ความหวังใหม่สำหรับวิกฤตในซีเรีย

(VOVworld) – มีความเป็นไปได้สูงที่ความชงักงันทางการเมืองในซีเรียจะได้รับการแก้ไขเมื่อผู้นำสหรัฐและรัสเซียได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า จะจัดตั้งระเบียบความร่วมมือทวิภาคีใหม่เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่น่ายินดีในกระบวนการสร้างสรรค์สันติภาพในตะวันออกกลาง

(VOVworld) – มีความเป็นไปได้สูงที่ความชงักงันทางการเมืองในซีเรียจะได้รับการแก้ไขเมื่อผู้นำสหรัฐและรัสเซียได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า จะจัดตั้งระเบียบความร่วมมือทวิภาคีใหม่เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่น่ายินดีในกระบวนการสร้างสรรค์สันติภาพในตะวันออกกลาง

ความหวังใหม่สำหรับวิกฤตในซีเรีย - ảnh 1
ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน กับประธานาธิบดีสหรัฐ
บารัค โอบามา (Photo Reuters)
การพบปะอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบามา กับประธานาธิบดีรัสเซียวลาดีเมียร์ ปูตินได้มีขึ้นนอกกรอบการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ค โดยการพบปะดำเนินไปนานกว่าเวลาที่กำหนดและได้ยอมรับว่า ยังคงมีความขัดแย้งต่างๆแต่ผู้นำทั้งสองต่างยืนยันว่า ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุความเข้าใจร่วมกันคือจะร่วมมือกันในระดับสูงสุดเพื่อแก้ไขวิกฤตที่ยืดเยื้อมานานในซีเรีย
รัสเซียและสหรัฐจับมือกัน
แม้จะมีเป้าหมายเดียวกันคือต่อต้านกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสที่กำลังควบคุมดินแดนซีเรียครึ่งหนึ่งแต่รัสเซีย สหรัฐและฝ่ายตะวันตกยังคงมีทัศนะที่สวนทางกันคือ รัสเซียสนับสนุนประธานาธิบดีซีเรียบาซาร์ อัลอัสซาดและจัดสรรอาวุธให้กองทัพซีเรียเพื่อต่อต้านกับฝ่ายค้านและกลุ่มไอเอส ส่วนสหรัฐและฝ่ายตะวันตกถือว่า นาย บาซาร์ อัลอัสซาดเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมืองและการอพยพในซีเรีย สงครามกลางเมืองและการอพยพจะยุติลงก็ต่อเมื่อนาย บาซาร์ อัลอัสซาด ลาออกจากตำแหน่งและถ่ายโอนอำนาจ แต่ความจริง สงครามในซีเรียกำลังย่างเข้าสู่ปีที่ 5 และมาตรการแก้ไขทั้งทางการทูตและการทหารยังคงไม่สามารถช่วยซีเรียหลุดพ้นจากฝันร้ายแห่งสงครามและความรุนแรงได้ ประธานาธิบดีบาซาร์ อัลอัสซาดจะไม่ลาออกจากตำแหน่งตามแผนการของสหรัฐและฝ่ายตะวันตกอย่างง่ายดายหากจะยึดถืออยู่เสมอว่า การถ่ายโอนอำนาจจะมีขึ้นตามคะแนนเลือกตั้งของประชาชนซีเรียเท่านั้น
นอกจากปัญหานี้แล้ว ปัญหากระแสผู้อพยพและดินแดนครึ่งหนึ่งของซีเรียที่กำลังอยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มไอเอสได้ทำให้ทั้งรัสเซียและสหรัฐตระหนักได้ดีว่า ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษในการร่วมมือเพื่อเอาชนะกลุ่มก่อการร้าย
ความหวังใหม่สำหรับวิกฤตในซีเรีย - ảnh 2
เปิดโอกาสให้แก่มาตรการแก้ไขวิกฤต (Photo AFP)
เปิดโอกาสให้แก่มาตรการแก้ไขวิกฤต
จริงๆแล้ว ความร่วมมือกันระหว่างรัสเซียกับสหรัฐได้สร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การปรับความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับฝ่ายตะวันตก โดยหลังจากที่มีการกำหนดการพบปะอย่างเป็นทางการระหว่างนายบารัค โอบามา กับนายวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำบรรดาประเทศมหาอำนาจในยุโรป เช่น เยอรมนนี อังกฤษและฝรั่งเศสก็มีแผนการที่จะจัดการพบปะกับนายปูตินเช่นกัน เมื่อเร็วๆนี้ แหล่งข่าวจากรัฐบาลเยอรมนีได้ยืนยันว่า นาง อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีจะพบปะกับประธานาธิบดีปูตินในการประชุมผู้นำกลุ่ม “Norman+” ณ กรุงปารีสในวันที่ 2 ตุลาคมนี้ นาง อังเกลา แมร์เคิลยังประกาศว่าจะแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาซีเรีย แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องสนทนากับหลายฝ่าย รวมทั้งรัฐบาลดามัสกัส วิกฤตซีเรียจะสามารถแก้ไขได้ด้วยความพยายามของทั้งอียู สหรัฐ รัสเซียและบรรดาประเทศตะวันออกกลาง ทั้งนี้ถือเป็นคำเชิญที่ส่งถึงรัสเซียเพื่อให้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาในซีเรีย พร้อมทั้งเป็นทัศนะที่มีลักษณะผ่อนปรนของประเทศมหาอำนาจตะวันตกหลังจากที่เคยมีเสียงคัดค้านอย่างหนักในอียูเกี่ยวกับการแทรกแซงของรัสเซียในสงครามกลางเมืองในซีเรีย
ในขณะเดียวกัน ในเวทีสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ นาย เดวิด แคเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้เรียกร้องให้ประธานาธิบดีซีเรีย บาซาร์ อัลอัสซาดดำรงตำแหน่งนี้ต่อไปในรัฐบาลเฉพาะกาลและถือว่า รัสเซียต้องเข้าร่วมกิจกรรมต่อต้านกลุ่มไอเอส สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อ 2 ปีก่อน นายเดวิด แคเมรอนเป็นผู้เดินหน้าในการโจมตีทางอากาศเพื่อต่อต้านระบอบของประธานาธิบดี บาซาร์ อัลอัสซาดและยืนยันจุดยืนที่ว่า เงื่อนไขล่วงหน้าสำหรับการจัดตั้งรัฐบาลสามัคคีชนในชาติของซีเรียคือ นาย บาซาร์ อัลอัสซาดต้องลาออกจากตำแหน่ง
ขาดรัซเซียไม่ได้ในพันธมิตรต่อต้านกลุ่มไอเอส
ในความเป็นจริง รัสเซียมีบทบาทสำคัญต่อซีเรียในการแก้ไขวิกฤตของประเทศนี้ เพราะว่าทั้งสองฝ่ายได้มีความสัมพันธ์ที่มีมาช้านานและเป็นพันธมิตรต่อกัน การที่รัสเซียทำการแทรกแซง สนับสนุนอาวุธและกองทัพให้แก่ซีเรียเมื่อเร็วๆนี้ได้สร้างความวิตกกังวลต่อทั้งสหรัฐและฝ่ายตะวันตกแต่มีแค่นายปูตินเท่านั้นที่สามารถพูดคุยกับนายบาซาร์ อัลอัสซาดได้และอาจช่วยเปลี่ยนแนวทางการต่อต้านกลุ่มไอเอส ถึงเวลาแล้วที่สหรัฐและบรรดาประเทศอียูเห็นว่า การแบ่งแยกและการขัดแย้งกับรัสเซียเป็นการทำลายความแข็งแกร่งของพันธมิตรในการต่อต้านกลุ่มไอเอสและสูญเสียโอกาสในการกวาดล้างกลุ่มก่อการร้ายให้หมดสิ้น ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่บรรดาประเทศมหาอำนาจต้องอย่ายึดติดกับผลประโยชน์ของตนเองในการใช้ซีเรียเป็นเวทีการเมืองในตะวันออกกลางเพื่อปฏิบัติภารกิจร่วมกันคือต่อต้านกลุ่มไอเอส แม้ยังมีความถกเถียงมากมายแต่การสนทนาและความร่วมมือถือเป็นทางเลือกของทุกฝ่ายในปัจจุบันเพื่อยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อตั้งแต่ปี 2011 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2 แสน 4 หมื่นคนและประชาชนนับล้านคนต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดในซีเรียไปลี้ภัยในต่างแดน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด