ความสัมพันธ์สหรัฐ-จีน: ความขัดแย้งที่ยากจะแก้ไขได้

(VOVworld) – ความสัมพันธ์สหรัฐ-จีนกำลังทวีความตึงเครียดมากขึ้นเนื่องจากความขัดแย้ง เกี่ยวกับปัญหาในทะเลตะวันออกโดยในสภาวะการณ์ที่ทางการปักกิ่งกำลังปรับปรุง ก่อสร้างและเปลี่ยนแปลงสภาพของเกาะต่างๆในทะเลตะวันออก ทางการวอชิงตันจึงแสดงท่าทีที่ชัดเจนมากขึ้นผ่านการส่งสัญญาณที่แข็งกร้าว และเพิ่มขีดจำกัดระดับสีแดงในความสัมพันธ์กับทางการปักกิ่ง
(VOVworld) – ความสัมพันธ์สหรัฐ-จีนกำลังทวีความตึงเครียดมากขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาในทะเลตะวันออกโดยในสภาวะการณ์ที่ทางการปักกิ่งกำลังปรับปรุง ก่อสร้างและเปลี่ยนแปลงสภาพของเกาะต่างๆในทะเลตะวันออก ทางการวอชิงตันจึงแสดงท่าทีที่ชัดเจนมากขึ้นผ่านการส่งสัญญาณที่แข็งกร้าวและเพิ่มขีดจำกัดระดับสีแดงในความสัมพันธ์กับทางการปักกิ่ง
ความสัมพันธ์สหรัฐ-จีน: ความขัดแย้งที่ยากจะแก้ไขได้ - ảnh 1
นาย จอห์นแคร์รี พบปะกับนาย สีจิ้นผิง ประธานประเทศจีน (Reuters)
นับตั้งแต่ทางการวอชิงตันประกาศและเริ่มปฏิบัตินโยบายสร้างความสมดุลด้านการเมืองและการทหารในเอเชีย ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมหาอำนาจก็มีความขัดแย้งมากขึ้นถึงแม้ทั้งสองฝ่ายต่างยืนยันว่า ความสัมพันธ์ทวิภาคียังคงมีเสถียรภาพแต่เพื่อควบคุมความสัมพันธ์ทวิภาคีให้ดำเนินไปถูกทิศทาง ทั้งทางการปักกิ่งและวอชิงตันต่างเข้าใจว่านี่คือสิ่งที่ไม่ง่าย
ความท้าทายต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความมั่นคงในภูมิภาค
เพื่อเป็นการยืนยันถึงนโยบายเปลี่ยนความสนใจมายังเอเชีย ในกรอบการเยือนประเทศจีนเป็นเวลา 2 วันที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง นาย จอห์นแคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐได้ยืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นของสหรัฐในการปกป้องพันธมิตรในภูมิภาคและกล่าวถึงขีดจำกัดระดับสีแดงในเขตทะเลที่ทางการปักกิ่งประกาศอธิปไตย ในการพบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีน รวมทั้งนาย สีชิ้นผิง ประธานประเทศจีน นาย หยางเฉียสือ สมาชิกรัฐบาลจีนและนาย หวังอี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน นาย จอห์นแคร์รีได้ยืนยันถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของสหรัฐในการปกป้องผลประโยชน์ของวอชิงตันและพันธมิตรในทะเลตะวันออก พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทางการปักกิ่งมีแนวทางเพื่อแก้ไขความตึงเครียดในทะเลตะวันออกและเข้าร่วมการสนทนากับประเทศสมาชิกอาเซียน
แต่อย่างไรก็ตาม แทนที่จะพยายามบรรลุความเห็นพ้องเกี่ยวกับมาตรการทางการทูตเพื่อสามารถมุ่งสู่การบรรลุข้อตกลงและหลักปฏิบัติต่อกันระหว่างอาเซียนกับจีน นาย หวังอี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีนกลับมีท่าทีที่แข็งกร้าวโดยประกาศว่า จีนจะมุ่งมั่นพิทักษ์รักษาอธิปไตยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงของตนได้
มีความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะทางทหารในทะเลตะวันออกหรือไม่
การที่สหรัฐให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อปัญหาในทะเลตะวันออกก็เนื่องจากความตึงเครียดที่นับวันเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคในกว่า 1 ปีที่ผ่านมา การที่ฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐกล่าวหาจีนหลายครั้งต่อกิจกรรมปรับปรุงและขยายการประกาศอธิปไตยเหนือทะเลตะวันออกจึงได้รับความสนใจจากประชาคมโลกโดยฟิลิปปินส์ได้เร่งรัดให้สหรัฐมีทัศนะที่เข้มแข็งมากขึ้นและนี่ก็คือโอกาสเพื่อให้สหรัฐขยายอิทธิพลในภูมิภาค ทะเลตะวันออกคือเส้นทางขนส่งทางทะเลที่สำคัญซึ่งไม่ว่าปฏิบัติการใดๆที่สร้างความไร้เสถียรภาพในภูมิภาคนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อหลายประเทศในโลก รวมทั้งสหรัฐ ดังนั้นจึงไม่ใช่เป็นเพียงปัญหาทวิภาคีที่สำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนหรือกับประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น แต่ปัจจุบัน ทะเลตะวันออกได้กลายเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในนโยบายของสหรัฐในเอเชียโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเคยประกาศว่า การแก้ไขข้อพิพาทในทะเลตะวันออกเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ สหรัฐมีความวิตกกังวลว่า กิจกรรมการปรับปรุง ก่อสร้างและส่งทหารประจำการบนเกาะต่างๆในทะเลตะวันออกคือจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติตามการประกาศเขตป้องกันภัยทางอากาศหรือ ADIZ ของจีนเหมือนการประกาศเขต ADIZ ในทะเลหัวตุ้งเมื่อปี 2013 ดังนั้น สหรัฐตัดสินใจส่งสาส์นถึงจีนและโลกว่า การเคลื่อนไหวเมื่อเร็วๆนี้ของจีนเป็นสิ่งที่เกินกว่าเหตุ
ในความเป็นจริง ปัญหาทะเลตะวันออกได้กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจบนเวทีการเมืองของสหรัฐโดยเมื่อเร็วๆนี้ เจ้าหน้าที่ชั้นนำที่ดูแลเอเชียตะวันออก-แปซิฟิกของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐและกระทรวงกลาโหมสหรัฐได้มีการชี้แจงในการประชุมคณะกรรมาธิการต่างประเทศแห่งวุฒิสภาสหรัฐเกี่ยวกับปัญหานี้โดยบรรดาสมาชิกวุฒิสหรัฐได้เรียกร้องให้ทางการของนาย บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐต้องมีท่าทีที่เข้มแข็งมากขึ้นต่อการเคลื่อนไหวของจีนในทะเลเอเชียตะวันออก ก่อนหน้านั้น กองทัพสหรัฐได้ประชุมเพื่อพิจารณาการส่งเรือและเครื่องบินลาดตระเวนไปยังบริเวณที่อยู่ห่างจากแนวโขดหินที่จีนกำลังปรับปรุงและก่อสร้างในทะเลตะวันออกประมาณ 12 ไมล์ทะเลเพื่อค้ำประกันเสรีภาพในการเดินเรือซึ่งทำให้จีนมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก ในหลายปีที่ผ่านมา ทุกๆปี สหรัฐได้ส่งขบวนเรือรบไปยังทะเลตะวันออก ควบคู่กับการผลักดันการซ้อมรบร่วมกับพันธมิตร การแวะมาเยือนภูมิภาคนี้ของกองเรือรบสหรัฐเมื่อเร็วๆนี้ถือเป็นการส่งสาส์นถึงปักกิ่งอย่างชัดเจนและเป็นภัยคุกคามต่อยุทธศาสตร์ขยายอธิปไตยของจีน ตามความเห็นของผู้สังเกตการณ์ มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการปะทะในทะเลตะวันออกระหว่างสหรัฐกับจีนเพราะยุทธศาสตร์การปรับความสมดุลด้านนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐในเอเชียแปซิฟิกกำลังสร้างการเผชิญหน้าที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ระหว่างสองประเทศ
ความขัดแย้งที่ยากจะแก้ไขได้
ไม่เพียงแต่มีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออกเท่านั้น หากสหรัฐและจีนยังมีความขัดแย้งกันในด้านการค้า สิทธิมนุษยชนและความมั่นคงทางอินเตอร์เน็ตอีกด้วย ดังนั้น นอกจากความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การแก้ปัญหาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีและโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านแล้ว ความขัดแย้งที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ยังคงเป็นจุดสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีน ในการพบปะกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ จอห์นแคร์รี นาย สีจิ้นผิง ประธานประเทศจีนได้ยืนยันถึงความปรารถนาในการพัฒนาความสัมพันธ์สหรัฐ-จีนให้ขึ้นสู่ขั้นสูงใหม่ซึ่งต้องอาศัยตามแนวโน้มของระบบการเมืองและเศรษฐกิจโลก ความร่วมมือระหว่างสองประเทศมหาอำนาจนี้คือสิ่งที่จำเป็น แต่ศักยภาพของความเชื่อมโยงนี้จะมีความใกล้ชิดและอบอุ่นเพีงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับระดับการแก้ไขความขัดแย้ง โดยเฉพาะหลังจากที่สหรัฐยังไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายปรับความสมดุลในเอเชียและความมีเสถียรภาพของภูมิภาคนี้คือปัญหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของวอชิงตัน./.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด