ความท้าทายในการประชุมสุดยอดจี 20

(VOVWORLD) - วันที่ 28 มิถุนายน การประชุมสุดยอดกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาและเพิ่งเกิดใหม่ชั้นนำของโลกหรือจี 20 ได้มีขึ้น ณ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่นับวันมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์มากขึ้น เช่น การฟื้นตัวของลัทธิคุ้มครองการค้าในแนวโน้มการค้าเสรีที่กำลังพัฒนา ล้วนเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบไม่น้อยต่อผลการประชุม

การประชุมจี 20 มีขึ้นในระหว่างวันที่ 28-29 มิถุนายน โดยไม่เพียงแต่เป็นนิมิตหมายครบรอบ 20 ปีการก่อตั้งกลุ่มเท่านั้น หากยังมีขึ้นในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกกำลังต้องเผชิญความท้ายทายที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปีมานี้ โดยประเด็นร้อนระอุต่างๆที่ได้หยิบยกขึ้นมาหารือในการประชุมครั้งก่อน ณ ประเทศอาร์เจนตินาเมื่อปีที่แล้ว เช่น ความขัดแย้งทางการค้า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความตึงเครียดทวิภาคี สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ยังคงเป็นประเด็นหลักในการประชุมครั้งนี้

ร่วมหารือในปัญหาที่ร้อนระอุ

ด้วยเป้าหมายหลักคือ “การขยายตัวอย่างเข้มแข็ง ยั่งยืน ยุติธรรมและรอบด้าน” การประชุมครั้งนี้มี 4 นัด ประกอบด้วย “เศรษฐกิจโลก - การค้า – การลงทุน” “การพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจดิจิตอล” “สิ่งแวดล้อม พลังงานและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” และ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัญหางานทำ สตรี สาธารณสุข”

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ชี้ชัดว่า ความร่วมมือเพื่อธำรงและปรับปรุงโครงสร้างการค้าระหว่างประเทศอย่างเปิดเผยและเสรีคือความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในทุกยุคทุกสมัย โดยผู้นำทุกประเทศจะประเมินความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในขณะที่ธนาคารกลางต่างๆ กำลังปฏิบัติมาตรการลดความเข้มงวดต่อนโยบายการเงินและยืนยันอีกครั้งเกี่ยวกับการใช้นโยบายที่ธำรงการขยายตัวอย่างครอบคลุมและยั่งยืน ญี่ปุ่นจึงตั้งความหวังที่ผู้นำจี 20 จะเห็นพ้องบทบาทสำคัญของการค้าเสรีและความยุติธรรม

อีกประเด็นที่ประเทศเจ้าภาพญี่ปุ่นตั้งใจหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาหารือในการประชุมครั้งนี้คือ การกำหนดหลักการระหว่างประเทศเพื่อใช้ศักยภาพของเศรษฐกิจดิจิตอลและค้ำประกันการแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามชาติอย่างเสรีผ่านการจัดทำกลไกระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นรูปแบบการทำธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมในทั่วโลก และอาจกลายเป็นพลังขับเคลื่อนต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวไม่สามารถแยกออกจากการปฏิรูปองค์การการค้าโลกหรือ WTO ได้ ดังนั้นต้องปรับปรุงให้ WTO ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้นในฐานะองค์กรที่ปกป้องเสรีภาพและความยยุติธรรมในการค้าระหว่างประเทศ แต่บรรดาประเทศสมาชิกจี 20 ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการปฏิรูปนี้

ประเด็นหลักที่ 3 ที่ได้รับความสนใจในการประชุมครั้งนี้คือบทบาทสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมโลก โดยญี่ปุ่นมีความประสงค์ว่า จี 20 ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม

ความท้าทายต่างๆ

แม้ได้กลายเป็นหนึ่งในฟอรั่มระดับโลกที่สำคัญที่สุด แต่การประชุมจี 20 ได้แสดงให้เห็นว่า ยากที่จะบรรลุข้อตกลงที่เป็นก้าวกระโดด

ซึ่งก่อนอื่น สงครามด้านภาษีระหว่างสหรัฐกับจีนที่นับวันรุนแรงมากขึ้นได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการประชุม ส่วนองค์กรพหุภาคีต่างๆ เช่น สหประชาชาติและองค์การการค้าโลกก็ต้องเผชิญความท้าทายภายในกลุ่มที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น นโยบาย “America first” หรือ “ประเทศสหรัฐต้องมาก่อน” ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

นอกจากนั้น ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีจี 20 ต่างๆในปีนี้ ก็แสดงให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพ โดยมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้นำจี 20 จะไม่ให้คำมั่นเกี่ยวกับการต่อต้านลัทธิคุ้มครองการค้าเพราะก็เหมือนการประชุมครั้งก่อนที่มีขึ้น ณ ประเทศอาร์เจนตินาเมื่อปีที่แล้ว แน่นอนว่า สหรัฐจะปฏิเสธทุกคำมั่นในเรื่องดังกล่าว

สำหรับประเด็นอื่นๆ ก่อนการประชุมครั้งนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็ม มานูเอล มาครง ได้ประกาศว่า จะไม่ลงนามแถลงการณ์ร่วมของจี 20 ถ้าหากแถลงการณ์ร่วมไม่ระบุถึงการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างชัดเจน  คำประกาศดังกล่าวของประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้มีขึ้นหลังจากที่ร่างแถลงการณ์ร่วมของจี 20 ถูกเปิดเผยโดยไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการสนับสนุนข้อตกลงปารีสปี 2015อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ฝรั่งเศสจึงมีความกังวลว่า การประชุมจี 20 ครั้งนี้ก็จะไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหานี้เหมือนในการประชุมเมื่อปี2018

การประชุมสุดยอดจี 20 มีขึ้นในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับความท้าทายใหญ่ๆ ความแตกต่างและความขัดแย้งที่นับวันเพิ่มมากขึ้นระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่อผลงานของ “ฟอรั่มชั้นนำเพื่อความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ” นี้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด