กลอนของเวียดนามเปลี่ยนแปลงตามเส้นทางการปฏิวัติเดือนสิงหาคมปี ๑๙๔๕

( VOVworld ) - ชัยชนะของการปฏิวัติเวียดนามในเดือนสิงหาคมปี ๑๙๔๕ ได้ยุติการเป็นเมืองขึ้นของเวียดนามมาเกือบ ๘๐ ปี อันเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งเอกราชและเสรีภาพให้แก่ประชาชาติเวียดนาม  ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาการฟื้นตัวของวัฒนธรรมทางจิตใจและเป็นการให้กำเนิดวัฒนธรรมและศิลปะแนวใหม่ของเวียดนาม โดยนักเขียนและกวีแทบทุกคนต่างมุ่งใจสู่การปฏิวัติและได้สร้างผลงานเพื่อการปฏิวัติ ซึ่งนับแต่นั้นมา กลอนของเวียดนามได้พัฒนาและมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเนื้อหาและรูปแบบอย่างรวดเร็ว 


( VOVworld ) - ชัยชนะของการปฏิวัติเวียดนามในเดือนสิงหาคมปี ๑๙๔๕ ได้ยุติการเป็นเมืองขึ้นของเวียดนามมาเกือบ ๘๐ ปี อันเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งเอกราชและเสรีภาพให้แก่ประชาชาติเวียดนาม  ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาการฟื้นตัวของวัฒนธรรมทางจิตใจและเป็นการให้กำเนิดวัฒนธรรมและศิลปะแนวใหม่ของเวียดนาม โดยนักเขียนและกวีแทบทุกคนต่างมุ่งใจสู่การปฏิวัติและได้สร้างผลงานเพื่อการปฏิวัติ ซึ่งนับแต่นั้นมา กลอนของเวียดนามได้พัฒนาและมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเนื้อหาและรูปแบบอย่างรวดเร็ว 

กลอนของเวียดนามเปลี่ยนแปลงตามเส้นทางการปฏิวัติเดือนสิงหาคมปี ๑๙๔๕ - ảnh 1
ประธานโฮจิมินห์อ่านปฏิญญาเอกราชอันเป็นการให้กำเนิดประเทศเวียดนามที่เอกราชและเสรีภาพในวันที่ ๒ กันยายน ๑๙๔๕ 

ความสำเร็จของการปฏิวัติในเดือนสิงหาคมได้สร้างหัวเลี้ยวหัวต่อในชีวิตการประพันธ์ผลงานของกวีเวียดนามหลายคน  ซึ่งท่านดั่งทายมายนักวิจัยและวิจารณ์วรรณกรรมและกลอนที่มีชื่อเสียงของเวียดนามได้ให้ข้อสังเกตว่า “ ลมหายใจใหม่ๆได้เข้าสู่บทกลอนของเวียดนาม โดยความเสียสละเลือดเนื้อของทหารและจิตใจแห่งความอยู่รอดของประชาชาติหนึ่งได้เข้าสู่บทกลอนแนวใหม่และอารมณ์ความรู้สึกใหม่ๆ ” รองศาสตราจารย์ ดร.ลิวแค้งเทอ จากสถาบันศึกษาวิจัยวรรณกรรมเห็นว่า  ความสำเร็จของการปฏิวัติในเดือนสิงหาคมไม่เพียงแต่เปิดศักราชใหม่ให้แก่ประชาชาติและประเทศเท่านั้น หากยังสร้างก้าวพัฒนาใหม่ในประวัติศาสตร์วรรณคดีและวรรณกรรมเวียดนาม โดยเฉพาะในชีวิตวรรณกรรมสมัยใหม่  ซึ่งร้อยกรองและร้อยแก้วได้มีการเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงของกลอนเวียดนาม อาจกล่าวได้ว่า  การเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดคือ นักเขียนและกวีส่วนใหญ่แม้จะอยู่ในที่ต่างๆและมีมุมมองการสร้างผลงานที่แตกต่างกัน แต่พวกเขาก็มีจุดที่เหมือนกันคือ เข้าร่วมการปฏิวัติ  นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของวรรณกรรมเวียดนาม

กวีเลทันหงี ประธานสภาวิจารณ์วรรณกรรมของสมาคมนักเขียนเวียดนามกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงในช่วงนั้นว่า “ ช่วงนั้น นักเขียน กวีและศิลปินยุคก่อนการปฏิวัติหรือยุคเข้าร่วมสงครามต่อต้านได้เดินตามเส้นทางของของประชาชาติในการเพื่อกอบกู้เอกราชและเสรีภาพให้แก่ประเทศ การแต่งกลอนในระยะนั้นก็แตกต่างกับช่วงทศวรรษที่ ๓๐ ถึง ๔๕ อยู่ตรงที่ เมื่อก่อนพวกเขาแต่งบทกวีเกี่ยวกับความรักและความเป็นส่วนตัวมากกว่า มาช่วงนี้บทกวีก็เพื่อให้กำลังใจทหารและปลุกระดมให้ประชาชนทั้งปวงลุกขึ้นทำการปฏิวัติต่อต้านนักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศส ซึ่งผลงานส่วนใหญ่สะท้อนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์

กลอนของเวียดนามเปลี่ยนแปลงตามเส้นทางการปฏิวัติเดือนสิงหาคมปี ๑๙๔๕ - ảnh 2
กวีโต๊หิวกับบทกวีชุด นับแต่นั้นมา

กวีโต๊หิวเป็นคนแรกที่ได้ถ่ายทอดความรู้สึกปลื้มปิติของประชาชนที่ประเทศได้รับการปลดปล่อยในบทกวีชุดที่มีชื่อว่า นับแต่นั้นมา ซึ่งได้ออกสู่สายตาผู้อ่านเมื่อปี ๑๙๓๘   ท่านลิวแค้งเทอ เห็นว่า “ กวีโต๊หิวได้แต่งบทกวีที่ทันกับเหตุการณ์ โดยเมื่อเริ่มทำการปฏิวัติในเดือนสิงหาคม ท่านได้แต่งบทกวี เว้เดือนสิงหา โดยใช้ภาพเกี่ยวกับพระอาทิตย์และดวงใจเพื่อสะท้อนความปลื้มปิติและความภาคภูมิใจของประชาชนในประเทศที่ได้รับเอกราชและเสรีภาพ 

ในช่วงการปฏิวัติเดือนสิงหาคมปี ๑๙๔๕ กวีที่แต่งผลงานเกี่ยวกับความรักได้มีการเปลี่ยนแปลงในการคิดค้นทั้งด้านศิลปะ เนื้อหาและรูปแบบการเขียน  ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร. ลิวแค้งเทอได้เห็นว่า กวีเหล่านี้ได้มองเห็นว่า การปฏิวัติได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของชาติอีกทั้งยังเป็นการฟื้นชีพให้แก่ตนเองและศิลปะด้วย “ กวีสองท่านที่มีชื่อเสียงในวงการกวีของเวียดนามสมัยนั้นได้แก่ โต๊หิวและซวนเหยี่ยว  ซึ่งกวีซวนเหยียวได้รับขนานนามว่า ราชาแห่งกลอนรัก  ซึ่งบทกวีที่ท่านแต่งในช่วงก่อนการปฏิวัติเดือนสิงหาคมส่วนใหญ่กล่าวถึงความรัก ตัวบุคคลและตัวตน  แต่หลังเกิดการปฏิวัติในเดือนสิงหาคม ท่านได้แต่งบทกวีสองบทได้แก่ ธงชาติและการประชุมเพื่อผืนแผ่นดิน  ซึ่งภาพเกี่ยวกับธงแดงดาวเหลืองในบทกวีของท่านได้สะท้อนถึงสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ของประเทศ  สิ่งที่น่าสนใจคือ ภาพลักษณ์ ความรู้สึกและภาษาในบทกวีดังกล่าว กวีซวนเหยี่ยวยังไม่เคยใช้มาก่อน

กลอนของเวียดนามเปลี่ยนแปลงตามเส้นทางการปฏิวัติเดือนสิงหาคมปี ๑๙๔๕ - ảnh 3
กวีซวนเหยี่ยวกับบทกวีชุด บทกวีรัก

จากผลงานของกวีโต๊หิวและซวนเหยี่ยวแสดงให้เห็นว่า การปฏิวัติในเดือนสิงหาคมได้เปลี่ยนแปลงมุมมองและเติมแต่งอารมณ์ความรู้สึกใหม่ๆให้แก่กวีสองท่านที่มีการประพันธ์ผลงานในแนวที่แตกต่างกัน  กวีเลทันหงีเห็นว่า  “ บทกวีทุกบทได้สะท้อนให้เห็นลัทธิรักชาติของกวีทุกท่าน ของชาติและประชาชน  มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและชนิดของบทกวี ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกที่มีพลังเข้มแข็ง จังหวะ และคำกลอนจะยาวหรือสั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นจิตใจ ความรู้สึก ชีวิตและสุขภาพของนักรบในสมรภูมิ

ชัยชนะในการปฏิวัติเดือนสิงหาคมปี ๑๙๔๕ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตวัฒนธรรมและจิตใจตลอดจนกิจกรรมทางศิลปะวัฒนธรรม วรรณกรรมและกลอนของประเทศ อันเป็นการให้กำเนิดวัฒนธรรมใหม่ วรรณกรรมและศิลปะใหม่ โดยเฉพาะการประพันธ์กลอนได้ก้าวเข้าสู่ระยะใหม่ด้วยแนวใหม่ๆคือ ผลงานเกี่ยวกับสงครามโดยการเข้าร่วมของประชาชนในยุคโฮจิมินห์ ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด