เที่ยวจังหวัดหายเยือง ชมการแข่งประทัดดิน

(VOVworld)- การเล่นประทัดดินเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่ปรากฎในจังหวัดต่างๆทางภาคเหนือมานานแล้วรวมทั้งในท้องถิ่นหลายแห่งของจังหวัดหายเยือง โดยเมื่อวสันต์ตรุษเต๊ตเวียนมา ได้มีการจัดการประกวดประทัดดินอย่างคึกคักซึ่งสามารถดึงดูดผู้ชมทุกเพศทุกวัยเป็นจำนวนมาก



(VOVworld)- การเล่นประทัดดินเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่ปรากฎในจังหวัดต่างๆทางภาคเหนือมานานแล้วรวมทั้งในท้องถิ่นหลายแห่งของจังหวัดหายเยือง โดยเมื่อวสันต์ตรุษเต๊ตเวียนมา ได้มีการจัดการประกวดประทัดดินอย่างคึกคักซึ่งสามารถดึงดูดผู้ชมทุกเพศทุกวัยเป็นจำนวนมาก

เที่ยวจังหวัดหายเยือง ชมการแข่งประทัดดิน - ảnh 1
เตรียมแข่งประทัดดิน(photo internet)

ในช่วงต้นปีใหม่ บรรยากาศที่ต.มิงดึ๊กและต.กวางขาย อ.ตื้อกี่ ต.อานดึ๊ก นิงห์หว่า เตินเฮือง อ.นิงห์ยาง เป็นต้นต่างมีความคึกคักรื่นเริงกันมากเพราะเสียงประทัดกระทบพื้นดังเป็นจังหวะตั้งแต่ช่วงหน้าจนถึงท้ายหมู่บ้าน โดยชาวบ้านที่ไปทำงานหรือพำนักในที่อื่นต่างก็กลับมาเพื่อร่วมงานประกวดประทัดดินที่จัดขึ้นทุกปีในบ้านเกิด “งานประกวดประทัดดินมีขึ้นตั้งแต่เดือนอ้ายจนถึงเดือน3จันทรคติทั้งในขอบเขตต.และอ. มีการจัดงานเล่นประทัดดินทุกวันตามกลุ่มและแข่งขันกันระหว่างหมู่บ้านตำบลต่างๆ ซึ่งได้ช่วยสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานให้แก่ปีใหม่ ช่วยส่งเสริมให้กำลังใจชาวบ้านให้ก้าวเข้าสู่ปีการผลิตใหม่ด้วยความชื่นมื่น”

เที่ยวจังหวัดหายเยือง ชมการแข่งประทัดดิน - ảnh 2
เรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านได้บอกว่า การเล่นประทัดดินมีขึ้นตั้งแต่สมัยสองวีรกษัตรีตระกูลตรึง โดยชาวบ้านได้ใช้ประทัดดินเพื่อล่อศัตรูและใช้เป็นของเล่นที่มีเสียงดังเพื่อไล่สิ่งที่ไม่ดีในงานเทศกาลต่างๆ แถมยังมีความหมายช่วยให้เยาวชนฝึกความอดทนและเพิ่มความแข็งแรง นายเหงวียนวันจิ๊น ชาวต.นิงห์หว่า อ.นิงห์ยางเผยว่า “ผมเล่นประทัดดินตั้งแต่อายุ15ปี ซึ่งผู้เล่นต้องผ่านการคัดเลือกและได้รับการฝึกอบรมเพื่อที่จะสามารถลงเล่นและแข่งได้ นอกจากนั้นต้องเป็นคนที่มีความสามารถทางเทคนิกและมีความแข็งแรง ซึ่งนับเป็นหนึ่งในการละเล่นพื้นเมืองที่สนุกมาก”

การทำประทัดดินก็ต้องผ่านหลายขั้นตอนแต่ที่ถือว่ายากที่สุดคือการเลือกดินเหนียว ซึ่งต้องเป็นดินเหนียวที่สะอาด ใช้เคียวหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วปั้นดินจนได้ดินที่เหนียวนุ่มไม่ติดมือ  หลังจากนำดินนั้นมาปั้นเป็นประทัดแล้วการปล่อยประทัดก็เป็นส่วนสำคัญเพราะต้องใช้เทคนิก โดยเฉพาะในการแข่งขันจะต้องทำให้ประทัดมีเสียงดังที่สุดและเมื่อแตกลงที่พื้นต้องมีขนาดกว้างที่สุดถึงจะชนะ นายเหงวียนซวนเจื่อง อายุ40ปี สมาชิกทีมประทัดดินต.กว๋างหงาย อ.ตื้อกี่เผยว่า เมื่อเตรียมปล่อยประทัด ผู้เล่นต้องยืนกางขาให้กว้างเท่าไหล่ ถ่ายน้ำหนักลงที่หัวเข่าทั้งสองข้าง ใช้แรงมือเพื่อหมุนประทัดก่อนปล่อยลงพื้น“ส่วนที่ยากที่สุดคือเทคนิกในการเล่นประทัด ซึ่งประทัดจะแตกดังเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับคนเล่น ต้องมีความสมดุลและเลือกจังหวะให้เหมาะสมเพื่อให้ประทัดกระทบพื้นได้สวย แตกยาวและเสียงดัง ดินที่ใช้ทำประทัดนั้นเราสามารถเก็บใช้ต่อได้ถึง10ปี ไม่เล่นก็ใส่ในถูงพลาสติดเก็บไว้ในที่เย็น”

เที่ยวจังหวัดหายเยือง ชมการแข่งประทัดดิน - ảnh 3
หลังจากนำดินนั้นมาปั้นเป็นประทัดแล้วการปล่อยประทัดก็เป็นส่วนสำคัญเพราะต้องใช้เทคนิก
(photo internet)

แม้รางวัลของผู้ชนะการประกวดประทัดดินนั้นเป็นแค่ธงที่ระลึกและเงินไม่กี่ร้อยบาทแต่ก็ดึงดูดผู้เข้าร่วมแข่งขันและผู้ชมเป็นจำนวนมาก ซึ่งสำหรับชาวท้องถิ่นนี่ไม่เพียงแต่เป็นประเพณีและเป็นกิจกรรมรื่นเริงเท่านั้นหากยังสะท้อนจิตใจแห่งความสามัคคีในชุมชนอีกด้วย ดังนั้นแม้ชีวิตจะมีการพัฒนาไปถึงไหนแต่การละเล่นพื้นบ้านนี้ก็ยังคงได้รับการรักษาปฏิบัติต่อไป นาย โด๋แหมงทั้ง รองประธานคณะกรรมการประชาชนต.นิงห์หว่า อ.นิงห์ยาง เผยว่า“เราจัดงานแข่งประทัดในระดับต.ทุกปีและได้รับการขานรับจากประชาชนทุกหมู่เหล่าแม้กระทั่งผู้สูงอายุ สตรีและเด็ก นอกจากนั้นเพื่ออนุรักษ์ประเพณีนี้เรายังทำการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความหมายของกิจกรรมและส่งเสริมการจัดการประกวดเพื่อสร้างแรงจูงใจในหมู่ประชาชน”

เที่ยวจังหวัดหายเยือง ชมการแข่งประทัดดิน - ảnh 4
ในการแข่งขันจะต้องทำให้ประทัดมีเสียงดังที่สุดและเมื่อแตกลงที่พื้นต้องมีขนาดกว้างที่สุดถึงจะชนะ(photo internet)

นอกจากการธำรงการแข่งประทัดในระดับต. อ.และท้องถิ่นต่างๆแล้วทางการจังหวัดหายเยืองยังเปิดงานมหกรรมประทัดดินในกรอบเทศกาลวสันต์ฤดูโกนเซินเกี๊ยบบาก มีการขยายทั้งขอบเขตและจำนวนผู้เล่นเพื่อดึงดูดความสนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยวพร้อมทั้งยังเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์จิตใจแห่งวัฒนธรรมของชาวจังหวัดหายเยืองในการอนุรักษ์และส่งเสริมพัฒนาคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมืองในท้องถิ่นอีกด้วย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด