การเปลี่ยนแปลงในภาคชนบทหลัง10ปีปฏิบัติมติที่26ของคณะกรรมการกลางพรรค

(VOVWORLD) -วันที่24กรกฎาคม ณ กรุงฮานอย จะมีการจัดการประชุมสรุป10ปีการปฏิบัติมติที่26ของคณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่10เกี่ยวกับการเกษตร เกษตรกรและชนบท โดยในตลอด10ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจชนบทได้มีการเปลี่ยนแปลงที่น่ายินดีตามแนวทางเพิ่มสัดส่วนอุตสาหกรรม การบริการและแขนงอาชีพ 

การเปลี่ยนแปลงในภาคชนบทหลัง10ปีปฏิบัติมติที่26ของคณะกรรมการกลางพรรค - ảnh 1ภายหลัง10ปีการปฏิบัติมติที่26 ภาคชนบทได้มีการเปลี่ยนแปลง 

การเกษตร เกษตรกรและชนบทมีบทบาทเชิงยุทธศาสตร์ในภารกิจการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย การสร้างสรรค์และปกป้องปิตุภูมิ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานและพลังที่สำคัญเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมอย่างยั่งยืนและรักษาเสถียรภาพทางการเมือง ดังนั้น พรรคและรัฐให้ความสนใจต่อทุกปัญหาด้านการเกษตร เกษตรกรและชนบทเพื่อมีมาตรการที่พร้อมเพรียงและควบคู่กับการผลักดันการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย

ชนบทมีการเปลี่ยนแปลง

  ในรอบ10ปีที่ผ่านมา การพัฒนาหน่วยงานอุตสาหกรรมเพื่อบริการภาคการเกษตรและชนบทได้มีส่วนร่วมผลักดันกระบวนการพัฒนาอุตสาหหกรรมการเกษตรและชนบทที่ทันสมัย ซึ่งในนั้น นโยบายดึงดูดการลงทุนและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรได้เน้นถึงแขนงอาชีพที่มีจุดแข็ง  อุตสาหกรรมการแปรรูปด้านการเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำได้สร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการที่นับวันเพิ่มมากขึ้นของตลาดและผลิตภัณฑ์บางชนิดสามารถส่งออกไปยังตลาดต่างๆได้

สิ่งที่น่าสนใจคือ รูปแบบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์การเกษตรและวัตถุดิบการเกษตรที่ได้รับการค้ำประกันผ่านสัญญาทางเศรษฐกิจที่มั่นคงเป็นการนำร่องได้มีส่วนร่วมแก้ปัญหาผลผลิตดีแต่ราคาตกต่ำสร้างความเชื่อมโยงในการผลิต การประกอบธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหาร

โครงสร้างการเกษตรได้รับการปรับปรุงอย่างถูกทิศทาง  โดยลดสันส่วนการผลิตเกษตร เพิ่มส่วนผลิตด้านป่าไม้และสัตว์น้ำ    การผลิตการเกษตรเน้นผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตรที่มีคุณภาพสูง  ค้ำประกันความมั่นคงด้านอาหารและวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมการแปรรูปและส่งออก  โดยจังหวัดต่างๆได้ปฏิบัติโครงการการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและดึงดูดโครงการลงทุนในด้านการเกษตร

สร้างมาตรฐานตลาดผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหาร

  อย่างไรก็ดี การพัฒนาอุตสาหกรรม การบริการภาคการเกษตรยังไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างพร้อมเพรียงในเขตต่างๆ   การดึงดูดสถานประกอบการให้เข้ามาลงทุนในด้านการเกษตรตามห่วงโซ่ใหม่มีเพียงในขอบเขตน้อย ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ตอบสนองความต้องการของตลาดยังมีไม่มากนัก  โครงสร้างพื้นฐานยังไม่ตอบสนองความต้องการของการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

ดังนั้น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชนบท เมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลได้เปิดโครงการ “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์”เพื่อผลักดันการผลิตผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่นเพื่อมุ่งสู่การยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร นาย เหงวียนมิงเตี๊ยน อธิบดีและปลัดสำนักงานการประสานงานการพัฒนาชนบทใหม่ส่วนกลางได้เผยว่า “เนื้อหาหลักคือเน้นช่วยเหลือองค์การเศรษฐกิจในการเพิ่มทักษะความสามารถในการเข้าถึงตลาดตามห่วงโซ่การเชื่อมโยงการผลิตเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่นในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ในเวลาที่ผ่านมา พวกเราได้ลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคมและการแลกเปลี่ยนทางการค้า จากเงื่อนไขดังกล่าว ผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่นของแต่ละตำบลและอำเภอจะเข้าถึงตลาดด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าและมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจชนบท”

นอกจากนั้น การเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าในการผลิตการเกษตรก็เป็นแนวทางที่ต้องได้รับการผลักดัน  ดอกเตอร์ เลวันแบ่ง อดีตหัวหน้าสถาบันข้าวเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้เผยว่า  “ในกระบวนการส่งเสริมการค้า สถานประกอบการต้องศึกษาดูความต้องการของตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและภูมิภาคตะวันออกกลางเพื่อให้รู้ว่า  ต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอะไรและอีกอย่างคือต้องส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตตามความต้องการของสถานประกอบการเพื่อค้ำประกันทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ”

ภายหลัง10ปีการปฏิบัติมติที่26ของคณะกรรมการพรรค ท้องถิ่นต่างๆได้ประเมินว่า นี่เป็นหนึ่งในมติของส่วนกลางที่ได้รับการปฏิบัติในชีวิตจริงอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ในเวลาที่จะถึง การอัพเดทและพิจารณาปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ในการปฏิบัติมติที่26จะได้รับการปรับปรุงเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายพัฒนาการเกษตร เกษตรกรและชนบทเพื่อร่วมสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ-สังคมและการเมืองที่มั่นคงให้แก่ภารกิจการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด