อนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมเวียดนาม

(VOVWORLD) -จากการมีกลุ่มชาติพันธุ์ 54 กลุ่ม เวียดนามจึงมีคลังวัฒนธรรมที่หลากหลายเป็นเอกลักษณ์ที่ประกอบด้วยมรดกรูปธรรมและนามธรรมต่างๆ โดยได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดีจากทั้งรัฐ ชุมชนและประชาชนทุกชั้นชน
อนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมเวียดนาม - ảnh 1พิธีเปิดสัปดาห์ “มหาสามัคคีชนในชาติ – มรดกวัฒนธรรมเวียดนาม” 

ในตลอด 6 ปีที่ผ่านมา เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนทุกๆปี หมู่บ้านวัฒนธรรมชนเผ่าต่างๆในเวียดนามที่ด่งโม อำเภอเซินเตย กรุงฮานอยจะจัดสัปดาห์ “มหาสามัคคีชนในชาติ – มรดกวัฒนธรรมเวียดนาม” ส่วนในปีนี้ ก็มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น วัฒนธรรมตลาดน้ำก๊ายรัง – มรดกวัฒธรรมนามธรรมระดับชาติ การแสดงศิลปะการร้องเพลงเดิ่นกาต่ายตื๋อภาคใต้ – มรดกวัฒนธรรมนามธรรมที่เป็นตัวแทนของมนุษยชาติ การสัมมนาและการพบปะแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เป็นต้น โดยมีศิลปินและตัวแทนชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในทั่วประเทศเข้าร่วม คุณเหงียนถิเฟือง ชนกลุ่มน้อยเผ่าเหมื่อง จังหวัดหว่าบิ่งห์เผยว่า “คณะผู้จัดงานได้อำนวยความสะดวกให้ชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆมาพบปะสังสรรค์และมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมของแต่ละชนเผ่า สร้างความสามัคคีเพื่อสร้างสรรค์ชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น มาที่นี่เรามีโอกาสเสนอเอกลักษณ์วัฒนธรรมของตนเพื่อเพิ่มความสามัคคีชนในชาติและสร้างสรรค์ประเทศเวียดนามที่เจริญรุ่งเรืองและเต็มไปด้วยเอกลักษณ์วัฒนธรรม”

นอกจากมรดกนามธรรมแล้ว เวียดนามยังมีมรดกรูปธรรมทางวัฒนธรรมและมรดกธรรมชาติของโลกที่ได้รับการรับรองจากยูเนสโก้ เช่น อ่าฮาลอง วันเมี๊ยวก๊วกตื๋อย้าม กำแพงพระราชวังหว่างแถ่งทังลอง จ่างอาน ฟองญา – แก๋บ่าง กรุงเก่าเว้ เมืองเก่าฮอยอันและกลุ่มปราสาทหมีเซิน พร้อมกับมรดกและสถานที่ท่องเที่ยวแห่งชาตินับพันแห่ง ซึ่งจะเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศและทำรายได้ให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและการดึงดูดการลงทุน นายเหงียนแหมงเกื่อง อดีตรองอธิบดีทบวงการท่องเที่ยวกล่าวว่า  “การเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาชมโบราณสถานทางวัฒนธรรม ธรรมชาติและเอกลักษณ์วัฒนธรรมเวียดนามก็ช่วยให้โบราณสถานเหล่านี้เป็นที่รู้จักในประเทศอื่นๆทั่วโลก และรายได้จากการท่องเที่ยวก็จะถูกนำกลับมาใช้อนุรักษ์มรดกให้คงอยู่ตลอดไปและเป็นจุดหมายปลายทางที่ดึงดูดนักลงทุนมากขึ้น”

อนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมเวียดนาม - ảnh 2อ่าวฮาลอง (Photo vnexpress) 

ที่อ่าวฮาลอง ได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าทางธรรมชาติของมรดกให้มีความสมบูรณ์ที่สุด โดยสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งมีโฉมใหม่และมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว นางเหงียนเหวี่ยนแอ๊ง รองคณะกรรมการจัดการอ่าวฮาลองย้ำว่า “พวกเราตระหนักได้ดีว่า การอนุรักษ์มรดกเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุด โดยคุณค่าที่ได้รับการรับรองจากยูเนสโก้ได้สร้างเครื่องหมายการค้าให้แก่การท่องเที่ยวของอ่าวฮาลอง ในการพัฒนาการท่องเที่ยว พวกเราก็มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งเสริมคุณค่าของอ่าวฮาลองเพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับมรดกของฮาลอง เช่น เราเปิดการท่องเที่ยวหมู่บ้านชาวประมงวงเวียงพร้อมกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการท่องเที่ยว”

ควบคู่กับการอนุรักษ์และพัฒนา เวียดนามยังผลักดันการศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม นายเลซวนเกียว ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์วันเมี๊ยว – ก๊วกตื๋อย้าม สังกัดมรดกแห่งชาติพิเศษวันเมี๊ยว – ก๊วกตื๋อย้ามเผยว่า “เราเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ศึกษาคุณค่าของมรดกอย่างเป็นฝ่ายรุกด้วยตนเองแทนวิธีการเข้าถึงแบบดั้งเดิม ซึ่งช่วยให้เด็กรักมรดกวัฒนธรรมของประชาชาติมากขึ้น ส่งเสริมจิตใจการเป็นฝ่ายรุก การมีความคิดสร้างสรรค์และฝึกทักษะชีวิตให้แก่เด็กอีกด้วย จากความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างศูนย์วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์วันเมี๊ยว – ก๊วกตื๋อย้ามกับผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเกี่ยวกับมรดกและครูอาจารย์ได้ทำให้การศึกษามรดกมีชีวิตชีวาและน่าสนใจมากขึ้น”

ปัจจุบันนี้ การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมตามแนวทางที่มีการเข้าร่วมของทั้งสังคมได้รับการปฏิบัติในท้องถิ่นต่างๆ เพื่อสามารถระดมพลังทุกแหล่งและการเข้าร่วมของประชาชน นี่คือปัจจัยสำคัญเพื่อให้เวียดนามอนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งมรดกวัฒนธรรมและศิลปะที่ได้รับการรับรองในระดับโลก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด