ความท้าทายในการต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก

(VOVworld) –  หนึ่งในความผันผวนที่ส่งผลกระทบต่อหลายพื้นที่ในทั่วโลกในปี๒๐๑๔คือการปรากฎตัวของกลุ่มรัฐอิสลามหรือกลุ่มไอเอสโดยในเวลาอันสั้น กลุ่มไอเอสได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่รุนแรง และเหี้ยมโหดป่าเถื่อนอย่างเปิดเผย แม้ว่า พันธมิตรนานาชาติต่อต้านกลุ่มไอเอสโดยสหรัฐเป็นหัวหน้าได้ใช้ความพยายามเป็นอย่างมากเพื่อรับมือกลุ่มนี้ แต่การต่อต้านกลุ่มไอเอสจะต้องเผชิญกับความท้าทายนานัปการในปี๒๐๑๕และปีต่อๆไป

(VOVworld) –  หนึ่งในความผันผวนที่ส่งผลกระทบต่อหลายพื้นที่ในทั่วโลกในปี๒๐๑๔คือการปรากฎตัวของกลุ่มรัฐอิสลามหรือกลุ่มไอเอสโดยในเวลาอันสั้น กลุ่มไอเอสได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่รุนแรง และเหี้ยมโหดป่าเถื่อนอย่างเปิดเผย แม้ว่า พันธมิตรนานาชาติต่อต้านกลุ่มไอเอสโดยสหรัฐเป็นหัวหน้าได้ใช้ความพยายามเป็นอย่างมากเพื่อรับมือกลุ่มนี้ แต่การต่อต้านกลุ่มไอเอสจะต้องเผชิญกับความท้าทายนานัปการในปี๒๐๑๕และปีต่อๆไป

ความท้าทายในการต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก - ảnh 1
นักรบสตรีของกลุ่มไอเอส(Photo: Reuters )

จากชื่อเดิมคือรัฐอิสลามอิรักและเลเวนต์หรือไอเอสไอแอล กลุ่มไอเอสได้รับการจัดตั้งเมื่อเดือนเมษายนปี๒๐๑๔โดยมีจุดเริ่มต้นจากกลุ่มอัลกออีดะในอิรักซึ่งไม่เหมือนกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆในซีเรีย กลุ่มไอเอสมีเป้าหมายคือก่อตั้งราชอาณาจักรอิสลามที่มีพื้นที่ทอดยาวจากซีเรียถึงอิรัก ความเชื่อมโยงด้านระบบแนวคิด รู้จักประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีทหารและมีแหล่งการเงินที่มั่งคั่งทำให้กลุ่มไอเอสแซงหน้ากลุ่มก่อการร้ายต่างๆเพื่อกลายเป็นปัจจัยท้าทายของระเบียบภูมิศาสตร์การเมืองใน“กะทะเพลิง”ของโลกและสร้างความวิตกกังวลทั่วโลก

ปลูกปั่นสงครามครูเสดทั่วโลก

อาจยืนยันว่า ในเวลาอันสั้น กลุ่มไอเอสได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่รุนแรง และเหี้ยมโหดป่าเถื่อนเพื่อจงใจต่อต้านทุกประเทศอย่างเปิดเผย จากจำนวนนักรบประมาณ๑ถึง๓หมื่นคนในเบื้องต้นจนถึงปัจจุบันกลุ่มนี้มีนักรบประมาณ๒แสนคนโดยเป็นนับรบต่างชาติจากทุกทวีปร้อยละ๑๐ ดังนั้น กลุ่มนี้สามารถโจมตีก่อการร้ายได้ในทุกพื้นที่ นอกจากผลักดันการโจมตียึดครองอาณาเขตในตะวันออกกลางแล้ว กลุ่มไอเอสยังทำให้ทั่วโลกหวาดผวาด้วยการสังหารตัวประกัน รวมทั้งประชาชนผู้บริสุทธ์และชาวต่างชาติอย่างเหี้ยมโหดป่าเถื่อนเพื่อป้องปรามรัฐบาลและผู้ที่ต่อต้านกองกำลังนี้

ควบคู่กับการทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียขวัญด้วยการแพร่คลิปวิดีโอสังหารตัวประกันที่เหี้ยมโหดกลุ่มไอเอสยังเข้าร่วมองค์กรสงครามครูเสดหัวรุนแรงอื่นๆและเข้าร่วมกิจกรรมของอัลกออีดะเพื่อปลูกปั่นเปลวเพลิงแห่งสงครามครูเสดทั่วโลก

ความพยายามเบื้องต้นของการต่อต้านการก่อการร้าย

ประชาคมระหว่างประเทศได้เริ่มทำการตอบโต้กลุ่มไอเอสที่กำลังพัฒนาและมีปฏิบัติการที่เหี้ยมโหดป่าเถื่อนโดยเมื่อเดือนสิงหาคมปี๒๐๑๔ได้มีการจัดตั้งพันธมิตรนานาชาติต่อต้านกลุ่มไอเอสที่สหรัฐเป็นหัวหน้าโดยมีกว่า๔๐ประเทศเข้าร่วมและก็มีกว่า๒๐ประเทศที่ได้มีปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมในอิรักและซีเรียเพื่อขัดขวางการพัฒนาของไอเอสโดยการโจมตีทางอากาศของสหรัฐและพันธมิตรสามารถขัดขวางการเคลื่อนไหวของกลุ่มไอเอสได้ส่วนหนึ่งซึ่งตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี๒๐๑๔ กลุ่มไอเอสไม่สามารถยึดครองเมืองต่างๆในอิรักเพิ่มได้อีกแถมยังถูกผลักดันให้ออกจากหลายพื้นที่ทางภาคเหนือ  ส่วนที่ประเทศซีเรีย โครงสร้างพื้นฐานของกลุ่มไอเอสก็ถูกทำลายอย่างหนัก นอกจากนี้ ประชาคมระหว่างประเทศกำลังดำเนินมาตรการต่างๆเพื่อปิดล้อมการสนับสนุนทางการเงิน อาวุธและกองกำลังให้แก่ไอเอส

ปัญหายากที่จะถอนรากถอนโคน

แต่ก็ต้องยอมรับว่า แม้ว่าสหรัฐจะสามารถรวบรวม๖๐ประเทศเข้าร่วมพันธมิตรนานาชาติต่อต้านกลุ่มไอเอสได้แต่จนถึงปัจจุบัน ยุทธนาการบดขยี้กลุ่มไอเอสยังไม่เกิดประสิทธิภาพอย่างจริงจังเพราะการที่พันธมิตรโจมตีทางอากาศได้ช่วยทำลายบางเป้าหมายและกดดันให้กลุ่มไอเอสถอยร่นเท่านั้นและดูเหมือนว่า การโจมตีทางอากาศของพันธมิตรยิ่งทำให้กลุ่มไอเอสมีความเหี้ยมโหดรุนแรงและเคลื่อนไหวอย่างลับๆในชุมชนมากขึ้นเพื่อลดความสูญเสีย อีกประเด็นที่ยากทำความเข้าใจคือ ถึงแม้กลุ่มไอเอสจะมีการกระทำที่เหี้ยมโหดก็ตามแต่ก็กลับได้รับการสนับสนุนจากองค์กรและบุคคลหัวรุนแรงอย่างกว้างขวางในโลกซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อรัฐบาลประเทศต่างๆในทุกทวีป องค์กรสงครามครูเสดใหญ่แทบทุกองค์กรในตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียใต้ ตะวันออกไกลและกลุ่มหัวรุนแรงต่างสนับสนุนกองกำลังนี้  เช่น เหตุกราดยิงที่สำนักงานของนิตยสารรายสัปดาห์ชาร์ลี เอบโดในกรุงปารีสเมื่อวันที่๗ที่ผ่านมาซึ่งแสดงให้เห็นว่า โลกยังไม่มีภูมิต้านทานต่อการโจมตีก่อการร้าย

สิ่งที่มองเห็นได้ง่ายคือการต่อต้านกลุ่มไอเอสยังไม่ไปสู่ผลสำเร็จสุดท้ายเพราะฝ่ายต่างๆยังคงมีความขัดแย้ง และความระมัดระวังและหาทุกวิถีทางเพื่อให้หุ้นส่วนไม่ได้รับประโยชน์จากความล้มเหลวของกลุ่มไอเอสโดยจนถึงปัจจุบัน ซีเรียและอิหร่านสองประเทศที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในตะวันออกกลางยังไม่เข้าร่วมพันธมิตรนานาชาติ ส่วนรัสเซียก็ไม่สนใจร่วมมือกับสหรัฐในการต่อต้านกลุ่มไอเอส แม้จะไม่กีดขวางการต่อต้านกลุ่มไอเอสแต่ประเทศเหล่านี้ต่างก็มีเหตุผลเฉพาะของตนที่จะไม่เข้าร่วมซึ่งสำหรับรัสเซียคือปัญหายูเครน อิหร่านคือปัญหาด้านนิวเคลียร์ ส่วนซีเรียคือการไม่รับรองทางการซีเรีย  ความผันผวนในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า ถ้าหากพันธมิตรนานาชาติไม่ร่วมแรงร่วมใจ และฝ่ายต่างๆไม่เลิกเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวภัยก่อการร้ายก็จะยังคงคุกคามความมั่นคงโลกต่อไป./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด