จังหวัดหายเยือง ประตูทางทิศตะวันออกเข้าสู่กรุงทังลองในอดีต

(VOVworld)-จังหวัดหายเยืองตั้งอยู่ในศูนย์กลางของเขตลุ่มแม่น้ำแดงซึ่งเป็นหนึ่งในบ่อเกิดวัฒนธรรมเวียดนาม ในอดีตหายเยืองอยู่ในกลุ่มจังหวัดและนครภาคตะวันออกและถือเป็นหนึ่งในประตูสี่ทิศที่เข้าสู่กรุงทังลองซึ่งหรือกรุงฮานอยในปัจจุบัน จังหวัดหายเยืองขึ้นชื่อว่าเป็นท้องถิ่นที่มีเกียรติประวัติวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและปัจจุบันยังเป็นท้องถิ่นที่มีศักยภาพในหลายด้านเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ


(VOVworld)-
จังหวัดหายเยืองตั้งอยู่ในศูนย์กลางของเขตลุ่มแม่น้ำแดงซึ่งเป็นหนึ่งในบ่อเกิดวัฒนธรรมเวียดนาม ในอดีตหายเยืองอยู่ในกลุ่มจังหวัดและนครภาคตะวันออกและถือเป็นหนึ่งในประตูสี่ทิศที่เข้าสู่กรุงทังลองซึ่งหรือกรุงฮานอยในปัจจุบัน จังหวัดหายเยืองขึ้นชื่อว่าเป็นท้องถิ่นที่มีเกียรติประวัติวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและปัจจุบันยังเป็นท้องถิ่นที่มีศักยภาพในหลายด้านเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
จังหวัดหายเยือง ประตูทางทิศตะวันออกเข้าสู่กรุงทังลองในอดีต - ảnh 1
งานเทศกาลที่จังหวัดหายเยือง(Photo internet)

นครหายเยืองอยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางทิศตะวันออกประมาณ60กิโลเมตร เป็นที่รู้จักทั่วไปว่านี่คือท้องถิ่นแห่งวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะเกียรติประวัติใฝ่การศึกษา โดยข้อมูลประวัติการสอบในสมัยศักดินานั้น หายเยืองเป็นท้องถิ่นนำหน้าด้านจำนวนผู้สอบได้จอหงวนรวม472คน ยกตัวอย่างหมู่บ้าน โหมแจก อ.บิ่งยาง ได้รับการยกย่องเป็น “หมู่บ้านจอหงวน” เนื่องจากมีผู้สอบได้จอหงวนมากถึง39คน ซึ่งสัญลักษณ์แห่งเกียรติประวัติใฝ่การศึกษาของชาวบ้านในภาคตะวันออกของฮานอยนั้นได้สะท้อนให้เห็นจาก วันเมี้ยวมาวเดี่ยน ที่ตั้งในอ.เกิ๋มหย่าง ซึ่งปัญญาชนชาวหายเยืองหลายคนก็ได้กลายเป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงของเวียดนามด้วยผลงานการสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าทั้งทางการเมือง การทหาร วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมและการทูตเช่น เหงวียนจ๋าย หมากดิ๋งจี ฝามซือแหมง เป็นต้น

ด้วยเกียรติประวัติแห่งวัฒนธรรมที่ยาวนานจังหวัดหายเยืองจึงเป็นท้องถิ่นที่มีศักยภาพมากมายเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และเทศกาล ปัจจุบันในจังหวัดหายเยืองมีโบราณสถานประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเกือบ2000แห่ง ซึ่งในนั้นมีโบราณสถาน125แห่งเป็นโบราณสถานแห่งชาติ นอกจากนั้นยังมีแหล่งทัศนียภาพที่มีชื่อเสียงต่างๆเช่น วิหารเจ้าแม่เหลียวแหง อนุสาวรีย์กษัตริย์เจิ่นฮึงด๋าว วัดอานฝุ ถ้ำกิ๊งจู๋ เขตวันเมี้ยว โดยเฉพาะเขตกนเซินเกี๊ยบบาก ที่อ.เมืองชี้ลิง ซึ่งเป็นแหล่งประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ3บุคคลผู้มีชื่อเสียงของประชาชาติเวียดนามคือ นักการทหารเจิ่นฮึงด๋าว นักวัฒนธรรมเหงวียนจ๋ายและปรมาจารย์จูวันอาน นาย เลยวีแหมง รองหัวหน้าคณะบริหารเขตกนเซินเกี๊ยบบากเผยว่า“เขตกนเซินเกี๊ยบบากเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและความเลื่อมใสของจังหวัดหายเยืองและทั้งภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะนี่เป็นจุดสำคัญบนเส้นทางจากกรุงทังลองไปยังภูเอียนตื๋อ ถิ่นกำเนิดของศาสนาพุทธนิกายจุกเลิมเวียดนาม ปัจจุบันวัดกนเซินตั้งอยู่ในผืนแผ่นดินแห่งศาสนา3นิกายคือ วัดกนเซินที่ผูกพันธ์กับพุทธศาสนาจุกเลิม วิหารเกี๊ยบบากที่บูชากษัตริย์เจิ่นฮึงด๋าว ผู้นำแห่งศาสนาเวียดนาม และวิหารบูชาปรมาจารย์จูวันอาน สัญลักษณ์แห่งลัทธิขงจื๊อ”

จังหวัดหายเยือง ประตูทางทิศตะวันออกเข้าสู่กรุงทังลองในอดีต - ảnh 2
ขนมถั่วเขียว(photo internet)

หายเยืองไม่เพียงแต่ขึ้นชื่อด้วยแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญเท่านั้นหากยังมีเทศกาลพื้นเมืองที่น่าสนใจมากมาย โดยนับตั้งแต่ต้นปีใหม่ประเพณีก็มีเทศกาลระฆังวัดด่งเหงาะ อ.แทงห่า เทศกาลวิหารเกี๊ยบบากในฤดูไม้ผลัดใบ ซึ่งเป็นหนึ่งในเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ซึ่งถ้ามีโอกาสร่วมเทศกาลนี้ นักท่องเที่ยวจะได้ดื่มด่ำในบรรยากาศของการแห่วอ การละเล่นพื้นบ้าน การแข่งขันกีฬา เป็นต้น จนถึงปัจจุบันก็มีการฟื้นฟูงานเทศกาลกว่า560รายการซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมและความเลื่อมใสของชาวจังหวัดหายเยือง

นอกจากนี้ แผ่นดินภาคตะวันออกรวมทั้งหายเยืองยังมีชื่อเสียงแห่งบ่อเกิดของศิลปะการร้องเพลงพื้นเมืองแจ่วของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ตลอดจนยังมีคณะนาฏศิลป์ที่แสดงศิลปะพื้นเมืองประเภทต่างๆทั้งอุปรากร การร้องเพลงโต้ตอบ เพลงกาจู่ หรือการแสดงหุ้นกระบอกน้ำด้วย ปัจจุบันในจ.หายเยือง มีคณะหุ่นกระบอกน้ำ3คณะ ซึ่งนาย ฝามวันต่อง หัวหน้าคณะหุ่นต.ห่งฟอง เผยว่า ศิลปะการแสดงหุ่นน้ำมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่17และจุดเด่นของหุ่นกระบอกน้ำหายเยืองคือการชักหุ่นด้วยเชือก

สำหรับผลิตภัณฑ์ประจำถิ่นที่ชาวเวียดนามรู้จักกันดีเมื่อเอ่ยถึงหายเยืองก็มีข้าวสารเหนียวเกิ๋มหย่าง ลิ้นจี่แทงห่า ขนมถั่วเขียวอัด เต้าเจี้ยวหมู่บ้านเบิ่น นอกจากนี้หายเยืองยังเป็นหมู่บ้านแห่งอาชีพพื้นเมืองที่โด่งดังไปทั่วเช่นอาชีพการแกะสลักหินกิ๊งจู๋ แกะสลักไม้ดงยาว ทำเครื่องเงินเครื่องทองเจาเค ทำเซรามิกจูเด๋า เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ต่างๆของจังหวัดหายเยืองล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และฝีมือที่ยอดเยี่ยมของชาวท้องถิ่นที่ได้รับการสืบต่อและอนุรักษ์พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด