ก้าวเดินที่สำคัญในทะเลตะวันออกในปี 2017

(VOVWORLD) - ปี 2017 เป็นปีที่สถานการณ์ทะเลตะวันออกมีความคืบหน้าที่สำคัญเมื่อ 10  ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนอนุมัติร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีอย่างเป็นทางการ ภายหลังเจรจามาเป็นเวลาหลายปี ถึงแม้เส้นทางที่ต้องเดินในเวลาข้างหน้ายังคงเต็มไปด้วยความท้าทาย แต่นี่ถือเป็นหนึ่งในก้าวเดินที่สำคัญ ช่วยควบคุมความตึงเครียดที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการพิพาทในทะเลตะวันออก
ก้าวเดินที่สำคัญในทะเลตะวันออกในปี 2017 - ảnh 1การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 50 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ (vietnamplus) 

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมปี 2017 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ รัฐมนตรีต่างประเทศของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนได้ลงนามให้สัตยาบันร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีอย่างเป็นทางการเพื่อริเริ่มกระบวนการเจรจาซีโอซีที่เป็นรูปธรรม มีผลบังคับใช้และมีความผูกมัดทางนิตินัย มีส่วนร่วมธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ร่างกรอบซีโอซีถือเป็นการสะท้อนหลักการพื้นฐานของร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันโดยย่อ โดยระบุถึงกรอบทางนิตินัยอย่างละเอียด ตลอดจนการปฏิบัติต่อกันของประเทศต่างๆในภูมิภาค

ผลงานในเบื้องต้นของการสร้างความไว้วางใจ

ร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกได้ถูกกล่าวถึงตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990แต่อาเซียนและจีนได้เริ่มหารือกันเมื่อปี 2002 ในสภาวการณ์ที่ความตึงเครียดที่เกี่ยวข้องถึงการพิพาทดินแดนในเขตทะเลนี้เพิ่มขึ้น แต่ในหลายปีที่ผ่านมา กระบวนการเจรจาซีโอซีไม่สามารถดำเนินอย่างต่อเนื่องถึงแม้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้พยายามเป็นอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากความแตกต่างของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ตั้งแต่ปี 2013 จีนได้เห็นพ้องที่จะเริ่มกระบวนการทาบทามความคิดเห็นอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกัน และภายหลังเกือบ 4 ปีที่ทำการเจรจา อาเซียนและจีนก็ได้เสร็จสิ้นร่างซีโอซีในกลางปี 2017 ถึงแม้ต้องใช้เวลาเพื่อให้ซีโอซีกลายเป็นร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันที่สมบูรณ์และสามารถปฏิบัติได้จริงแต่การบรรลุกรอบซีโอซีก็ถือเป็นก้าวเดินที่มีความหมายสำคัญ แสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจกันระหว่างอาเซียนกับจีนที่เริ่มออกผลในเบื้องต้น ดร. เลดิ่งติ๋ง รองหัวหน้าสถาบันวิจัยตะวันออกสังกัดสถาบันการทูตได้แสดงความเห็นว่า“ซีโอซีไม่ใช่กลไกแก้ไขการพิพาท แต่ซีโอซีสร้างความไว้วางใจและกลไกการสนทนาระหว่างทุกฝ่าย ตลอดจนเป็นแนวทางให้แก่หลักปฏิบัติต่อกันเพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งการพิพาท เช่นหลักการใช้มาตรการที่สันติ การสนทนา ไม่ใช้อาวุธหรือข่มขู่ที่จะใช้อาวุธ หรือหลักการเกี่ยวกับเสรีภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคงในการเดินเรือ เป็นต้น”

สามารถเห็นได้ว่า ในตลอด 1 ปีที่ผ่านมา หลังจากศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮกมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคดีฟิลิปปินส์ฟ้องร้องจีนกรณีการพิพาทในทะเลตะวันออก เขตทะเลนี้ยังได้กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากทั้งประเทศนอกภูมิภาคด้วย ตลอดจนเป็นหัวข้อสำคัญในระเบียบวาระการประชุมของฟอรั่มและกลไกความร่วมมือพหุภาคี เช่นจี7และเอเปก เป็นต้น ดังนั้น การที่ฝ่ายต่างๆได้บรรลุร่างกรอบซีโอซีจึงได้รับการชื่นชมจากประชามติ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำเวียดนาม Giles Lever ได้แสดงความเห็นว่า “ในเวลาที่ผ่านมา พวกเราได้เล็งเห็นถึงความพยายามเป็นอย่างมากของทุกฝ่ายเพื่อจัดทำซีโอซีและถึงแม้ยังมีหลายปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ แต่พวกเราก็เล็งเห็นถึงศักยภาพและความมั่นใจเพื่อดำเนินการจัดทำร่างระเบียบการนี้ต่อไป ซีโอซีสามารถกลายเป็นเครื่องมือที่มีความหมายสำคัญและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้พวกเราสามารถบริหารกิจกรรมในทะเลตะวันออก ตลอดจนค้ำประกันบรรยากาศที่สันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค”

ก้าวเดินที่สำคัญในทะเลตะวันออกในปี 2017 - ảnh 2ทหารเรือเวียดนามปกป้องหลักพรมแดนบนเกาะเจื่องซาใหญ่ (vietnamplus)

ต้องพยายามมากขึ้นเพื่อความสงบของทะเลตะวันออก

การอนุมัติร่างกรอบซีโอซีคือสัญญาณที่น่ายินดีของความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีน อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนต่อปัญหาที่ซับซ้อนและอ่อนไหวในภูมิภาคในหลายปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือจุดเริ่มต้นเท่านั้น ความท้าทายแรกที่อาเซียนต้องเผชิญในกระบวนการเจรจาซีโอซีคือทุกฝ่ายต้องมีทัศนะเดียวกันเกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออกและการบังคับใช้ทางนิตินับของเอกสารฉบับนี้ ซึ่งต้องการความพยายามและเจตนาดีของทุกฝ่าย ดร. เลดิ่งติ๋ง ได้แสดงความเห็นว่า “กฎหมายสากลมีบทบาทสำคัญต่อภูมิภาคนี้แต่ยังขาดข้อตกลงและคำมั่นของประเทศต่างๆในการปฏิบัติข้อกำหนดของกฎหมายสากลเพื่อค้ำประกันความเป็นระเบียบเรียบร้อย สันติภาพและเสถียรภาพ อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 กำหนดกลไกแก้ไขการพิพาท ซึ่งซีโอซีได้เนื้อหาในลักษณะดังกล่าว แต่ผมคิดว่า อาเซียนมีความปรารถนาว่า การเจรจาซีโอซีต้องยิ่งเร็วยิ่งดี เนื้อหาของซีโอซีต้องจริงจังและมีคุณค่าทางนิตินัย”

คำถามเกี่ยวกับข้อผูกมัดทางนิตินัยของซีโอซีจะเป็นประเด็นหลักในกระบวนการเจรจารหว่างอาเซียนกับจีนในเวลาที่จะถึงอย่างแน่นอน แต่ด้วยพลังการพัฒนาและอิทธิพลของอาเซียนใน 5 ทศวรรษที่ผ่านมา บวกกับกลไกภูมิภาคที่กำลังมีอยู่  หวังว่า อาเซียนและจีนจะบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับระเบียบการที่สมบูรณ์ มีส่วนร่วมกำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกในเวลาที่จะถึง ด้วยเป้าหมายสูงสุดคือสันติภาพ เสถียรภาพ ความร่วมมือและร่วมกันพัฒนาให้แก่ทุกฝ่าย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด