กิจกรรมวัฒนธรรมที่โดดเด่นในปี 2018

(VOVWORLD) - ในปี 2018เวียดนามได้จัดกิจกรรมวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกระดับโลก ในช่วงต้นปีใหม่ 2019 ทางผู้จัดทำรายการขอทบทวนกิจกรรมวัฒนธรรมที่โดดเด่นของเวียดนามในปี 2018 ที่ผ่านมาค่ะ
กิจกรรมวัฒนธรรมที่โดดเด่นในปี 2018 - ảnh 1ภาพในงานเฟสติวัลเว้ครั้งที่ 10ปี 2018 

งานเฟสติวัลเว้ครั้งที่ 10ปี 2018ในหัวข้อ “มรดกวัฒนธรรมกับการผสมผสานและการพัฒนา – เว้: 1 จุดหมายปลายทาง 5 มรดก” ได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 27เมษายนถึงวันที่ 2พฤษภาคม ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว 1.2 ล้านคน โดยเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4แสนคน ในกรอบของงาน ได้มีการแสดงศิลปะต่างๆรวม 38 รายการและ จัดกิจกรรมวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศและดินแดนต่างๆจากทั่วโลก50รายการ นาย เหงวียนยุง รองประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดเถื่อเทียนเว้และหัวหน้าคณะกรรมการจัดงานเฟสติวัลเว้ปี 2018ได้ประเมินว่า“งานเฟสติวัลเว้ปี 2018 มีรายการศิลปะและงานเทศกาลวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น งานเทศกาลพื้นเมืองและรายการศิลปะร่วมสมัยของเขตมรดกวัฒนธรรมต่างๆของเวียดนามและโลก ซึ่งช่วยให้งานเฟสติวัลเว้ประสบความสำเร็จและได้รับการประเมินว่า เป็นงานเฟสติวัลที่น่าประทับใจและเต็มไปด้วยความเป็นมนุษย์”

อีกหนึ่งงานเฟสติวัลใหญ่ในปี 2018คือเฟสติวัลวัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30พฤศจิกายนถึงวันที่ 2ธันวาคม ณ จังหวัดยาลาย เพื่อเชิดชู อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรมของบรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนที่ได้รับการรับรองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ       โดยมีศิลปิน 1,200 คนจาก 5 จังหวัดในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนเข้าร่วม นาย ฟานซวนหวู ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดยาลายได้เผยว่า“ในงานเฟสติวัลครั้งนี้ พวกเราให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการเข้าร่วมของชุมชนและศิลปะการแสดงพื้นบ้านเพื่อประชาชนและชุมชน ซึ่งมีส่วนร่วมที่สำคัญต่อการสร้างสรรค์บรรยากาศวัฒนธรรมฆ้อง ดังนั้นในปี 2018 จึงมีการจัดงานเทศกาลฆ้องระดับอำเภอและนครในจังหวัด”

กิจกรรมวัฒนธรรมที่โดดเด่นในปี 2018 - ảnh 2ภาพในเฟสติวัลวัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนปี 2018 (nhandan.vn) 

เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2018 เอกสาร “หว่างฮวาซื้อจิ่งโด่” ของตระกูล เหงียนฮวีในจังหวัดห่าติ๋ง ประเทศเวียดนามได้รับการรับรองเป็นมรดกด้านข้อมูลสังกัดโครงการความทรงจำแห่งโลกย่านเอเชียแปซิฟิกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก หนังสือเล่มนี้มีส่วนหลักคือแผนที่ที่มีภาพและข้อมูลที่มีค่าหายากเกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติหน้าที่เป็นทูตพิเศษของประเทศด่ายเวียดเมื่อศตวรรษที่ 18 โดยมีนาย เหงียนฮวีแอวงเป็นบรรณาธิการและเรียบเรียงในช่วงปี 1765-1768 จากเอกสารของทูตพิเศษ พร้อมทั้งเพิ่มเติมข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้องถึงช่วงปฏิบัติหน้าที่เป็นทูตพิเศษของเขาตั้งแต่ปี 1766-1767

ส่วนเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ณ เมืองเก่าฮอยอัน คณะกรรมการประชาชนจังหวัดกว๋างนามได้จัดพิธีรับหนังสือรับรองศิลปะ “การร้องเพลงบ่ายจ่อยภาคกลางเวียดนาม”เป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจากยูเนสโก โดยการร้องเพลงบ่ายจ่อยเป็นศิลปะพื้นเมืองที่มีทั้งการแสดงในเชิงสร้างสรรค์และการละเล่นพื้นบ้านอย่างสนุกสนาน นาย เลวันแทง รองประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดกว๋างนามได้เผยว่า“พวกเรามีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆอนุรักษ์ศิลปะการร้องเพลงบ่ายจ่อย อีกทั้งสดุดีและส่งเสริมคุณค่าของศิลปะการร้องเพลงบ่ายจ่อยเพื่อการพัฒนาด้านวัฒนธรรม ตลอดจนดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศให้มาเยือนจังหวัดกว๋างนามและเมืองฮอยอันเพื่อรับชมการแสดงการร้องเพลงบ่ายจ่อย”

งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงฮานอยครั้งที่ 5 ในหัวข้อ “อุตสาหกรรมภาพยนตร์ – ผสมผสานและพัฒนาอย่างยั่งยืน” เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาถือเป็นนิมิตรหมายของการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเวียดนาม โดยเวียดนามได้รับ4 รางวัล ได้แก่ รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมเป็นของด่าวเฟืองแองจากภาพยนตร์เรื่อง “ยั้มมัดเท้ยหมั่วแห่” หรือ “หลับตาเห็นฤดูร้อน” รางวัลภาพยนตร์ขวัญใจมวลชนเป็นของภาพยนตร์เรื่อง “จ่างเหวอะของแอม” หรือ “นายเมียของฉัน” ของผู้กำกับ Charlie Nguyen รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม เป็นของคุณ เหงียนเลหว่างเหวียด จากผลงานเรื่อง “บ๋านกุ่งฝ่อง” หรือ “เพื่อนร่วมห้อง” และรางวัลภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยมเป็นของภาพยนตร์เรื่อง  “ฮายเดื๊อแจ๊” หรือ “เด็กสองคน”ของผู้กำกับ ตะกวิ่งตือ ส่วนภาพยนตร์เรื่อง “The Dark room” ของผู้กำกับชาวอิหร่าน Rouhollah Hejazi ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

กิจกรรมรำลึกครบรอบ 100 ปีวันให้กำเนิดละครร้องก๋ายเลืองเวียดนาม ณ นครโฮจิมินห์และท้องถิ่นต่างๆในภาคใต้เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาคือ กิจกรรมวัฒนธรรมที่โดดเด่นสุดท้ายของปี 2018 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูและแนะนำศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงให้แก่ประชาชนทุกคนอย่างทั่วถึง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด