ความสัมพันธ์เยอรมนี-กรีซ ความท้าทายที่ต้องรับมือ

(VOVworld)-วันที่23มีนาคม ในกรอบการเยือนเยอรมนีครั้งแรกนับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกฯกรีซอเล็กซิส ซีปราสได้มีการหารือกับนายกฯเยอรมนีอังเกลา แมร์เคิลเรื่องวิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซและแนวทางการผลักดันความสัมพันธ์ทวิภาคี แต่ขัดกับแถลงการณ์ของผู้นำรัฐบาลทั้งสองประเทศในการพบปะกับสื่อมวลชน ประชามติระหว่างประเทศยังมองเห็นถึงอุปสรรคระหว่างทั้งสองฝ่ายรวมถึงปัญหาระหว่างกรีซกับสหภาพยุโรป


(VOVworld)-วันที่23มีนาคม ในกรอบการเยือนเยอรมนีครั้งแรกนับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกฯกรีซอเล็กซิส ซีปราสได้มีการหารือกับนายกฯเยอรมนีอังเกลา แมร์เคิลเรื่องวิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซและแนวทางการผลักดันความสัมพันธ์ทวิภาคี แต่ขัดกับแถลงการณ์ของผู้นำรัฐบาลทั้งสองประเทศในการพบปะกับสื่อมวลชน ประชามติระหว่างประเทศยังมองเห็นถึงอุปสรรคระหว่างทั้งสองฝ่ายรวมถึงปัญหาระหว่างกรีซกับสหภาพยุโรป

ความสัมพันธ์เยอรมนี-กรีซ ความท้าทายที่ต้องรับมือ - ảnh 1
นายกฯกรีซอเล็กซิส ซีปราสได้มีการหารือกับนายกฯเยอรมนีอังเกลา แมร์เคิล(Vietnam+)

ก่อนที่นายกฯอเล็กซิส ซีปราสเดินทางไปเยือนเยอรมนีเพียง1วัน รัฐมนตรีต่างประเทศของกรีซ นิกอส โคซีอาส ได้มีการหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี แฟรงค์ วอลเตอร์ สไตน์ไมเออที่กรุงเบอร์ลิน โดยรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีได้ยืนยันว่าทั้งสองประเทศจะไม่ปล่อยให้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรปส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างเยอรมนีและกรีซ พร้อมทั้งจะผลักดันการส่งเสริมศักยภาพความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่และความเข้าใจระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น

คำแถลงในเชิงการทูต

ในการแถลงข่าวร่วมเมื่อวันที่23มีนาคมหลังการเจรจาเป็นเวลา1ชั่วโมงระหว่างนายกฯทั้งสองประเทศ ประชามติไม่ได้เห็นถึงแนวทางความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมของทั้งสองฝ่ายในเวลาข้างหน้าโดยนายกฯเยอรมนีได้แต่ย้ำแบบรวมๆเกี่ยวกับความสำคัญของสัมพันธไมตรีและความไกล้ชิดระหว่างสองประเทศเท่านั้น พร้อมทั้งยืนยันความปรารถนาเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีที่อาศัยความไว้วางใจกันระหว่างสองฝ่าย ส่วนนายกฯกรีซก็ตอบรับด้วยการย้ำถึงความหมายของการเดินทางไปเยือนเยอรมนีครั้งนี้ต่อการกระชับความเข้าใจระหว่างรัฐบาลสองประเทศพร้อมทั้งยืนยันว่าการเจรจาเป็นมาตรการเดียวเพื่อช่วยฝ่าฟันอุปสรรคในปัจจุบัน

ทั้งนี้ผลการเจรจาดังกล่าวไม่ทำให้ประชามติแปลกใจเพราะก่อนการเยือน นายกฯอังเกลา แมร์เคิลก็เคยเตือนกรีซว่าไม่ควรคาดหวังมากเกินไปในการเยือนเยอรมนีของนายกฯอเล็กซิสซีปราสเนื่องจากการพบปะทวิภาคีครั้งนี้ไม่อาจแทนให้แก่ข้อตกลงที่บรรดาประเทศเขตยูโรโซนได้เห็นพ้องกันรวมทั้งเงื่อนไขต่างๆเพื่อขยายเวลาการช่วยเหลือทางการเงินให้แก่กรีซออกไปอีก4เดือน

ซึ่งก่อนหน้านี้ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและกรีซได้เริ่มเกิดปัญหาที่ตึงเครียดหลังจากที่พรรคซิรีซาของนายกฯซีปราสได้ชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อต้นปี ซึ่งรัฐบาลของนายกฯซีปราสได้มีก้าวเดินที่เข้มแข็งต่างๆจนทำให้หุ้นส่วนยุโรปรู้สึกกังวลเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือคำแถลงยุติการปฏิบัตินโยบายรัดเข็มขัดที่เข้มงวดโดยเยอรมนีเป็นผู้ริเริ่มเพื่อแลกกับวงเงินช่วยเหลือของต่างชาติ การแสดงท่าทีที่ใกล้ชิดกับรัสเซียในสภาวการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและยุโรปกำลังอยู่ในความตึงเครียด โดยในคำแถลงล่าสุด รัฐมนตรีการคลังของกรีซยังแสดงท่าทีที่มีลักษณะท้าทายชาวเยอรมันด้วยการประกาศว่ากรีซอาจจะประกาศล้มละลายเหมือนที่ประเทศอาเจนตินาเคยทำ

ความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้น

ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนระหว่างประเทศครั้งนี้ นายกฯกรีซได้ยืนยันอย่างตรงไปตรงมาว่าโครงการช่วยเหลือกรีซที่ปฏิบัติในรอบ5ปีที่ผ่านมาพร้อมการสนับสนุนของทางการเยอรมนีไม่ได้ประสบความสำเร็จแถมยังส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจของกรีซ โดยกรีซสูญเสียจีดีพีถึงร้อยละ25 อัตราคนว่างงานเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ60ในกลุ่มแรงงานที่เป็นเยาวชน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจลดลง

แต่ทางฝ่ายเยอรมนีนั้นก็ไม่สนใจคำประกาศของนายซีปราสเมื่อนายกฯอังเกลา แมร์เคิลได้ย้ำในการแถลงข่าวว่าเบอร์ลินจะเร่งรัดให้กรีซปฏิรูปต่อไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมุ่งฟื้นฟูการขยายตัวและแก้ปัญหาการว่างงานในกลุ่มเยาวชนให้มีประสิทธิผล นอกจากนั้นเอเธนก็ควรทำการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ มีนโยบายทางการเงินที่ยั่งยืนและกลไกการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนทางการกรีซต้องเปิดเผยมาตรการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมและพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตนเองเพื่อที่จะได้รับวงเงินช่วยเหลือใหม่

ก่อนการเยือนเยอรมนีของนายซีปราส สื่อเยอรมนีได้เผยถึงรายละเอียดในแผนการปฏิรูปของกรีซเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะล้มละลายเช่นการเพิ่มภาษี การส่งเสริมกิจกรรมของภาคเอกชน การทวงหนี้ภาษี การเพิ่มเกณฑ์การเกษียณอายุ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดีดูเหมือนว่ามาตรการเหล่านี้ยังไม่พอเพื่อให้กรีซกลับเข้าสู่แผนการรัดเข็มขัดตามนโยบายของรัฐบาลชุดก่อนตามความต้องการของเยอรมนีและอียู เพราะนี่คือเรื่องยากสำหรับทางการชุดใหม่ของกรีซที่จะต้องเดินสวนกับคำมั่นที่ให้ไว้กับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ดังนั้นอุปสรรคยังจะมีอยู่มากมายเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกรีซและเยอรมนีในเวลาข้างหน้า./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด