เรือนจำเซินลา โบราณสถานพิเศษแห่งชาติ

(VOVWORLD)-เรือนจำเซินลาสร้างโดยนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสช่วงต้นศตวรรษที่20เป็นที่คุมขังนักคอมมิวนิสต์และชาวเวียดนามผู้รักชาติกว่า1พันคน ซึ่งได้รับการรับรองเป็นเขตโบราณสถานแห่งชาติเมื่อปี1962 ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานพิเศษแห่งชาติเมื่อปี2014 สถานที่เเห่งนี้เป็นหลักหมายแดงแห่งเกียรติประวัติการปฏิวัติและรำลึกถึงผู้ที่ได้สละเลือดเนื้อเพื่อภารกิจการต่อสู้กู้ชาติของชาวเวียดนาม.

เรือนจำเซินลา โบราณสถานพิเศษแห่งชาติ - ảnh 1ร่องรอยของเรือนจำเซินลา 

เขตโบราณสถานเรือนจำเซินลาตั้งอยู่บนเนินเขาเคาก๋า ก่อสร้างเมื่อปี1908 บนพื้นที่500ตารางเมตร ผ่านการซ่อมแซม3ครั้งพื้นที่เรือนจำได้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า2100ตารางเมตร ซึ่งนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสอยากสร้างเรือนจำแห่งนี้ให้เสมือนนรกบนดินเพื่อคุมขังและมุ่งทำลายความมุ่งมั่นต่อสู้ของนักคอมมิวนิสต์ที่รักชาติ โดยข้างในมีการแบ่งเป็นห้องขังต่างๆ ซึ่งมีห้องขังพิเศษบางห้องมีพื้นที่คับแคบมากเพียง1.2ตารางเมตร กำแพงเรือนจำสร้างด้วยหินและอิฐ หลังคามุงสังกะสี ที่นอนของนักโทษก็ใช้หินสร้างพร้อมติดโซ่ตรวนที่ข้อเท้าตลอดแนวยาวของที่นอน ซึ่งการออกแบบตามลักษณะนี้จะทำให้หน้าร้อนจะร้อนมากหน้าหนาวก็หนาวจัดบวกกับสภาพการใช้ชีวิตอยู่กับที่ไม่ได้ออกไปไหนทำให้เกิดโรคติดต่อเรื้อรังต่างๆ 

สำหรับนักปฏิวัติอาวุโสที่ถูกคุมขังในเรือนจำแห่งนี้ด้วยความมุ่งมั่นและความกล้าหาญเพื่อต่อสู้ได้ช่วยจุดประกายจิตใจแห่งความรักชาติ จิตใจแห่งการปฏิวัติในหมู่ประชาชนทั่วเขตเขาตะวันตกภาคเหนือ ที่นี่ยังเป็นสถานที่อบรมความมุ่งมั่นแห่งการปฏิวัติ ฝึกฝนจิตใจแห่งการต่อสู้อย่างทรหดกล้าหาญโดยมีนักปฏิวัติที่กลายเป็นแบบอย่างนักคอมมิวนิสต์หลายคนเช่น เจื่องจิง เลหยวน เหงวียนเลืองบั่ง โตเหียว เป็นต้นโดยเฉพาะท่านโตเหียวได้ทิ้งมรดกแห่งประวัติศาสตร์ที่มีความหมายและเป็นสัญลักษณ์แห่งจิตใจนักปฏิวัติในเรือนจำแห่งนี้นั่นคือ ต้นท้อโตเหียว นายมายวี อดีตนักโทษของเรือนจำเซินลาเล่าว่า"ผมถูกขังที่เรือนจำนี้5ปีตั้งแต่ปี1940-1945 ซึ่งเรือนจำนี้เสมือนเป็นโรงเรียนแห่งการปฏิวัติเพราะเราได้เรียนทั้งวัฒนธรรมและการเมือง เราทุกคนต่างให้ความเคารพนักปฏิวัติรุ่นพี่อย่างท่านโตเหียว เพราะเขาถือเป็นที่พึ่งทางจิตใจอันมั่นคงของเราทุกคนในเรือนจำ เขาดูแลเอาใจใส่ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของนักโทษทุกคนและเป็นกำลังใจให้เราไม่หวาดกลัวต่อความเจ็บปวดทุกข์ทรมานทั้งปวง"

เมื่อปี1952 หลังการถอนกำลังออกจากเมืองเซินลา นักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสได้ทิ้งระเบิดทำลายเรือนจำเพื่อทำลายหลักฐานที่สะท้อนโทษกรรมอันโหดร้ายทั้งหมด ถึงปี1965 กองทัพอากาศสหรัฐได้โจมตีอำเภอเมืองเซินลาและทำลายพื้นที่ส่วนหนึ่งของเรือนจำ หลังจากประเทศได้รับการปลดปล่อยอย่างสมบูรณ์ ในปี1980และ1994ทางการจังหวัดเซินลาได้เริ่มทำการซ่อมแซมฟื้นฟูส่วนต่างๆ เช่นอุโมงค์ กำแพง หอเฝ้าสังเกตการณ์ ห้องขังใหญ่ เป็นต้น และได้มีการขยายพันธุ์ต้นท้อโตเหียวจากที่นี่เพื่อนำไปปลูกที่สุสานประธานโฮจิมินห์ในกรุงฮานอย นายดิงหิวดึ๊กเถาะ นักท่องเที่ยวจากเมืองดานังที่มาเยือนเรือนจำเซินลาได้แสดงความเห็นว่า"นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้ไปเที่ยวท้องถิ่นเขตเขาทางเหนือของประเทศ ในคณะครั้งนี้ก็มีเด็กด้วยดังนั้นเราอยากให้ลูกหลานเข้าใจว่าบรรพชนรุ่นต่างๆได้เสียสละเลือดเนื้ออย่างไรเพื่อช่วงชิงเอกราชเสรีภาพมาให้แก่ประเทศเพื่อให้เราได้อยู่ในสันติภาพดังทุกวันนี้ เรือนจำเซินลาเป็นสถานที่ที่ผมได้เรียนสมัยเป็นเด็กและครั้งนี้ได้เห็นกับตาแล้วยังมีโอกาสศึกษาเรียนรู้ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับถิ่นปฏิวัติของคนรุ่นก่อน"

ปัจจุบันนี้ได้มีการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เซินลาอยู่ข้างๆเรือนจำแห่งนี้เพื่อเป็นที่จัดแสดงสิ่งของวัตถุและข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแผ่นดินนี้พร้อมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของ12กลุ่มชาติพันธ์ุในจังหวัดเซินลา ซึ่งสำหรับเรือนจำเซินลาแห่งนี้ก็ถือเป็นพยานแห่งประวัติศาสตร์การต่อสู้กู้ชาติอันรุ่งโรจน์ช่วงหนึ่งและทุกวันนี้ เรือนจำเซินลาได้กลายเป็นจุดหมายสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศให้มาเยี่ยมชมและศึกษาเกี่ยวกับเกียรติประวัติแห่งการรักษาชาติของชาวเวียดนาม .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด