มหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยม-สถาปัตยกรรมสไตล์ตะวันออกและตะวันตก

( VOVworld )-มหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยม อำเภอกีมเซินตั้งอยู่บนพื้นที่ ๒๒ เฮกต้าร์  ที่นี่เป็นจุดนัดพบของนักท่องเที่ยวอีกหนึ่งแห่งในการไปค้นหาผืนดินนิงห์บิ่นห์หลังจากที่ได้สัมผัสกับความสวยงามทางธรรมชาติของตามก๊ก-บิ๊กด่งห์ เขตนิเวศจ่างอานและราชธานีฮวาลือ  มหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยมถูกก่อสร้างในศตวรรษที่ ๑๙ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตกอย่างกลมกลืน


( VOVworld )-มหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยม อำเภอกีมเซินตั้งอยู่บนพื้นที่ ๒๒ เฮกต้าร์  ที่นี่เป็นจุดนัดพบของนักท่องเที่ยวอีกหนึ่งแห่งในการไปค้นหาผืนดินนิงห์บิ่นห์หลังจากที่ได้สัมผัสกับความสวยงามทางธรรมชาติของตามก๊ก-บิ๊กด่งห์ เขตนิเวศจ่างอานและราชธานีฮวาลือ  มหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยมถูกก่อสร้างในศตวรรษที่ ๑๙ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตกอย่างกลมกลืน

มหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยม-สถาปัตยกรรมสไตล์ตะวันออกและตะวันตก - ảnh 1
มหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยมมองจากที่สูง

ระยะทางจากใจกลางเมืองนินห์บิ่นห์ไปยังมหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยมคือประมาณ ๔๐ กิโลเมตรมีโบส์ถน้อยใหญ่กว่า ๑๐ แห่งของคริสตจักรกีมเซิน แต่มีมหาวิหารหินแห่งเดียวเท่านั้นที่มีสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น  มหาวิหารหินฟ้านเหยี่ยมถูกก่อสร้างนานถึง ๓๔ ปีตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๘๖๕-๑๘๙๙ โดยบาทหลวงเปเตอร์เจิ่นหลุก ซึ่งคุ้นเคยในชื่อคุณลุงเซ้า มหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยมประกอบด้วยโบส์ถน้อยใหญ่ ๖ แห่งและสิ่งปลูกสร้างใช้สอยอื่นๆหลายแห่งได้แก่ โบส์ถใหญ่หนึ่งหลัง โบส์ถเล็กล้อมรอบ ๕ หลัง วิหารเฟืองดิ่นห์ สระเล็กและภูหินจากฝีมือของมนุษย์ได้แก่ ภูโหล่ดึ๊ก ภูซินห์เหญิตและภูเสาะ  ซึ่งถือเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบโกธิกของตะวันตกและสถาปัตยกรรมวัดวาอารามของเวียดนามแท้ๆ

เข้าไปในมหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยมจากทิศใต้ สิ่งที่พบเห็นเป็นอันดับแรกคือสระน้ำหรืออาวโห่ ที่มีเกาะตั้งอยู่กลางน้ำประดิษฐานรูปปั้นพระเยซูเจ้า ถัดจากสระอาวโห่คือวิหารหินเฟืองดิ่นห์ที่ตั้งตระหง่านอย่างสวยงาม วิหารเฟืองดิ่นห์มีหลังคาหน้าจั่วที่สามารถพบเห็นได้ตามศาลเจ้าและวัดของเวียดนาม ใต้ต้นไม้โบราณหลายคนโอบหลายต้นทำให้เรารู้สึกมีความใกล้ชิดเหมือนกำลังอยู่ในหมู่บ้านชนบทเวียดนามที่มีบ่อน้ำบาดาล ต้นโพธ์และศาลาประจำหมู่บ้าน  วิหารเฟืองดิ่นห์มีสามชั้นที่ก่อสร้างด้วยแผ่นหินขนาดใหญ่ มีสามประตูเหมือนสิ่งปลูกสร้างที่พบเห็นได้ทั่วไปในเวียดนาม โดยชั้นล่างที่ใหญ่สุดถูกก่อสร้างด้วยแผ่นหินสีเขียวสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบ่งเป็นซุ้มประตู ๓ แห่ง ภายในแต่ละแห่งมีเตียงหิน เพดานโค้งของแต่ละประตูเป็นสัญลักษณ์ของท้องฟ้าสร้างความสบายตาสบายใจ  คุณโด่หงอกแอ๊ง ไกด์นำเที่ยวกำลังบรรยายให้กับนักท่องเที่ยวว่า  “ เพดานเป็นสัญลักษณ์ของฟ้าส่วนเตียงหินเป็นสัญลักษณ์ของผืนดินรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามความเชื่อของชาวเอเชียตะวันออกเกี่ยวกับฟ้าและดิน หยินและหยาง   ชั้นสองเป็นที่แขวนกลองขนาดใหญ่และชั้นสามหรือชั้นบนสุดแขวนระฆังสูง ๑.๔เมตร มีน้ำหนักประมาณ ๒,๐๐๐ กิโลกรัม ระฆังใบนี้ถูกหล่อเมื่อปีค.ศ.๑๘๙๐ การตีกลองต้องใช้ท่อนไม้เพื่อให้เสียงกังวาลไกลถึง ๑๐
 กิโลเมตร   ”
มหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยม-สถาปัตยกรรมสไตล์ตะวันออกและตะวันตก - ảnh 2
โบส์ถหิน

ทะลุประตูวิหารเฟืองดิ่นห์ออกไปด้านหลังจะพบเห็นโบส์ถใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของมหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยม โบส์ถใหญ่ถูกก่อสร้างเมื่อปีค.ศ.๑๘๙๑และมีชื่อว่า พระแม่เมินโกยภายในเป็นโถงโล่งขนาดใหญ่ มีเสาหิน ๕๒ ต้นเรียงเป็นสองแถวแบ่งโถงโล่งเป็น ๙ ส่วน  สถาปัตยกรรมของโบส์ถใหญ่เป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกซึ่งที่เห็นชัดคือ ประตูโบส์ถและตัวอาคารโบส์ถสูงเป็นสไตล์โกธิกตะวันตก ส่วนการตั้งเสาและลวดลายแกะสลักมีความประณีตสวยงามตามสไตล์ของตะวันออก  นายโด่หงอกหุ่ง นักศึกษามหาวิทยลัยสถาปัตยกรรมแสดงความรู้สึกชื่นชอบขณะกำลังไหว้หน้าหิ้งบูชาเทพ  นายหุ่งกล่าวว่า  “ ผมประทับใจต่อหิ้งบูชาเทพเจ้า แผ่นไม้กั้นได้รับการแกะสลักอย่างประณีต มีการลงรักฉาดแดง  ส่วนหิ้งบูชาใหญ่ทำจากหินที่ได้รับการแกะสลักอย่างประณีตเช่นกัน  ด้านหน้าหิ้งบูชาใหญ่มีการปูแผ่นหิน ๖ แผ่น ซึ่งเป็นที่ฝังศพของบาทหลวง ๖ รูป

โบส์ถช้ายตีมดึ๊กแหม่หรือโบส์ถหินถือเป็นไข่มุขอันมีค่าหายากของมหาวิหารฟ้าตเหยี่ยม คุณโด่หงอกแอ๊งบรรยายต่อไปว่า  “ โบส์ถได้รับการก่อสร้างด้วยหินล้วนๆซึ่งเป็นหินสีเขียวของภูโหญ่ย จังหวัดแทงฮว้า  ด้านหน้าโบส์ถมีเจดีย์สองแห่งที่คล้ายเจดีย์ท้าปบุ๊ตหรือเจดีย์ภู่กันริมทะเลสาบหว่านเกี๊ยมหรือทะเลสาบคืนดาบแต่มีความแตกต่างกันอยู่ตรงที่เจดีย์สองแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของไม้กางเขน  เจดียย์องค์ที่อยู่ตรงกลางถูกสลักอย่างสวยงาม ประดับด้วยรูปหัวใจที่ถูกเสียบด้วยลูกศร

มหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยม-สถาปัตยกรรมสไตล์ตะวันออกและตะวันตก - ảnh 3
ห้องสวดมนต์

หิ้งบูชาพระแมมารีย์ที่ทำจากแผ่นหินขนาดใหญ่มีเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมของเวียดนามจากฝีมือของช่างศิลป์อาวุโส  บนแผ่นหินขนาดใหญ่มีรูปแกะสลักหงษ์ฟ้าและดอกบัวหลวงของเวียดนามโดยแท้ และยังมีป้าย ๔ แผ่นที่มีรูปต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของเวียดนามได้แก่ ต้นสนโบราณ เบญจมาศ ไม้ซางและต้นเหมย ซึ่งเห็นในภาพวาด ๔ ต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ของเวียดนาม  โบส์ถใหญ่เป็นสถานประกอบพิธีทางคริสตศาสนา ส่วนโบส์ถน้อยโดยรอบ ๔ แห่งถูกก่อสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเทพ ๔ องค์สอดรับกับโบส์ถใหญ่และบรรยากาศในบริเวณมหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยมยังมีสิ่งก่อสร้างแห่งหนึ่งคือโบส์ถถวายหัวใจพระเยซูเจ้าที่ก่อสร้างเมื่อปีค.ศ.๑๘๙๙ และมีเครื่องตกแต่งภายในทำจากไม้ซาดที่หายาก ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะสลักไม้เวียดนามมาหลายพันปี  ดอกไม้ ใบหญ้าและเมฆหมอกเลียนแบบสไตล์ในฮวงซุ้ยกษัตริย์ดินห์และเลหรือวัดโบราณของเวียดนาม คุณแอ๊งแนะนำต่อไปว่า  “ ทางทิศใต้ของมหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยมคือโบส์ถ์เทพโรโกที่ก่อสร้างเมื่อปีค.ศ.๑๘๙๕ หิ้งบูชาทำจากแผ่นศิลาขนาดใหญ่  ทางทิศตะวันตกคือโบส์ถเทพโจเซฟที่ก่อสร้างเมื่อปีค.ศ. ๑๘๙๖ด้วยไม้ซาดล้วนๆ โบส์ถ์เทพเปเตอร์อยู่ทางทิศเหนือของโบส์ถโจเซฟ ก่อสร้างเมื่อปีค.ศ.๑๘๙๖ โดยโครงสร้างอาคารเป็นไม้ขนุนตามสไตล์โบราณและได้รับการแกะสลักอย่างประณีตสวยงามตระกาลตา

มหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยม-สถาปัตยกรรมสไตล์ตะวันออกและตะวันตก - ảnh 4
ระฆังขนาดใหญ่

มหาวิหารหินฟาตเหยี่ยมไม่เพียงแต่เป็นสถานที่สวดมนต์ของคริตศาสนิกชนเท่านั้น หากยังได้รับความสนใจศึกษาค้นคว้าจากนักวิชาการและเป็นจุดนัดพบของนักท่องเที่ยวอีกด้วย  นายดุสติน นักท่องเที่ยวชาวแคนาเดียนกล่าวถึงความรู้สึกของตนเมื่อได้ชมความอลังการของมหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยมว่า  “ ยอดเยี่ยมมาก นับเป็นครั้งแรกที่ผมได้ชมโบส์ถที่อลังการยิ่งใหญ่อย่างนี้ ผมไม่คิดเลยว่า สิ่งก่อสร้างนี้ถูกก่อสร้างเมื่อศตวรรษที่ ๑๙ นี่เองจากฝีมือของช่างศิลป์อาวุโสของเวียดนาม มันแตกต่างกับโบส์ถที่ผมเคยเห็นมาเพราะมีความเป็นเวียดนาม การสอดรับกันระหว่างไม้และหิน ระหว่างตะวันออกกับตะวันตกในโบส์ถเป็นความยอดเยี่ยมมาก ขอชื่นชมครับ

แม้ผนังของโบส์ถ์ในมหาวิหารหินฟ้าตเหยี่ยมถูกตะไคร่น้ำจับซึ่งสะท้อนความเก่าแก่ความโบราณของสิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ แต่เสาใหญ่และป้ายต่างๆที่ยังคงอนุรักษ์ลวดลายประณีตจากฝีมือของช่างศิลป์ที่ดีเยี่ยมของเวียดนาม ป้ายและหินสีเขียวแต่ละแผ่นยังคงเก็บเรื่องราวที่กำลังรอนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามและชาวต่างประเทศมาศึกษาค้นคว้า ./.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด