวทางที่อาเซียนกำลังพยายามปฏิบัติต่อไปในเวลาข้างหน้า.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด