COP24-โอกาสเพื่อแปรข้อตกลงปารีสให้เป็นรูปธรรม

(VOVWORLD) -3ปีผ่านไปหลังจากที่โลกได้บรรลุข้อตกลงปารีสว่าด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่ทั้งสหประชาชาติและประชาคมโลกต่างต้องประสบอุปสรรคมากมายเพื่อแปรคำมั่นต่างๆในเอกสารแห่งประวัติศาสตร์นี้ให้เป็นรูปธรรม ดังนั้นการประชุมว่าด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติหรือCOP24ที่กำลังมีขึ้น ณ ประเทศโปแลนด์ถูกคาดหวังว่านี่เป็นโอกาสที่ยากจะหาได้เพื่อให้สหประชาชาติและประเทศต่างๆร่วมเสร็จสิ้นการร่างระเบียบการที่เป็นมาตรฐานแนะนำการปฏิบัติข้อตกลงปารีสอย่างสมบูรณ์ แต่นี่ก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถบรรลุได้โดยง่าย
COP24-โอกาสเพื่อแปรข้อตกลงปารีสให้เป็นรูปธรรม - ảnh 1ปัญหาโลกร้อนได้ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติที่นับวันรุนแรงมากขึ้น 

เกือบ200ประเทศที่เป็นภาคีในข้อตกลงปารีส ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศปี2015มีเวลา2สัปดาห์(ตั้งแต่วันที่2-14ธันวาคม) ณ ประเทศโปแลนด์เพื่อร่วมหารือเสร็จสิ้นการร่างระเบียบการที่เป็นมาตรฐานสำหรับการปฏิบัติเพื่อควบคุมการเพิ่มอุณหภูมิของโลกให้ต่ำกว่า2องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรมและธำรงความพยายามจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิ1.5องศาเซลเซียส แต่สถานการณ์ของสภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนแปลงรวดเร็วกว่ามาตรการรับมือของมนุษย์

COP24 โอกาสที่หายาก

การประชุมสุดยอด COP24 เป็นหนึ่งในสองการประชุมสำคัญนัดสุดท้ายก่อนที่จะถึงปี2020ที่ข้อตกลงปารีสจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ แต่จนถึงขณะนี้ประเทศต่างๆก็ยังไม่มีท่าทีที่เป็นรูปธรรมอะไรมากนักเพื่อป้องกันผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว ซึ่งเห็นได้จากสภาวการณ์ที่สภาพภูมิอากาศที่แปรปวนในทั่วโลกนับวันรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ป่าที่รุนแรงในหลายพื้นที่ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก สภาพอากาศร้อนจัดด้วยอุณหภูมิสูงกว่า40องศา.พร้อมภัยแล้งในระยะยาวในหลายประเทศได้ส่งผลอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของมนุษย์และการผลิตเกษตร เหตุแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิและพายุที่นับวันมีความรุนแรงมากขึ้นตลอดจนปัญหาระดับน้ำทะเลหนุนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งนี้สาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาดังกล่าวคืออุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นโดยไม่สามารถควบคุมได้ โดยตามการพยากรณ์ขององค์การอุตุนิยมและสิ่งแวดล้อมโลกนั้น อุณหภูมิของโลกกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและอาจจะเพิ่มตั้งแต่3-5องศาเซลเซียสในศตวรรษนี้ ซึ่งสูงเกินเป้าหมายที่ต้องการจำกัดให้อยู่ในกรอบ1.5-2องศาที่ระบุในข้อตกลงปารีส  และจนถึงปี2030 ปริมาณการปล่อยก๊าซที่ส่งผลให้โลกร้อนขึ้นก็อาจจะสูงกว่า1หมื่น3พันตัน-1หมื่น5พันตันเมื่อเทียบกับอัตราที่ต้องจำกัด หมายความว่า โลกจะต้องพยายามมากกว่า3เท่าหรือ5เท่านับตั้งแต่นี้จนถึงปี2030เพื่อที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายในข้อตกลงปารีส

ในสภาวการณ์ดังกล่าว การประชุม COP24 ณ โปแลนด์จะมีหน้าที่สำคัญ2อย่างคือ กำหนดประมวลระเบียบการที่เป็นมาตรฐานอย่างละเอียดเพื่อแปรข้อตกลงปารีสให้เป็นรูปธรรมหลังจากที่สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงนี้ และหน้าที่อันดับสองคือต้องมีคำมั่นทางการเมืองที่ชัดเจนพร้อมแผนปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมร่วมถึงปี2020  แต่นี่มิใช่เรื่องที่ทุกฝ่ายสามารถร่วมมือกันได้ง่าย

ยากที่จะบรรลุเป้าหมาย

โดยปกติแล้วเมื่อมองว่ามีตัวแทนของทุกประเทศสมาชิกสหประชาชาติเข้าร่วมการประชุม COP24 ประชามติโลกต่างก็เชื่อมั่นต่อผลในเชิงบวกของการประชุม แต่อันที่จริงบุคคลที่มีบทบาทสำคัญที่เป็นผู้นำของหลายชาติกลับไม่เข้าร่วมโดยส่งตัวแทนในระดับที่ต่ำกว่าไปร่วมประชุม และไม่มีผู้นำสหรัฐเพราะประเทศนี้ประกาศถอนตัวเมื่อปีที่แล้ว ส่วนนายกฯฝรั่งเศสซึ่งเป็นนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในการประชุมนี้ก็ยกเลิกแผนการเข้าร่วมเพราะเหตุชุมนุมประท้วงในฝรั่งเศส ในขณะเดียวกัน ประเทศต่างๆในยุโรปล้วนส่งตัวแทนในระดับรัฐมนตรี แต่กลุ่มประเทศแถบทวีปแอฟริกาได้ส่งคณะผู้แทนซึ่งมีประธานาธิบดีของหลายประเทศเช่น ไนจีเรีย เบนิน เซเนกัล คองโก บอตสวานา และมอริเตเนีย เข้าร่วม

ก่อนการประชุม COP24 รัฐบาลชุดใหม่ของบราซิลได้ประกาศถอนตัวจากการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัด COP25 โดยประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศนี้ได้ประกาศจะเดินตามสหรัฐเพื่อถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีสเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับมาตรการปกป้องป่าอเมซอน ซึ่งอาจจะกลายเป็นกระแสโดมิโนในกลุ่มประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์มากที่สุดและประเทศผลิตน้ำมันต่างๆถ้าหากไม่สามารถเสร็จสิ้นประมวลระเบียบการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานของข้อตกลงปารีสในการประชุมครั้งนี้  ซึ่งยังไม่รวมถึงปัญหาความแตกแยกในกลุ่มประเทศยุโรป ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐที่ส่งผลต่อนโยบายในการรับมือปัญหานี้ โดยเฉพาะคำมั่นของข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับการที่ประเทศพัฒนาจะสนับสนุนเงิน1แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีตั้งแต่บัดนี้ถึงปี2020เพื่อช่วยปฏิบัตินโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศที่ยากจนไม่มีความคืบหน้าและตัวเลขที่เป็นรูปธรรมที่สุดในการระดมเงินจากกองทุน “1แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี”นั้นเพิ่งหยุดอยู่แค่1หมื่นล้านเท่านั้น

COP24 กำลังเริ่มทำการประชุม ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการต่างก็ตั้งความหวังว่าที่ประชุมครั้งนี้จะสามารถบรรลุความเห็นพ้องที่จำเป็นเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่ความหวังก็คือความหวัง ส่วนการบรรลุเป้าหมายก็ขึ้นอยู่กับว่าประเทศต่างๆจะสามารถมองข้ามผลประโยชน์เฉพาะชาติได้หรือไม่.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด