ผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพของทะเลตะวันออก

(VOVWORLD) - จำเป็นต้องแสวงหามาตรการที่รอบด้าน ยาวนานและยั่งยืน แก้ไขอุปสรรค การพิพาท สร้างความไว้วางใจและความร่วมมือเพื่อให้ทะเลตะวันออก ซึ่งเป็นเขตทะเลเชิงยุทธศาสตร์กลายเป็นเขตทะเลที่สันติภาพ เสถียรภาพและพัฒนา นี่คือทัศนะที่ถูกนำเสนอในการสัมมนาเชิงวิชาการระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเลตะวันออกครั้งที่ 9 ภายใต้หัวข้อ “ทะเลตะวันออก: ร่วมมือเพื่อความมั่นคงและพัฒนาภูมิภาค” ที่ได้เสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ณ นครโฮจิมินห์
ผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพของทะเลตะวันออก - ảnh 1 ภาพการสัมมนา

หารืออย่างตรงไปตรงมา อ้างอิงหลักวิชาการและพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นคือเจตนารมณ์ของการสัมมนานี้ในตลอด 9 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ถูกจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2009 ในการสัมมนาในปีนี้ บรรดาผู้แทนได้หารือเพื่อแสวงหามาตรการแก้ไขอุปสรรค การพิพาท สร้างความไว้วางใจและความร่วมมือเพื่อรักษาทะเลตะวันออกให้เป็นเขตทะเลแห่งโอกาสการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศต่างๆในภูมิภาค

มีหลายความเสี่ยงในปัญหาทะเลตะวันออก

ในการสัมมนา ผู้แทนหลายคนได้แสดงความเห็นว่า ในปี 2017 สถานการณ์ในทะเลตะวันออกไม่มีความผันผวนอย่างซับซ้อนที่รุนแรงมากนัก แต่ที่น่าสนใจคือ นับตั้งแต่หลังคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮกหรือพีซีเอเกี่ยวกับคดีฟิลิปปินส์ฟ้องร้องจีน สถานการณ์ทะเลตะวันออกได้มีการเปลี่ยนแปลงที่น่ายินดี โดยสัญญาณที่น่ายินดีที่สุดคือการกระทบกระทั่งที่รุนแรงทางทะเลได้ลดลงเมื่อเทียบกับก่อนหน้านั้น

แต่อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างในจุดยืนและจิตสำนึกของประเทศต่างๆในด้านประวัติศาสตร์และการปฏิบัติตามกฎหมายสากลยังคงเป็นอุปสรรคใหญ่ เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยและเสถียรภาพในทะเลตะวันออก ควบคู่กันนั้นคือการปรากฎและการขยายตัวของความท้าทายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ในภูมิภาค การเพิ่มการใช้งบประมาณด้านกลาโหมของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการขยายตัวที่เร็วที่สุดในโลก อยู่ที่ 4 แสน 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2016 เท่ากับการขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับปี 2015 ตามความเห็นของนาย เลกงฝุ่ง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม นี่คือสิ่งที่น่าวิตกกังวลเป็นอย่างมาก “การเพิ่มความแข็งแกร่งด้านกลาโหมของทุกฝ่ายและการผลักดันความร่วมมือกับหุ้นส่วนนอกจากให้การสนับสนุนกองกำลังของประเทศต่างๆเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนแล้ว ก็อาจทำให้เกิดการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ การแข่งขันด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการแข่งขันด้านการทหารที่ร้อนแรงมากขึ้น”

ผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพของทะเลตะวันออก - ảnh 2ศาสตราจารย์ Carlyle A. Thayer 

ความไว้วางใจเชิงยุทธศาสตร์ได้รับการเสริมสร้างอย่างต่อเนื่อง

ปัญหาคือต้องทำเช่นไรเพื่อไม่ให้ทะเลตะวันออกตกเข้าสู่สถานการณ์ความวุ่นวายและการปะทะซึ่งสร้างภัยคุกคามต่อบรรยากาศแห่งความมั่นคงของภูมิภาค ซึ่งบรรดาผู้แทนได้ย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการที่รอบด้าน ยาวนาน ยั่งยืนและผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศ

ในการกล่าวถึงการแก้ไขการพิพาทเพื่อธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลตะวันออก ศาสตราจารย์ ดร. ฝ่ามกวางมิงห์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยได้แสดงความเห็นว่า การที่เมื่อเร็วๆนี้ อาเซียนและจีนบรรลุกรอบหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีได้สร้างนิมิตหมายแห่งก้าวเดินที่น่ายินดีเพื่อมุ่งสู่การลดความตึงเครียดในเส้นทางทะเลเชิงยุทธศาสตร์นี้ แต่เพื่อค้ำประกันให้ซีโอซีกลายเป็นเครื่องมือทางนิตินัยที่มีประสิทธิภาพและจริงจัง จำเป็นต้องใช้เวลาและกระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นทางการเมืองของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก

ผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพของทะเลตะวันออก - ảnh 3บรรดาผู้แทนในการสัมมนา 

เช่นเดียวกับความเห็นของศาสตราจารย์ ดร. ฝ่ามกวางมิงห์ ศาสตราจารย์ Carlyle A. Thayer จากมหาวิทยาลัย New South Wales สังกัดสถาบันกลาโหมออสเตรเลีย หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการวิจัยด้านทะเลตะวันออกได้แสดงความเห็นว่า ทุกฝ่ายต้องเสริมสร้างความไว้วางใจเชิงยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในทะเลตะวันออก “ผมมีความประสงค์ว่า  พวกเราจะแสวงหามาตรการเชิงนิตินัย อาเซียนและจีนต้องเจรจาเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติต่อกัน นี่คือกระบวนการให้แก่อนาคตที่ยาวนาน ดังนั้นอาเซียนและจีนต้องสนทนาเกี่ยวกับปัญหานี้ รวมทั้งการใช้หลักการบนพื้นฐานการกำหนดเขตทางภูมิศาสตร์แห่งชาติ ”

ในฐานะเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นและมีความรับผิดชอบในอาเซียน โดยเฉพาะประเทศที่มีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงถึงทะเลตะวันออก นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เวียดนามยืนหยัดปฏิบัติแนวทางการต่างประเทศที่มีความสัมพันธ์หลายรูปแบบหลายฝ่าย ร่วมมือ ต่อสู้ แสวงหาการสนับสนุนจากประชาคมโลกเพื่อแก้ไขการพิพาทผ่านมาตรการที่สันติและให้ความเคารพกฎหมายสากล ซึ่งเนื้อหานี้ได้รับการแสดงให้เห็นอีกครั้งผ่านการมีส่วนร่วมต่อการแสดงความคิดเห็นและหารือในการสัมมนาเชิงวิชาการระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเลตะวันออกครั้งนี้ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายแก้ไขอุปสรรคและการพิพาทในทะเลตะวันออก ร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนา.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด