การควํ่าบาตรจะช่วยแก้ไขความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีได้หรือไม่

(VOVWORLD) - ในขณะที่ยังไม่มีสัญญาณว่า ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีจะคลี่คลายลง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีก็ได้ทำการทดลองยิงขีปนาวุธนำวิถีครั้งที่ 7 นับตั้งแต่ต้นปีมานี้ ซึ่งปัญหาที่เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองสหรัฐและสาธารณรัฐเกาหลี รวมถึงบรรดานักวิเคราะห์ระหว่างประเทศให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆในปัจจุบันคือ การแสวงหาจุดมุ่งหมายของเปียงยางในการทดลองยิงขีปนาวุธดังกล่าว โดยไม่สนใจต่อมาตรการควํ่าบาตรของประชาคมระหว่างประเทศ
การควํ่าบาตรจะช่วยแก้ไขความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีได้หรือไม่ - ảnh 1การทดลองยิงขีปนาวุธนำวิถีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี

สถานที่จัดการทดลองยิงขีปนาวุธห่างจากกรุงเปียงยางประมาณ 100 กิโลเมตร ซึ่งขีปนาวุธดังกล่าวบินไกลถึง 700 กิโลเมตรก่อนตกในเขตทะเลระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีกับญี่ปุ่น นี่เป็นการทดลองยิงขีปนาวุธครั้งที่ 7 นับตั้งแต่ต้นปีมานี้และเป็นการทดลองครั้งที่ 20 หลังจากที่นาย คิมจองอุน ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเมื่อปี 2012

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทดลองยิงขีปนาวุธของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี

หลังการทดลองยิงขีปนาวุธดังกล่าว  สาธารณรัฐเกาหลีได้ออกมาแสดงท่าที โดยเผยว่า นี่คือปฏิบัติการที่อันตรายและคุกคามต่อสันติภาพบนคาบสมุทรเกาหลีและโลก ส่วนสหรัฐได้เร่งทำการประชุมกับพันธมิตรในภูมิภาคเพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการรับมือ รวมทั้งมาตรการควํ่าบาตรใหม่ต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ซึ่งสหรัฐและสาธารณรัฐเกาหลีได้ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาเหมือนในครั้งก่อนๆคือ เรียกร้องให้สหประชาชาติและประชาคมระหว่างประเทศกดดันให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลียุติโครงการนิวเคลียร์และขีปนาวุธ  นอกจากนี้ การที่ทางการโซลได้สั่งให้กองทัพตั้งอยู่ในภาวะเตรียมพร้อมและการปรากฎตัวของทหารสหรัฐพร้อมเรือรบและเรือพิฆาตในภูมิภาคได้ทำให้บรรยากาศบนคาบสมุทรเกาหลีมีความเสี่ยงที่จะเกิดสงคราม

ทั้งนี้ ประชามติได้ตั้งคำถามว่า ทำไมสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลียังคงทำการทดลองยิงขีปนาวุธ โดยไม่สนใจต่อการเพิ่มแรงกดดันจากสหรัฐ  นั่นก็เพราะว่า เปียงยางอยากยืนยันถึงศักยภาพด้านนิวเคลียร์หรืออาจมีจุดมุ่งหมายอะไรบางอย่าง ทั้งนี้ สามารถเห็นได้ว่า การทดลองยิงขีปนาวุธมีขึ้นในช่วงเวลาจัดกิจกรรมที่สำคัญๆในภูมิภาค โดยการทดลองยิงขีปนาวุธเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ที่ผ่านมาประจวบเหมาะกับการจัดฟอรั่มความร่วมมือระหว่างประเทศ “ระเบียงและเส้นทาง” ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนที่มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศต่างๆเข้าร่วม นอกจากนี้ การทดลองยิงขีปนาวุธดังกล่าวถือเป็นบททดสอบนาย มุนแจอิล ประธานาธิบดีคนใหม่ของสาธารณรัฐเกาหลีที่มีจุดยืนในการแก้ไขความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีแตกต่างกับผู้นำสาธารณรัฐเกาหลีคนก่อนๆ โดยเฉพาะการทดลองยิงขีปนาวุธนี้มีขึ้นก่อนการพบปะระหว่างนาย โดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐกับนาย สีจิ้นผิง ประธานประเทศจีนเพื่อหารือเกี่ยวกับการเพิ่มแรงกดดันให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลียุติโครงการพัฒนาอาวุธ

ก่อนหน้านั้น เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่จีนได้แสดงการสนับสนุนสหรัฐในการแก้ไขปัญหาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีผ่านการอนุมัติร่างมติควํ่าบาตรสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ  ส่วนสหรัฐกำลังรอคอยทางการปักกิ่งใช้อิทธิพลเพื่อเพิ่มแรงกดดันต่อเปียงยาง เพราะฉะนั้น ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ วัตถุประสงค์ของการทดลองยิงขีปนาวุธครั้งล่าสุดของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีคือเพื่อแสดงให้เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาประเทศจีนและไม่ยอมปฏิบัติตามการชี้นำของทางการปักกิ่ง และเป็นการยืนหยัดแนวทางพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ถึงแม้จะถูกควํ่าบาตรหนักแค่ไหนก็ตาม ตลอดจนเป็นการสร้างความได้เปรียบในการสนทนาถ้าหากการเจรจา 6 ฝ่ายได้รับการจัดขึ้น

การควํ่าบาตรจะช่วยแก้ไขความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีได้หรือไม่

แน่นอนว่า การทดลองยิงขีปนาวุธของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีได้ทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคตึงเครียดมากขึ้นและทำลายความพยายามผลักดันการปลอดนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี ส่วนการดำเนินมาตรการควํ่าบาตรและโดดเดี่ยวเปียงยางในตลอด 5 ปีที่ผ่านมาก็ไม่ได้เกิดประสิทธิผล แถมยังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายต่างๆเลวร้ายลงจนนำไปสู่การแข่งขันด้านอาวุธในภูมิภาค

จนถึงขณะนี้ บรรดาผู้สังเกตการณ์ได้เผยว่า ประชาคมระหว่างประเทศต้องแสวงหามาตรการแก้ไขวิกฤตด้านนิวเคลียร์ที่นับวันรุนแรงมากขึ้นในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งถ้าหากยังคงไม่มีท่าทีประนีประนอมจากฝ่ายต่างๆในปัจจุบัน ก็จะทำให้ยากที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งเมื่อฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องไม่ยอมประนีประนอมและไม่มีเสียงพูดเดียวกันเพื่อกลับมานั่งเจรจา สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีก็จะยังคงเผชิญกับภาวะมรสุมต่อไป.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด