เยาวชนไทยกับอาหารและภาษาเวียดนาม

(VOVWORLD) - แม้ไทยและเวียดนามจะไม่มีชายแดนติดกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมาช้านาน ปัจจุบัน ท่ามกลางการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจในภูมิภาค ความต้องการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเพื่อขยายความเข้าใจระหว่างประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนทั้ง 2 ประเทศนับวันเพิ่มมากขึ้น โดยเยาวชนไทยให้ความสนใจและชื่นชอบอาหารและภาษาเวียดนามเป็นอย่างมาก
เยาวชนไทยกับอาหารและภาษาเวียดนาม - ảnh 1นักศึกษาไทยในกรุงฮานอย 

“หนูชื่อกิติยา ลำดวนในเมือง ชื่อเวียดนามคือเงิน หนูคิดว่า ภาษาเวียดนาม มีคนเรียนไม่เยอะ แล้วหนูคิดว่า เปิดอาเซียนแล้ว ประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาเชิงก้าวกระโดด หนูก็เลยเลือกเรียนภาษานี้ มันจะง่ายจะการหางานหรือการใช้ชีวิตเพราะว่าเราไม่ต้องแข่งขันกับใคร อาจจะมีตัวเลือกในการทำงานมากขึ้น เราสามารถทำงานได้ในทั้ง 2 ประเทศ หรือ มีการติดต่อสื่อสารกัน”

“ผมอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ที่จังหวัดอุดรธานีจะมีชมรมชาวเวียดนาม รวมทั้งเศรษฐีคนเวียดนามเยอะมาก ผมก็เลยมองว่า การเรียนภาษาเวียดนามน่าจะเปิดโอกาสและทางเลือกในการทำงานมากขึ้น เป็นภาษาที่สละสลวยในระดับเดียวกันกับภาษาไทยเพราะว่า เขาจะมีคำที่ลงท้ายคำ อย่างเช่น คำว่า ạ ที่แปลว่า ครับ/ค่ะ มันมองดูว่า เป็นสุภาพในแบบภาษาเวียดนามและภาษาไทยที่คล้ายกัน”

เยาวชนไทยกับอาหารและภาษาเวียดนาม - ảnh 2นาย วีระวิทย์ โสนะโชติ เป็นครูสอนภาษาเวียดนามที่โรงเรียนสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร 

จากการเรียนภาษาเวียดนามเพื่อสนับสนุนการทำงาน นางสาวกิติยา ลำดวนในเมืองที่จบจากคณะภาษาเวียดนามและการสื่อสารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและนาย วีระวิทย์ โสนะโชติ ที่จบจากคณะภาษาเวียดนามธุรกิจการท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีสามารถเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมและคนเวียดนามมากขึ้น สำหรับนางสาวกิติยา ลำดวนในเมือง รูปแบบการเรียน 3+ 1 คือจะเรียนที่เมืองไทย 3 ปีแล้วไปเรียนที่เวียดนาม 1 ปี ซึ่งช่วยให้เธอได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของคนเวียดนามมากขึ้น นางสาวกิติยา ลำดวนในเมืองและนาย วีระวิทย์ โสนะโชติได้เผยว่า

“หนูชอบใช้ชีวิตแบบนี้ค่ะ แบบเรียบง่าย ก็คือสังเกตว่า แต่ละบ้าน เขาก็ปลูกฝังในการเรียนให้ลูก ชอบบรรยากาศ ชอบคนเวียดนามที่ช่วยเหลือดี ก็คือมีเพื่อนเวียดนาม ถ้าเกิดไม่เข้าใจอะไร รวมทั้งกิจกรรมวัฒนธรรม เขาก็จะอธิบายให้”

“ผมมีโอกาสได้มาที่ประเทศเวียดนามประมาณ 5-6ครั้ง สิ่งที่ผมชอบที่สุดคือphố cổ เขามีแบบอนุรักษ์บ้านของตัวเอง อย่างเช่นว่า เมืองเก่าของเขา เขาก็ทำให้เป็นดั้งเดิม ฮอยอันก็เหมือนกันที่ผมไปมาก็ เขาก็อนุรักษ์เช่นนั้นมาตลอด ผมชอบเรื่องการที่ไปลามาไหว้ คล้ายๆกับประเทศไทย เช่นว่า เวลาการพูดกับผู้ใหญ่ วัฒนธรรมด้านมารยาทของเขา สอดคล้องกับประเทศไทย ผมมองว่า ความงดงามของเขาคือ เขาไปก็แบบว่า สวัสดีค่ะ/สวัสดีครับ ประมาณนี้ ผมมองว่า ทำไมเขาน่ารักจัง”

เยาวชนไทยกับอาหารและภาษาเวียดนาม - ảnh 3นาย ยุทธนา ฤทธิ์ทวี (คนที่ 2 จากมือขวา) กับเพื่อนๆที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนเวียดนาม-ไทยครั้งที่ 8 ปี 2016 ณ ประเทศเวียดนาม

ถึงแม้ไม่ได้เรียนภาษาเวียดนามเหมือนนางสาว กิติยา ลำดวนในเมืองและนาย วีระวิทย์ โสนะโชติ แต่นาย ยุทธนา ฤทธิ์ทวี อายุ 24ปี ที่กำลังเรียนในระดับปฎิญาโทคณะวิทยาศาสตร์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสก็มีความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเวียดนามผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่าง 2 ประเทศเมื่อ 3 ปีก่อน โดยเยาวชนเวียดนามและไทยได้ไปเยือนเขตโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ต่างๆในกรุงฮานอย เช่น เขตวันเมี๊ยว-ก๊วกตื๋อย้ามและเขตอนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์เพื่อศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะกิจกรรมโฮมสเตย์ในเขตชานกรุงฮานอยทำให้นาย ยุทธนา ฤทธิ์ทวี มีความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับความคล้ายคลึงกันระหว่าง 2 ประเทศ

“ชาวบ้านไม่ได้อยู่ในตัวเมืองของเวียดนามก็มีธรรมเนียมปฏิบัติคล้ายๆกับคนไทย เช่น มีการปลูกข้าว มีการฟ้อนรำท้องถิ่น การรับประทานอาหารที่มีกับข้าวหลายๆอย่างบนโต๊ะและทุกคนทานด้วยกัน ผมเคยไปที่ยุโรปที่ฝรั่งเศส ทุกคนจะมีจานของตัวเอง นั่งทานด้วยกันเฉยๆแต่ตัวเองก็มีจานของตัวเอง พิซซ่าก็พิซซ่าคนละถาด”

เยาวชนไทยกับอาหารและภาษาเวียดนาม - ảnh 4เยาวชนไทยศึกษาวิถีชีวิตในเขตชนบทของเวียดนาม 
เยาวชนไทยกับอาหารและภาษาเวียดนาม - ảnh 5

นอกจากการเรียนภาษาเวียดนามและการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเยาวชนต่างๆ เยาวชนไทยหลายคนก็ชื่นชอบอาหารเวียดนามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นอีกสิ่งที่น่าสนใจสำหรับการค้นคว้าวัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย

“พื้นเพเป็นคนจังหวัดขอนแก่น ซึ่งแถวๆนั้นก็จะใกล้ๆกับฝั่งแม่น้ำโขงหน่อย ก็จะมีคนเวียดนามอาศัยอยู่บ้าง ก็จะคุ้นเคยกับอาหารเวียดนาม”

“บ้านเกิดผมอยู่ที่จังหวัดลพบุรี ภาคกลางของประเทศไทย ร้านอาหารที่ดังก็จะพบร้านเฝอ และอาหารต่างๆ เช่น กุ้งพันอ้อย แนม จะดังที่แถวบ้าน เคยไปกินกับครอบครัว อาหารเวียดนามก็ขึ้นชื่อเรื่องมีผักเยอะ ทานแล้วสุขภาพดี รสชาติไม่จัด ทานได้ทั้งครอบครัวเลย คนแก่ก็ทานได้ เด็กๆก็ทานได้ เป็นอาหารคล้ายๆอาหารไทยตรงที่ทานได้ทั้งครอบครัว อาหารไทยจะมีรสเผ็ด เปรี้ยวมากกว่า แต่ว่าเวียดนามจะมีผักเยอะ ทานแล้วสุขภาพดี”

“ร้านอาหารเวียดนามในจังหวัดอุบลราชธานีมีหลายร้าน โดย2 ร้านที่มีชื่อเสียงที่สุดคือร้าน Madam Hương ร้าน Madam Hương ก็จะมีอาหารพิเศษที่คนนิยมชอบรับประทานก็คือแหนมเนือง ปากหม้อและยำหัวปลี อีกร้านหนึ่งก็คือร้านครัวไซ่ง่อน แต่ร้านนี้จะเปิดเฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้น”

อาหารเวียดนามในประเทศไทยแม้จะมีสูตรการทำเหมือนที่ประเทศเวียดนาม แต่ก็ยังคงมีความแตกต่าง ซึ่งมีแต่คนที่เคยรับประทานอาหารในเวียดนามแล้วถึงจะทราบ ดั่งเช่น นางสาว ณัฐนิชา หลิมบุญงาม อายุ 24ปี ที่กำลังทำงานในกรุงเทพฯ

“ตอนแรก เรารู้แค่แบบคร่าวๆว่า เวียดนามมีแหนมเนือง มีเฝอ แต่พอได้มาสัมผัสจริงๆ ได้มาเรียนรู้ ได้ดูแบบส่วนผสมเฝอแบบคือมันแตกต่างกับประเทศไทย ทำให้เรามีความเข้าใจมากขึ้นว่า มันมีความแตกต่างอย่างนี้ อย่างนี้ มันทำให้เราเป็นเหมือนมีเรื่องไปพูดคุยกับเพื่อน เล่าให้เพื่อนฟังว่า เฝอที่ไทยไม่เห็นเหมือนที่นี่เลย เราจะแลกเปลี่ยนกัน เพื่อนที่เวียดนามก็จะบอกว่า ที่ไทยก็มีเฝอเหลอะ ไม่เหมือนกันเหลอะ จะแตกต่างกันยังไง ได้แลกเปลี่ยนความแตกต่างของอาหาร”

เยาวชนไทยกับอาหารและภาษาเวียดนาม - ảnh 6 นางสาว ณัฐนิชา หลิมบุญงาม ไปกิน บุ๊นจ๊า หรือ ขนมจีนหมูย่างที่นครโฮจิมินห์

นอกจากชื่นชอบอาหารเวียดนาม นางสาว ณัฐนิชา หลิมบุญงาม ยังชอบเรียนภาษาเวียดนาม โดยได้ลงทะเบียนเรียนภาษาเวียดนามเป็นภาษาโทที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นในช่วงที่ยังศึกษาอยู่ที่นี่

“ตอนไปเรียนก็ได้เรียนรู้หลายอย่าง เรียนรู้เทศกาลตรุษเต๊ต การกินที่ต้องใช้ตะเกียบ แล้วก็รู้ว่า ภาษาเวียดนาม มันแตกต่างกันที่ ตอนที่เรียน เรียนเป็นสำเนียงของฮานอย แต่ตอนที่ไปใช้ชีวิตอยู่จริงๆอยู่ที่โฮจิมินห์ก็เลยได้เห็นความแตกต่าง ซึ่งต้องปรับตัวใหม่ แล้วก็เรียนรู้ ทำให้เราได้เรียนรู้สองแบบเลย ทั้งสำเนียงฮานอยลำเนียงภาษาถิ่น”

นางสาว ณัฐนิชา หลิมบุญงามยังเผยว่า เวียดนามเหมือนบ้านหลังที่ 2 ของเธอ โดยเธอมีความประสงค์ว่า จะพยายามเรียนและฝึกพูดภาษาเวียดนามให้เก่งเพื่อที่จะได้มีโอกาสมาทำงานที่ประเทศเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด