ปัญหาผู้ลี้ภัยสร้างความแตกแยกในสหภาพยุโรปต่อไป

(VOVWORLD) -เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่การประชุมสุดยอดสหภาพยุโรปหรืออียูที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่28-29มิถุนายนนี้ บรรดาประเทศยุโรปกำลังพยายามแสวงหาความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในปัญหาที่ร้อนระอุต่างๆ รวมทั้ง ปัญหาผู้อพยพที่ยังคงสร้างความแตกแยกในอียู โดยเฉพาะ หลังจากที่อิตาลีและมอลตาปฏิเสธไม่ให้เรือกู้ภัยที่ขนส่งผู้อพยพกว่า600คนเข้าเทียบท่าเรือของตน

ปัญหาผู้ลี้ภัยสร้างความแตกแยกในสหภาพยุโรปต่อไป - ảnh 1 ผู้อพยพในเขตชายแดนเซอร์เบีย (Photo:AFP/TTXVN )

ในหลายปีที่ผ่านมา ปัญหาผู้อพยพได้สร้างความแตกแยกภายในอียู  ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้อังกฤษถอนตัวออกจากอียู จนสร้างความเสียหายต่อการเมืองและเศรษฐกิจ

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตผู้อพยพ  ยุโรปยังไม่สามารถบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในการแก้ไขปัญหานี้ ในขณะเดียวกัน ผู้อพยพนับร้อยคนจากลิเบียและซีเรีย กำลังพยายามข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อเข้ายุโรปแม้จะต้องเผชิญกับอันตราย

ความพยายามแก้ไขปัญหาผู้อพยพ

  เมื่อวันที่19มิถุนายน ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ได้มีการพบปะกับนายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคล  ณ กรุงเบอร์ลินเพื่อผลักดันความพยายามร่วมในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพและกำหนดนโยบายที่ทุกประเทศสมาชิกอียูสามารถยอมรับได้

แต่ความตึงเครียดในยุโรปได้เกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากที่อิตาลีและมอลตาปฏิเสธไม่ให้เรือ Aquariusของฝรั่งเศสที่ขนส่งผู้อพยพที่ได้รับการช่วยชีวิตในทะเลเข้าเทียบท่าเรือ พร้อมทั้ง เตือนว่า จะไม่ให้เรือต่างประเทศที่ช่วยชีวิตผู้อพยพในทะเลเข้าเทียบท่าเรือของตน  ซึ่งปฏิบัติการดังกล่าวทำให้การบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพประสบอุปสรรคมากมาย

ในการพบปะกับนายกรัฐมนตรีเยอรมนี เมื่อวันที่18มิถุนายน นาย Giuseppe Conte นายกรัฐมนตรีอิตาลี ซึ่งเป็นผู้ที่มีจุดยืนต่อต้านผู้อพยพได้ยืนยันอีกครั้งถึงเป้าหมายของการปรับปรุงข้อกำหนดของสนธิสัญญาดับลินที่สร้างภาระด้านผู้ลี้ภัยให้แก่ประเทศแรกที่ผู้อพยพเข้าเมือง  ซึ่งจุดยืนของรัฐบาลชุดใหม่อิตาลีได้สร้างความท้าทายให้แก่รูปแบบ “ชายคาร่วม”ยุโรป  ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวของอิตาลีถูกตำหนิจากประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครงและเป็นการสร้างความเสี่ยงที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศพันธมิตรนี้เกิดรอยร้าว

ฝรั่งเศสมีความประสงค์ที่จะโน้มน้าวให้เยอรมนีเพิ่มเงินสนับสนุนให้แก่กองกำลังป้องกันชายแดนยุโรปหรือ Frontex   ผลักดันการจัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาผู้อพยพในภูมิภาคแอฟริกา แต่ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย Horst Seehofer ซึ่งเป็นผู้นำของพรรคสหภาพสังคมคริสเตียนหรือ CSU กำลังมีความขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบายผู้อพยพ ซึ่งสร้างความเสี่ยงไม่น้อยต่อเสถียรภาพพรรคร่วมรัฐบาลที่ประกอบด้วยพรรคพันธมิตรประชาธิปไตย/คริสเตียน โซเชียลยูเนียนหรือ CDU/CSUและพรรคประชาธิปไตยสังคมหรือ SPD  ในขณะที่นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคลมีแนวทางแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาผู้อพยพผิดกฏหมายในระดับยุโรปในการประชุมสุดยอดอียูที่คาดว่า จะมีขึ้นในวันที่28-29มิถุนายนนี้ ส่วนนายHorst Seehofer อยากเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมเขตชายแดนของเยอรมนีและปฏิเสธไม่รับผู้อพยพผิดกฏหมาย  เมื่อต้นเดือนนี้ นายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคลได้ให้การสนับสนุนคำเรียกร้องของประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครงเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงใหม่ให้แก่ประเทศยุโรปที่ยากจนกว่า แต่อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้ ยังไม่สามารถทราบได้ว่า  กองทุนดังกล่าวจะมีเงินเท่าไหร่เนื่องจากเยอรมนีไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินนับพันล้านยูโรที่ฝรั่งเศสเสนอ

  ปัญหาผู้อพยพเป็นเงาดำที่ปกคลุมอียู

  ในตลอด3ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เกิดวิกฤตผู้อพยพในยุโรปเมื่อปี2015  อียูได้ทำการเจรจาเพื่อจัดทำนโยบายผู้อพยพร่วมแต่ก็ไม่ได้บรรลุผลงานที่เป็นรูปธรรม  ความพยายามในการแก้ไขวิกฤตผู้อพยพยังไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากบรรดาประเทศสมาชิกอียูมีความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาการจัดระเบียบผู้อพยพ   การที่อิตาลีและมอลตาปฏิเสธไม่ให้เรือกู้ภัยที่ขนส่งผู้อพยพกว่า600คนเข้าเทียบท่าเรือก็เป็นตัวอย่างของปัญหานี้ แต่ความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกอียูนับตั้งแต่เกิดวิกฤตผู้อพยพเมื่อปี2015จะสามารถแก้ไขในการประชุมสุดยอดสหภาพยุโรปที่จะมีขึ้นในปลายเดือนนี้ได้หรือไม่  ก็ขึ้นอยู่กับการบรรลุข้อตกลงร่วมเกี่ยวกับปัญหานี้ระหว่างประเทศต่างๆของอียู.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด