เหตุการณ์วัฒนธรรมที่โดดเด่นของเวียดนามปี ๒๐๑๓

( VOVworld )-ศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อภาคใต้ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก การประชุมสรุปผลการปฏิบัติมติของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคเกี่ยวกับการสร้างสรรค์และพัฒนาวัฒนธรรมเวียดนามที่ก้าวหน้าและมีเอกลักษณ์ของชาติครบรอบ ๑๕ ปี สัปดาห์สามัคคีชนเผ่ากับมรดกวัฒนธรรมเวียดนามและการพบปะสังสรรค์กับประเทศต่างๆเพื่อร่วมมือด้านวัฒนธรรมคือเหตุการณ์วัฒนธรรมที่โดดเด่นของเวียดนามในปี ๒๐๑๓ ที่ผ่านมา


( VOVworld )-ศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อภาคใต้ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก การประชุมสรุปผลการปฏิบัติมติของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคเกี่ยวกับการสร้างสรรค์และพัฒนาวัฒนธรรมเวียดนามที่ก้าวหน้าและมีเอกลักษณ์ของชาติครบรอบ ๑๕ ปี สัปดาห์สามัคคีชนเผ่ากับมรดกวัฒนธรรมเวียดนามและการพบปะสังสรรค์กับประเทศต่างๆเพื่อร่วมมือด้านวัฒนธรรมคือเหตุการณ์วัฒนธรรมที่โดดเด่นของเวียดนามในปี ๒๐๑๓ ที่ผ่านมา ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมเวียดนามที่ก้าวหน้าและมีเอกลักษณ์กำลังผสมผสานเข้ากับโลกอย่างกลมกลืน

เหตุการณ์วัฒนธรรมที่โดดเด่นของเวียดนามปี ๒๐๑๓ - ảnh 1
การร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อภาคใต้

เหตุการณ์วัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดคือ ในการประชุมขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกครั้งที่ ๘  ณ สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๐๑๓ที่ผ่านมาได้มีมติประกาศยกย่องศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อภาคใต้เวียดนามเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โลกเล็งเห็นุุถึงคุณค่าของศิลปะแขนงนี้และพลังแห่งความเป็นอมตะของวัฒนธรรมพื้นเมืองเวียดนามที่ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมโลกอย่างกลมกลืน เหตุผลที่เดิ่นกาต่ายตื่อของเวียดนามได้รับการยกย่องเนื่องจากสามารถตอบสนองหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกได้แก่ ได้รับการเผยแพร่จากรุ่นสู่รุ่นผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนหรือการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการใน ๒๑ จังหวัดภาคใต้ มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชนเผ่าอื่นๆที่สะท้อนการให้ความเคารพและการผสมผสานระหว่างชนเผ่าต่างๆ   นายเหงวียนแทงเซิน รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศและหัวหน้าคณะกรรมการยูเนสโกเวียดนามเห็นว่า  “ นี่เป็นความปลื้มปิติยินดีไม่เฉพาะแต่ของชาวจังหวัดภาคใต้ ๒๑ แห่งเท่านั้น หากยังของประชาชนทั้งประเทศและชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจและยกย่องที่มาของศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อและผลงานที่เป็นอมตะของศิลปะแขนงนี้ที่ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาจากศิลปินอาวุโสและนักดนตรีรุ่นแล้วรุ่นเล่ามาตราบเท่าทุกวันนี้

เหตุการณ์ที่ยืนยันชื่อเสียงของเวียดนามบนเวทีภูมิภาคและโลกในด้านการบริหารและอนุรักษ์มรดกโลกคือ เวียดนามได้เป็นกรรมการคณะกรรมการมรดกโลกขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๓  ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่น่ายินดีเพราะนับตั้งแต่นี้ไปเวียดนามมีสิทธิ์โหวตการคัดเลือกมรดกวัฒนธรรมของโลก อีกทั้งมีเสียงพูดที่มีน้ำหนักมากขึ้นในการปกป้องวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนในการโหวตรับรองวัฒนธรรมของเวียดนามจากองค์การยูเนสโก ศ.โงดึ๊กถิ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมเวียดนามเปิดเผยว่า  “ เราจะเสนอรับรองมรดกอีกหลายรายการของเราให้เป็นมรดกระดับชาติและโลกต่อไป  แต่เราก็ต้องปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับมรดกให้มีความสมบูรณ์เพื่อเผยแพร่สู่ประชาชนทุกคน  การที่เวียดนามเป็นกรรมการคณะกรรมการมรดกโลกนั้นแสดงให้เห็นว่าเราได้อนุรักษ์มรดกเป็นอย่างดีจนได้รับความไว้วางใจและมีสิทธิ์ลงคะแนนคัดเลือกในคณะกรรมการฯ ซึ่งเราต้องรู้จักใช้โอกาสนี้อย่างดีที่สุด

ส่วนเมื่อกลางเดือนสิงหาคม ๒๐๑๓ ได้มีเหตุการณ์วัฒนธรรมที่สำคัญต่อชีวิตทางวัฒนธรรมของประเทศในอนาคตนั่นคือ การประชุมสรุปผลการปฏิบัติตามมติการประชุมครั้งที่ ๕ เกี่ยวกับการสร้างสรรค์และพัฒนาวัฒนธรรมเวียดนามที่มีเอกลักษณ์ของชาติของคณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ ๘ ครบรอบ ๑๕ ปี  โดยที่ประชุมได้ประเมินรายละเอียดใน ๑๐ ด้านเช่น การสร้างคนเวียดนามในระยะใหม่ การสร้างสรรค์บรรยากาศแห่งวัฒนธรรม การพัฒนาภารกิจวัฒนธรรมและศิลปะ การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรม การพัฒนาภารกิจการศึกษาและฝึกอบรมกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอนุรักษ์ การส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย นโยบายด้านวัฒนธรรมต่อศาสนาและความเลื่อมไสศรัทธา การขยายความร่วมมือด้านวัฒนธรรมกับนานาประเทศ ตลอดจนการเสริมสร้างและปรับปรุงระเบียบวัฒนธรรมให้สมบูรณ์  ที่ประชุมได้กำหนดนโยบายใหม่ในด้านวัฒนธรรมคือ การสร้างสรรค์วัฒนธรรมเวียดนามที่ก้าวหน้าและมีเอกลักษณ์ของชาติ พัฒนาวัฒนธรรมในทุกด้านและหลากหลายแต่มีความเป็นเอกภาพบนเจตนารมณ์แห่งมนุษย์ ประชาธิปไตยและความก้าวหน้า พัฒนาวัฒนธรรมเข้าสู่ชีวิตสังคมและมีความเหนียวแน่นให้กลายเป็นพื้นฐานแห่งแนวคิดที่มั่นคงและเป็นพลังภายในที่เข้มแข็งเพื่อพัฒนาประเทศ

ปี ๒๐๑๓ ที่ผ่านมายังมีเหตุการณ์ทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจอีกมากมายเช่น สัปดาห์สามัคคีชนเผ่ากับมรดกวัฒนธรรมเวียดนามโดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและศิลปินอาวุโสรวม ๔๐๐ คนของ ๑๗ ชนเผ่าจาก ๑๓ จังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วม   งานเฟสตีวัลมรดกวัฒนธรรมกว่างนาม งานเฟตีวัลแข่งเรือแกงอของชนเผ่าเขมรภาคใต้เวียดนามและงานเฟตีวัลดอกไม้ดาลัต พร้อมๆกับกิจกรรมวัฒนธรรมและศิลปะในโอกาสการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเวียดนามกับประเทศต่างๆ  ทั้งนี้และทั้งนั้นได้วาดภาพกิจกรรมวัฒนธรรมอันหลากหลายและโดดเด่นของเวียดนามในปี ๒๐๑๓ ที่ผ่านมา ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด