อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

(VOVWORLD) - มรดกวัฒนธรรมเวียดนามคือสมบัติอันล้ำค่าของชุมชน 54 ชนเผ่าเวียดนาม ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ในตลอดหลายพันปีแห่งการสร้างสรรค์และพิทักษ์รักษาประเทศ อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ของการคงอยู่ การเชื่อมโยงระหว่างอดีต ปัจจุบันและอนาคต  ซึ่งการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าคลังมรดกวัฒนธรรมก็เป็นพื้นฐานให้แก่การสร้างสรรค์วัฒนธรรมเวียดนามที่ก้าวหน้าและมีเอกลักษณ์ของชาติ
อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน - ảnh 1อ่าวฮาลองได้รับการรับรองเป็นมรดกธรรมชาติโลก เมื่อปี 1994

ปัจจุบัน เวียดนามมีมรดกวัฒนธรรม 27 รายการที่ได้รับการรับรองจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก้และกำลังเตรียมเอกสารเพื่อยื่นเสนอให้ยูเนสโกรับรองมรดกรูปธรรม 2 รายการและมรดกนามธรรม 3 รายการให้เป็นมรดกโลกภายในปี 2025 นอกจากนี้ ยังมีโบราณสถานแห่งชาติ 3450 แห่ง โบราณสถานพิเศษแห่งชาติกว่า 100 แห่ง มีสมบัติแห่งชาติกว่า 160 รายการ มีมรดกวัฒนธรรมนามธรรมระดับชาติเกือบ 290 รายการและมีเทศกาลพื้นเมือง 8000 เทศกาล

ศ.ด.ลิวเจิ่นเตียว ประธานสมาคมมรดกวัฒนธรรมเวียดนามได้เผยว่า การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมสองด้านที่กลับกันหากเป็นกระบวนการที่เป็นเอกภาพและมุ่งสู่เป้าหมายเดียวคือการพัฒนาอย่างยั่งยืน“การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมจะเอื้อให้แก่การพัฒนา ส่วนการพัฒนาก็จะสนับสนุนการอนุรักษ์คุณค่ามรดกวัฒนธรรม ซึ่งการพัฒนาวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและสนับสนุนกัน เพื่อส่งเสริมให้ศักยภาพของมรดกวัฒนธรรมกลายเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องยกระดับจิตสำนึกเกี่ยวกับคุณค่ามรดกวัฒนธรรม โดยมรดกวัฒนธรรมคือทรัพย์สมบัติอันล้ำค่า มีส่วนช่วยเชื่อมโยงชุมชนชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ อีกทั้งสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติและเป็นพื้นฐานให้แก่การสร้างคุณค่าใหม่และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม สิ่งที่สำคัญในการอนุรักษ์โบราณสถานทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ทิวทัศน์ที่สวยงามและมรดกวัฒนธรรมคือการอนุรักษ์ปัจจัยที่สำคัญของมรดกต่างๆ”

อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน - ảnh 2เมืองเก่าฮอยอันได้รับการรับรองเป้ฯมรดกวัฒนธรรมโลกจากยูเนสโกเมื่อปี  1998

เพื่อสามารถอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกต่างๆ มรดกนั้นๆต้องมีบทบาทสำคัญต่อชุมชน สะท้อนเอกลักษณ์และได้รับการอนุรักษ์ในเขตชุมชน ตลอดจนมีการสืบทอดระหว่างรุ่นต่างๆ การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมทั้งรูปธรรมและนามธรรมคือแนวโน้มของโลกในปัจจุบัน ซึ่งต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนและนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมมรดก ดร.ฟานแทงหาย สมาชิกสภามรดกแห่งชาติได้เผยว่า“การส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนเข้าร่วมการอนุรักษ์มรดกถือเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยบทเรียนที่สำคัญที่สุดคือต้องประสานอย่างกลมกลืนระหว่างผลประโยชน์ของชาติกับประชาชน ในสภาวการณ์ปัจจุบัน มรดกวัฒนธรรมคือมรดกของชุมชน โดยประชาชนในชุมชนต้องให้คำปรึกษาแก่โครงการบูรณะปฏิสังขรณ์ ปกป้องและส่งเสริมคุณค่ามรดก”

อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน - ảnh 3เมื่อปี 2014 เขตจ่างอาน จังหวัดนิงบิ่งได้รับการรับรองเป็นมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของโลกจากยูเนสโก 

แม้มรดกวัฒนธรรมจะมีมาตั้งแต่อดีต แต่ก็ต้องได้รับการส่งเสริมให้เป็นสิ่งที่น่าสนใจและเหมาะกับยุคปัจจุบัน มรดกวัฒนธรรมแต่ละรายการมีวิธีการเข้าถึงและมาตรการอนุรักษ์ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะมรดกวัฒนธรรมนามธรรมที่มีความเสี่ยงจะสูญหายไป เช่น มรดกที่เป็นการเล่าขาน งานเทศกาลพื้นเมืองและขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ดร.เหงวียนเท้หุ่ง สมาชิกสภามรดกแห่งชาติได้เผยว่า“ต้องปฏิบัตินโยบายให้สิทธิพิเศษต่อศิลปินอาวุโสเพราะศิลปินอาวุโสมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมนามธรรมให้คงอยู่ต่อไป พร้อมทั้งต้องอนุรักษ์ควบคู่กับการสอดแทรกปัจจัยต่างๆให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน ซึ่งต้องมีการหารืออย่างรอบคอบก่อนการปฏิบัติ การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและสนับสนุนกัน โดยการอนุรักษ์มรดกจะสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่วนการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องถือการอนุรักษ์มรดกเป็นหน้าที่สำคัญและต้องได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง”

การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกคือหนึ่งในหน้าที่ที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของหน่วยงานวัฒนธรรม ในเวลาที่ผ่านมา ผลงานที่น่ายินดีในการบริหาร อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรม ได้ทำให้มรดกวัฒนธรรมของเวียดนามกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ นาง เลถิทูเหี่ยน อธิบดีกรมมรดกวัฒนธรรมได้เผยว่า“ต้องผลักดันการประชาสัมพันธ์ การเชื่อมโยงมรดกที่ได้รับการรับรองให้เป็นมรดกโลกกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นเพื่อให้มรดกโลกกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ อีกทั้งต้องกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าร่วมการปกป้องและส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรม ซึ่งการปฏิบัติมาตรการต่างๆอย่างพร้อมเพรียง การปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างการอนุรักษ์วัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจถือเป็นวิธีการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น”

การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนต้องมีการเข้าร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเขตชุมชน โบราณสถานทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ทิวทัศน์ที่สวยงามและมรดกวัฒนธรรมนามธรรมที่บรรพบุรุษได้สืบทอดให้แก่คนรุ่นหลังถือเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งคนรุ่นปัจจุบันมีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกเพื่อมีส่วนร่วมต่อภารกิจการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด