ส่งเสริมบทบาทของส.ส.หญิงในการปฏิบัติความเสมอภาคทางเพศ

(VOVworld) –   การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทของสตรี โดยเฉพาะ ส.ส.หญิงในการปฏิบัติยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศเพื่อขยายความเข้าใจและยกระดับบทบาทของส.ส. หญิงคือวัตถุประสงค์ของการสัมมนานานาชาติในหัวข้อ“กลุ่มส.ส.หญิงกับยุทธศาสตร์ความเสมอภาคทางเพศ” ที่ได้จัดขึ้น ณ นครNha Trangจังหวัด Khánh Hòa เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา


(VOVworld)–การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทของสตรี โดยเฉพาะ ส.ส.หญิงในการปฏิบัติยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศเพื่อขยายความเข้าใจและยกระดับบทบาทของส.ส. หญิงคือวัตถุประสงค์ของการสัมมนานานาชาติในหัวข้อ“กลุ่มส.ส.หญิงกับยุทธศาสตร์ความเสมอภาคทางเพศ” ที่ได้จัดขึ้น ณ นครNha Trangจังหวัด Khánh Hòa เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ส่งเสริมบทบาทของส.ส.หญิงในการปฏิบัติความเสมอภาคทางเพศ - ảnh 1
การสัมมนานานาชาติในหัวข้อ“กลุ่มส.ส.หญิงกับยุทธศาสตร์ความเสมอภาคทางเพศ” ( Photo: VOV)

 การสัมมนานานาชาติในหัวข้อ“กลุ่มส.ส.หญิงกับยุทธศาสตร์ความเสมอภาคทางเพศ”ที่คณะกรรมาธิการดูแลปัญหาสังคมของรัฐสภาเวียดนาม กลุ่มส.ส.หญิงเวียดนามและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำเวียดนามจัดขึ้นโดยมีตัวแทนกว่า๘๐คนจาก๑๐ประเทศ เช่น มาเลเซีย แคนาดา สาธารณรัฐเกาหลี(เกาหลีใต้) กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว จีน สวีเดน ไทย เวียดนาม และตัวแทนจากองค์การระหว่างประเทศต่างๆเข้าร่วม   ที่สัมมนาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติยุทธศาสตร์เกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศระหว่างประเทศต่างๆที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับคุณค่าวัฒนธรรม การเมือง กฏหมายหรือมีผลงานมากมายในด้านความเสมอภาคทางเพศ คุณบุนยัง บุบผารองประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศสภาแห่งชาติและประธานกลุ่มส.ส.หญิงลาว กล่าวว่า 


เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีส.ส.หญิงมากเป็นอันดับต้นในภูมิภาคและโลก คิดเฉลี่ยร้อยละ๒๔ เฉพาะวาระที่๕ ปี๒๐๐๖ บรรลุกว่าร้อยละ๓๒ในขณะที่ปัจจุบันในโลกมีส.ส.หญิงเฉลี่ยร้อยละ๑๙.๓และในเอเชียประมาณร้อยละ๑๘   คุณภาพของส.ส.หญิงเวียดนามนับวันยิ่งได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นและมีบทบาทที่สำคัญในคณะกรรมาธิการต่างๆของรัฐสภา ท่านTrương Thị Mai ประธานคณะกรรมาธิการดูแลปัญหาสังคมของรัฐสภาเวียดนามและประธานกลุ่มส.ส.หญิงเวียดนามได้กล่าวถึงสถานการณ์การปฏิบัติความเสมอภาคทางเพศและการท้าทายต่องานด้านความเสมอภาคทางเพศกล่าวว่า “ปัจจุบันยังมีอุปสรรคหลายอย่างสำหรับสตรีที่เข้าร่วมการเมือง โดยเฉพาะ ในประเทศเอเชียบางประเทศยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจิตสำนึกเนื่องจากเอกลักษณ์วัฒนธรรมดังนั้น การวางระเบียบการเพื่อให้สตรีเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองมากขึ้นถือเป็นสิ่งจำเป็น ปัจจุบัน สตรีคิดเป็นกว่าร้อยละ๕๐ของจำนวนแรงงานทั้งหมด ดังนั้นต้องทำอย่างไรเพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองให้มีความเท่าเทียมกับบุรุษและ พวกเรากำลังพยายามเพิ่มจำนวนส.ส.หญิงขึ้นเป็นร้อยละ๓๐”     คุญGusti Kanjeng Ratu Hemas ตัวแทนกลุ่มส.ส.อินโดนีเซีย รองหัวหน้าสถาบันตัวแทนเขตสังกัดวุฒิสภาอินโดนีเซียได้กล่าวถึงประสบการณ์ของอินโดนีเซียเพื่อยกระดับความรู้และทักษะความสามารถด้านนิติบัญญัติ การจัดทำงบประมาณเพื่อสนับสนุนความเสมอภาคและการตรวจสอบกิจกรรมต่างๆที่ส่งเสริมความเท่าเทียมว่า “พวกเราหวังว่า การสัมมนาเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศจะได้รับการจัดมากขึ้นในแต่ละประเทศและจากการสนับสนุนและความช่วยเหลือของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติหรือยูเอนดีพี ความเสมอภาคทางเพศไม่เพียงแต่ได้รับการปฏิบัติในแต่ละประเทศเท่านั้นหากยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความร่วมมือกันระหว่างประเทศต่างๆตามความคิดสร้างสรรค์และแผนปฏิบัติการที่กำลังปฏิบัติ โดยเฉพาะ การสัมมนาครั้งนี้เป็นโอกาสเพื่อขยายการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศต่างๆและระหว่างกลุ่มส.ส.หญิง”

ส่งเสริมบทบาทของส.ส.หญิงในการปฏิบัติความเสมอภาคทางเพศ - ảnh 2
นางTongThiPhongรองประธานรัฐสภาถ่ายรูปกับบรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการสัมมนานานาชาติในหัวข้อ“กลุ่มส.ส.หญิงกับยุทธศาสตร์ความเสมอภาคทางเพศ” ( Photo: VOV)

ที่สัมมนา ตัวแทนขององค์กร Iknow Politics สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติหรือยูเอนดีพีเอเชีย แปซิฟิกได้เสนอรายงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบหรือCEDAWและเป้าหมายพัฒนาแห่งสหัสวรรษในกระบวนการร่างกฏหมาย รายงานการปฏิบัติและขยายเครือข่ายข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มส.ส.หญิง   ผ่านการอภิปราย๕ครั้ง การสัมมนาดังกล่าวได้มีส่วนร่วมยกระดับทักษะในการวิเคราะห์ ความรู้เกี่ยวกับเพศ ขั้นตอนและระเบียบการให้แก่บรรดาผู้แทนซึ่งเป็นเวทีที่รวบรวมเสียงพูดของส.ส.หญิงเพื่อช่วยให้พวกเขามีความสามารถเพียงพอ มีความมั่นใจในการเข้าร่วมการร่างกฏหมาย ยกระดับสถานะและบทบาทของส.ส.หญิงในกิจกรรมของรัฐสภาประเทศอาเซียนตามมติของสมัชชารัฐสภาอาเซียนหรือไอป้า./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด