ปัญหาไฟไหม้ป่าอเมซอนไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง

(VOVWORLD) - วันที่ 6 กันยายน ณ เมืองเลติเซีย ประเทศโคลอมเบีย จะมีการจัดการประชุมสุดยอดประเทศที่มีพื้นที่ป่าอเมซอนเพื่อหารือนโยบายร่วมกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน การประชุมนี้มีขึ้นในขณะที่สถานการณ์ไฟไหม้ป่าอเมซอนกำลังอยู่ในภาวะวิกฤตในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา  ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก  
ปัญหาไฟไหม้ป่าอเมซอนไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง - ảnh 1ปัญหาไฟไหม้ป่าอเมซอนไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง (Photo: AP) 

-ป่าอเมซอนเป็นป่าฝนเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่เกือบ 7.6 ล้านตารางกิโลเมตรครอบคลุมดินแดนของ 8 ประเทศได้แก่บราซิล เปรู โบลิเวีย เอกวาดอร์ โคลอมเบีย เวเนซุเอลา โบลิเวีย เอกวาดอร์ ซูรินาเมและกายอานา  ปัญหาไฟไหม้ป่าอเมซอนเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแต่ต้องเสียเวลาถึง 3 สัปดาห์กว่าที่ประชาคมโลกจะตระหนักถึงความรุนแรงของเหตุการณ์นี้  ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นฤดูแล้งและความไม่ระวังของประชาชนในการเพาะปลูก

เขตป่าอเมซอนต้องได้รับการปกป้อง

  การปกป้องป่าฝนเขตร้อนอเมซอนเป็นปัจจัยชี้ขาดในการรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเนื่องจากป่าอเมซอนช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลและผลิตออกซิเจนออกมาถึงร้อยละ 20 ของทั้งโลก  ซึ่งป่าอเมซอนเปรียบเสมือนปอดของโลก  กองทุนสัตว์ป่าโลกสากลได้เผยว่า ถ้าหากป่าอเมซอนถูกทำลาย  โลกจะมีก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สูงขึ้น  ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ป่าฝนเขตร้อนมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศของโลกเนื่องจากช่วยดูดซับความร้อน   แต่หลังเกิดเหตุไฟไหม้ป่า โลกอาจต้องใช้เวลามากกว่า 1 ศตวรรษเพื่อให้ป่าฟื้นฟูการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 

บรรดาผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ขนาดพื้นที่ป่าอเมซอนที่เกิดไฟไหม้ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกและส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาคโดยคาดว่า อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้น 0.1 -0.2 องศาเซลเซียส

สำหรับด้านนิเวศวิทยา การที่พื้นที่ป่าอเมซอนถูกทำลายเพิ่มขึ้น จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก      โดยส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้ง ต้นไม้นับหมื่นต้น แมลงนับแสนตัวและสัตว์ป่านับล้านตัว

ต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ

  ปัญหาสภาพป่าอเมซอนที่เลวร้ายลง ไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้แต่ ได้กลายเป็นปัญหาที่เร่งด่วนของโลก นาย  อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้เรียกร้องให้ใช้ทุกทางเพื่อปกป้องป่าอเมซอน  ซึ่งในการประชุมเกี่ยวกับสภาพป่าอเมซอนที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 กันยายนนอกรอบการประชุมสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ ณ ประเทศโคลอมเบียเพื่อกำหนดนโยบายร่วมกันปกป้องป่าอเมซอน  นาย  อันโตนิโอ กูเตอร์เรส ได้แสดงความหวังว่า ประชาคมโลกจะให้การช่วยเหลือประเทศต่างๆในเขตอเมซอนเพื่อสามารถดับไฟป่าได้โดยเร็วและปฏิบัตินโยบายปลูกป่า

ก่อนหน้านั้น ที่ประชุมสุดยอดกลุ่มจี 7 ที่มีขึ้น ณ ประเทศฝรั่งเศสได้เห็นพ้องมอบเงิน 20 ล้านยูโรเพื่อใช้ในภารกิจดับไฟป่าอเมซอน  รวมทั้งส่งเครื่องบินดับเพลิงไปช่วยและวางแผนฟื้นฟูป่าในระยะกลาง

แม้กระทั้งประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีจุดยืนที่แข็งกร้าวในปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ต้องพูดคุยผ่านทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีบราซิลเกี่ยวกับปัญหาไฟไหม้ป่าอเมซอน  พร้อมทั้ง ประกาศว่า สหรัฐพร้อมที่ช่วยเหลือบราซิลในการดับไฟ ส่วนนายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสันได้ให้คำมั่นว่า จะให้ความช่วยเหลือทางการเงิน มูลค่ากว่า 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมทั้ง เรียกร้องให้บรรดาผู้นำประเทศต่างๆผลักดันการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่เสี่ยงสูญพันธุ์

การที่สถานการณ์ไฟไหม้ป่าอเมซอนที่กินพื้นที่เป็นบริเวณกว้างกำลังยึดเยื้อนั้นได้คุดคามต่อสิ่งแวดล้อมโลก   ซึ่งผลเสียหายจากเหตุไฟไหม้ครั้งนี้ถือเป็นคำเตือนให้มนุษย์ต้องมีความรับผิดชอบในการใช้ประโยชน์และปกป้องป่า.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด