อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมพร้อมกับยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน

(VOVworld) – เวียดนามมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพร้อมมี 54 กลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้วัฒนธรรมมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ ดังนั้นการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมคือส่วนงานที่เวียดนามให้ความสำคัญและปฏิบัติควบคู่กับยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่เวียดนามผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างกว้างลึก

(VOVworld) – เวียดนามมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพร้อมมี 54 กลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้วัฒนธรรมมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ ดังนั้นการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมคือส่วนงานที่เวียดนามให้ความสำคัญและปฏิบัติควบคู่กับยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่เวียดนามผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างกว้างลึก

อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมพร้อมกับยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน - ảnh 1
เทศกาลในหมู่บ้านดงหงาก

เวียดนามมีมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมหาศาล โดยเป็นมรดกแบบรูปธรรมประมาณ 4 หมื่นแห่ง มรดกแบบนามธรรม 6 หมื่นรายการและมีหลายแห่งได้ถูกระบุในรายชื่อมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก้ ดร.เหงียนเท้หุ่ง อธิบดีกรมมรดกสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวเผยว่า ในยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของเวียดนามมีนโยบายที่สอดคล้อง โดยเฉพาะสร้างกลไกให้ประชาชน ชุมชนในสังคมและสถานประกอบการได้ใช้ ได้รับประโยชน์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกเหล่านี้ “มรดกวัฒนธรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดและพึ่งพากัน การอนุรักษ์วัฒนธรรมก็เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่วนในการพัฒนาอย่างยั่งยืนก็ต้องถือการอนุรักษ์วัฒนธรรมเป็นหน้าที่ที่ต้องทำเป็นประจำ ส่วนรัฐได้ปรับปรุงระบบกฎหมายในด้านนี้ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ปฏิบัตินโยบายให้สิทธิพิเศษต่อศิลปิน ให้ความสนใจถึงการฝึกอบรมและการบริหารด้านวัฒนธรรมต่อไป”

อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกคือภารกิจที่ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและในทางกลับกันการพัฒนาก็เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม ศ.ดร.เหงียนจ่องจ๋วน อดีตหัวหน้าสถาบันปรัชญาแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์สังคมเวียดนามเผยว่า  “ในสังคมที่ทันสมัย ถ้าหากไม่มีปัจจัยทางวัฒนธรรมจะไม่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประชาชาติใดที่อยากพัฒนา โดยเฉพาะพัฒนาอย่างยั่งยืนจะต้องสานต่อและกลั่นกรองสิ่งที่ดีเลิศที่บรรพชนได้สร้างไว้ วัฒนธรรมเป็น 1 ใน 4 เสาหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืนพร้อมกับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ส่วนมรดกวัฒนธรรมเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาในทุกด้านของประเทศและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาของเศรษฐกิจและสังคม”

ส่วนศ.ดร. หวูมิงห์ยาง รองประธานสภามรดกแห่งชาติย้ำว่า “ถ้าหากถือวัฒนธรรมเป็นแหล่งทรัพยากรพิเศษ จะต้องใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงวิชาชีพและมีประสิทธิผล ดังนั้น เราต้องให้ความสำคัญถึงการฝึกอบรมแหล่งบุคลากรและเพิ่มความรู้ให้แก่ประชาชนในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และพัฒนา ซึ่งเป็นแนวโน้มการปฏิบัติของโลกแล้วเราก็สามารถเห็นถึงประสิทธิภาพของแนวโน้มนี้ โดยในเวลาที่ผ่านมา มีมรดกหลายแห่งได้รับการปฏิสังขรเนื่องจากแหล่งเงินทุนของสังคม ในเร็วๆนี้ เราควรปรับปรุงกฎหมายมรดกและตรวจสอบเอกสารทางกฎหมายให้มีความสมบูรณ์เพื่อเอื้อให้แก่ภารกิจนี้”

ปัจจุบันนี้ บรรดาผู้บริหารด้านวัฒนธรรมเวียดนามกำลังส่งเสริมการยกระดับจิตสำนึกเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของมรดกวัฒนธรรมในชุมชน และการถือมรดกวัฒนธรรมเป็นทรัพยากรอันล้ำค่าของประเทศ รองศ.ดร.ดั๋งวันบ่าย รองประธานสภามรดกวัฒนธรรมแห่งชาติกล่าวว่า “เราต้องปรับเปลี่ยนจิตสำนึกเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรม สร้างสรรค์และพัฒนาให้มรดกวัฒนธรรมเป็นศูนย์การศึกษาทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม พร้อมทั้งต้องลงทุนมากขึ้นเพื่อให้มรดกวัฒนธรรมกลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านท่องเที่ยวที่น่าดึงดูดใจ”

อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมพร้อมกับยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน - ảnh 2
ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ - มรดกวัฒนธรรมนามธรรมของโลก

ส่วนศ.ดร.ลิวเจิ่นเตียว ประธานสภามรดกวัฒนธรรมแห่งชาติและนายกสมาคมมรดกวัฒนธรรมเวียดนามให้ข้อสังเกตว่า หนึ่งในหลักการที่ยูเนสโก้และประเทศต่างๆได้เสนอเพื่ออนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมคือการมุ่งสู่ชุมชน  ทำอย่างไรให้ทั้งสังคมรับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทที่สำคัญของมรดกและได้เข้าร่วมการส่งเสริม อนุรักษ์และสร้างสรรค์มรดกวัฒนธรรม

มรดกวัฒนธรรมคือพื้นฐานทางจิตใจและพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกพร้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะมีส่วนร่วมพัฒนาคุณค่าวัฒนธรรมของประชาชาติและการพัฒนาในทุกด้านของประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด