ความตึงเครียดระหว่างเวเนซุเอลากับสหรัฐและบางประเทศในแถบลาตินอเมริกา

(VOVWORLD) - ในหลายวันมานี้ ความสัมพันธ์ระหว่างเวเนซุเอลากับสหรัฐและบางประเทศในแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะเปรูมีความตึงเครียดมากขึ้นเมื่อฝ่ายต่างๆได้ตำหนิและข่มขู่ที่จะใช้ปฏิบัติการทางทหารหลังการเลือกตั้งรัฐสภาร่างรัฐธรรมนูญเวเนซุเอลาที่ทำหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 1999  หรือ ANC เพื่อช่วยให้เวเนซุเอลาแก้ไขวิกฤตในปัจจุบัน แต่ความขัดแย้งใหม่ๆที่เกิดขึ้นได้สร้างอุปสรรคให้แก่เวเนซุเอลาในการแก้ไขวิกฤตทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนเวเนซุเอลาได้ตั้งความหวังว่า ทางการของนาย นิโกลัส มาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อฟื้นฟูสถานะของเวเนซุเอลาที่เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอิทธิพลทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจมากที่สุดในภูมิภาคอเมริกาใต้
ความตึงเครียดระหว่างเวเนซุเอลากับสหรัฐและบางประเทศในแถบลาตินอเมริกา - ảnh 1นาย นิโกลัส มาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา  (Photo: AFP) 

ถึงแม้ถูกคัดค้านจากฝ่ายต่อต้านในเวเนซุเอเลา แต่นาย นิโกลัส มาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา ได้ประกาศความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ANC เพราะมีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกว่า 8 ล้านคนออกไปใช้สิทธิ์ หรือ คิดเป็นร้อยละ 41.5 สูงกว่าที่กำหนดคือร้อยละ 15 ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นมาตรการเดียวเพื่อฟื้นฟูความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคมหลังเกิดการชุมนุนประท้วงของฝ่ายต่อต้านในตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้การเมืองเวเนซุเอลาต้องตกอยู่ในภาวะชงักงัน

  ความแตกแยกภายในคณะผู้บริหารประเทศ

ในขณะที่นาย นิโกลัส มาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา ได้ประกาศชัยชนะในการเลือกตั้งดังกล่าว ฝ่ายต่อต้านได้ประกาศไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งเพราะเห็นว่า มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งแค่ร้อยละ 12 ที่ออกไปใช้สิทธิ์ โดยนาย Henrique Capriles ผู้ว่าการรัฐมีรันดาและแกนนำฝ่ายต่อต้านได้เรียกร้องให้กลุ่มผู้สนับสนุนทำการชุมนุมประท้วง ก่อนหน้านั้น ฝ่ายต่อต้านก็ไม่ได้เสนอชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเพื่อแสดงท่าทีคัดค้าน

ในทางเป็นจริง วิกฤตเศรษฐกิจในเวเนซุเอลาได้ทำให้ความตึงเครียดด้านการเมืองระหว่างฝ่ายต่างๆในประเทศนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากการเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอิทธิพลด้านการเมืองและเศรษฐกิจมากที่สุดในภูมิภาคอเมริกาใต้ ปัจจุบัน เวเนซุเอลากำลังต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งรุนแรง โดยในช่วงปี 2013 – 2017 จีดีพีของเวเนซุเอลาได้ลดลงถึงร้อยละ 40 รายได้ประชาชาติของประเทศเวเนซุเอลาก็ลดลงถึงร้อยละ 51  เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่สูงถึง 720% นาย นิโกลัส มาดูโร ได้มีมติปรับขึ้นเงินเดือนขั้นตํ่า 3 ครั้งในปี 2017 แต่สิ่งนี้ยิ่งทำให้ค่าเงินโบลีวาร์ของเวเนซุเอลาอ่อนค่าลงถึง 1000% ทำให้ประชากรเวเนซุเอลาร้อยละ 82 ต้องเผชิญกับปัญหาความอดอยากยากจน ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจเวเนซุเอลากำลังอยู่ในภาวะซบเซาและยากที่จะสามารถฟื้นตัวได้ในเวลาอันสั้น

ในขณะเดียวกัน เมื่อเดือนมกราคมปี 2016 นับเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายต่อต้านได้เสียงข้างมากในรัฐสภาเวเนซุเอลา ซึ่งทำให้วิกฤตการเมืองในประเทศนี้ทวีความรุนแรงมากขึ้น และสิ่งที่น่าวิตกกังวลก็คือ ฝ่ายต่อต้านได้ส่งเสริมการใช้ความรุนแรงในตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คน

ความตึงเครียดในความสัมพันธ์กับบางประเทศลาตินอเมริกา

ความขัดแย้งด้านการเมืองในเวเนซุเอลาได้บานปลายจนทำให้ประเทศต่างๆในภูมิภาคต้องแสดงท่าทีต่างๆ โดยในการประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตในเวเนซุเอลาที่รัฐบาลเปรูจัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจาก 17 ประเทศลาตินอเมริกาได้ออกแถลงการณ์ลิมาเพื่อแสดงถึงการไม่รับรองรัฐสภาร่างรัฐธรรมนูญของเวเนซุเอลา ในวันเดียวกัน นาย Ricardo Luna รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเปรูได้ปฏิเสธเข้าร่วมการประชุมสูงสุดประชาคมประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียนหรือCELAC ที่จัดขึ้นตามข้อเสนอของนาย นิโกลัส มาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซุเอลาเมื่อเร็วๆนี้  ส่วนทางฝ่ายเวเนซุเอลาได้แสดงท่าทีต่างๆต่อสถานการณ์ดังกล่าว โดยนาย Saul Ortega สมาชิก ANC ได้ปฏิเสธแถลงการณ์ลิมา ซึ่งถือเป็นการแทกแซงกิจการภายในของเวเนซุเอลา พร้อมทั้งตำหนิกลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง หรือ MERCOSUR ที่ได้ระงับสมาชิกภาพของเวเนซุเอลา ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างเวเนซุเอลากับเปรูมีความตึงเครียดมากขึ้นหลังจากที่เปรูตัดสินใจเนรเทศเอกอัครราชทูตเวเนซุเอลาประจำกรุงลิมา

 ประท้วงความเสี่ยงจากการแทรกแซงของสหรัฐ

ในขณะที่ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับบางประเทศลาตินอเมริกายังไม่ได้รับการแก้ไข เวเนซุเอลาก็ต้องรับมือกับท่าทีของสหรัฐหลังจากที่เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม นาย โดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐได้ประกาศว่า สหรัฐอาจใช้มาตรการต่างๆ รวมถึงมาตรการทางทหารถ้าหากจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาของเวเนซุเอลา ส่วนนาย Jorge Arreaza รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวเนซุเอลาได้วิเคราะห์ว่า คำประกาศดังกล่าวของนาย โดนัล ทรัมป์ มีวัตถุประสงค์เพื่อชักชวนให้ประเทศต่างๆในแถบลาตินอเมริกาและแคริบเบียนเข้าร่วมการปะทะที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ เสถียรภาพ เอกราช บูรณภาพแห่งดินแดน อธิปไตยและอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของประชาชนเวเนซุเอลา ส่วนประชาชนเวเนซุเอลาได้เผยว่า คำประกาศของนาย โดนัล ทรัมป์  ถือเป็นภัยคุกคามต่ออธิปไตยของประเทศ

 แผนการใช้ปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในภูมิภาคได้ทำให้ประเทศต่างๆในแถบลาตินอเมริกามีความวิตกกังวล รวมถึงประเทศที่เคยตำหนินาย นิโกลัส มาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา โดยเปรูได้ยืนยันว่า คำประกาศดังกล่าวของประธานาธิบดีสหรัฐเดินสวนทางกับหลักการของสหประชาชาติ ส่วนนาย Luis Videgaray รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเม็กซิโกได้เผยว่า ปฏิบัติการทางทหารไม่สามารถแก้ไขวิกฤตในเวเนซุเอลาได้ ส่วนรัฐบาลคิวบา โบลิเวีย  เอกวาดอร์ นิการากัวและประเทศต่างในเขตแคริบเบียนได้ยืนยันว่า จะอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กับเวเนซุเอลา

  เวเนซุเอลากำลังแสวงหามาตรการต่างๆเพื่อฟันฝ่าวิกฤตด้านการเมืองและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งความขัดแย้งภายในประเทศและระหว่างเวเนซุเอลากับประเทศเพื่อนบ้านกำลังสร้างอุปสรรคในการแก้ไขวิกฤตของเวเนซุเอลา ส่วนประชาชนเวเนซุเอลาตั้งความหวังว่า ทางการของนาย นิโกลัส มาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อทำให้เวเนซุเอลาสามารถฟื้นฟูสถานะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอิทธิพลทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจมากที่สุดในภูมิภาคอเมริกาใต้.

       

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด