ผลักดันความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เวียดนาม-ไทย

(VOVWORLD) - ตามคำเชิญของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุกพร้อมภาริยาได้นำคณะผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลเวียดนามเดินทางไปเยือนประเทศไทยในระหว่างวันที่ ๑๗ ถึงวันที่ ๑๙ สิงหาคมนี้ การเยือนนี้คือโอกาสเพื่อให้ทั้งสองประเทศประเมินกิจกรรมความร่วมมือทวิภาคีในเวลาที่ผ่านมา หารือแนวทางและเห็นพ้องเกี่ยวกับมาตรการร่วมมือในเวลาที่จะถึง
ผลักดันความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เวียดนาม-ไทย - ảnh 1

นี่คือการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกของนาย เหงียนซวนฟุก ในฐานะนายกรัฐมนตรีเวียดนาม การเยือนนี้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่สัมพันธไมตรีที่ยาวนานและความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เวียดนาม-ไทยได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาอย่างดีงามมากขึ้น ในเวลาที่ผ่านมา ไทยได้ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับเวียดนามและเป็นฝ่ายรุกในการผลักดันความร่วมมือกับเวียดนามในหลายด้าน เมื่อปีที่แล้ว ทั้งสองประเทศได้จัดกิจกรรมต่างๆในโอกาสฉลองครบรอบ ๔๐ ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเวียดนาม -ไทย

ความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์พัฒนาอย่างกว้างลึก

สัมพันธไมตรีเวียดนาม-ไทยนับวันมีเสถียรภาพและได้รับการเสริมสร้างหลังจากเวียดนามกลายเป็นสมาชิกของอาเซียนเมื่อปี ๑๙๙๕ ทั้งสองฝ่ายได้ผลักดันความร่วมมือในหลายด้าน โดยไทยได้ใช้ความได้เปรียบด้านทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์และตลาดการบริโภคที่กว้างใหญ่ของเวียดนาม โดยเฉพาะการที่เวียดนามผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงตลาด ในสองทศวรรษมานี้ เวียดนามและไทยได้พยายามปรับปรุงโครงการและกิจกรรมพัฒนาระดับชาติเพื่อให้ความร่วมมือบรรลุผลงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

จนถึงขณะนี้ เวียดนามเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไทยสถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ และทั้งสองฝ่ายกำลังพยายามสร้างสรรค์ความสัมพันธ์นี้ให้แน่นแฟ้นมากขึ้น ในเวลาที่ผ่านมา เวียดนามและไทยได้แลกเปลี่ยนคณะผู้แทนระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ความไว้วางใจทางการเมืองได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาเรื่อยมา ทั้งสองประเทศได้ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งกลไกความร่วมมือต่างๆ เช่น คณะรัฐมนตรีร่วม คณะกรรมการผสมเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีและการทาบทามความคิดเห็นทางการเมืองระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เมื่อเดือนมิถุนายนปี ๒๐๑๓ ทั้งสองประเทศได้ลงนามโครงการปฏิบัติความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เวียดนาม-ไทยในช่วงปี ๒๐๑๔ – ๒๐๑๘ และยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นเป็นความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมเมื่อปี ๒๐๑๕

สำหรับด้านความมั่นคงและกลาโหม ทั้งสองฝ่ายได้ธำรงกลไกการประชุมปฏิบัติการร่วมเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเมือง– ความมั่นคงเวียดนาม–ไทย ผลักดันความร่วมมือในด้านอาชญากรสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือด้านกองทัพอากาศ กองทัพเรือ การแลกเปลี่ยนข่าวกรอง การลาดตระเวนร่วมทางทะเล และการจัดการสนทนาเกี่ยวกับนโยบายด้านกลาโหมระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

ในอาเซียน ไทยคือหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม และเวียดนามคือหุ้นส่วนการส่งออกรายใหญ่อันดับ ๒ ของไทย เมื่อปีที่แล้วมูลค่าการค้าต่างตอบแทนบรรลุ ๑๒.๕ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยังประเทศไทยบรรลุ ๓.๗ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนในช่วงครึ่งปีแรกของปี ๒๐๑๗ มูลค่าการค้าต่างตอบแทนได้บรรลุเกือบ ๗ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ ๒๒ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าไว้ว่า จะเพิ่มมูลค่าการค้าต่างตอบแทนขึ้นเป็น ๒ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี ๒๐๒๐ สำหรับการลงทุน ปัจจุบัน ไทยอยู่อันดับที่ ๑๐ จากจำนวนทั้งหมด ๑๑๖ ประเทศและดินแดนที่ลงทุนในเวียดนาม โดยมี ๔๕๘ โครงการเอฟดีไอที่ยังดำเนินการ รวมยอดเงินจดทะเบียนบรรลุเกือบ ๘.๒ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งสองฝ่ายยังผลักดันความร่วมมือด้านแรงงานและกำลังปฏิบัติความร่วมมือเกี่ยวกับการส่งแรงงานเวียดนามไปทำงานในประเทศไทย สำหรับความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นต่างๆของทั้งสองประเทศ ขณะนี้ มี ๑๖ จังหวัดและนครของเวียดนามลงนามข้อตกลงความร่วมมือหรือเป็นคู่มิตรกับท้องถิ่นต่างๆของไทย ทั้งสองฝ่ายยังร่วมมือในฟอรั่มทั้งในระดับภูมิภาคและโลก เช่นสหประชาชาติ อาเซียน ความร่วมมืออนุภูมิภาคและความร่วมมือในกรอบเอเปก

การเยือนทำให้ความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์มีความลึกซึ้งมากขึ้น

ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างเวียดนามกับไทยกำลังพัฒนาขึ้นสู่ขั้นสูงใหม่ โดยมีการเข้าร่วมที่เข้มแข็งมากขึ้นของปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ ในฐานะที่เป็นสมาชิกอาเซียนและองค์กรอนุภูมิภาคต่างๆ ไทยและเวียดนามได้รับการมองว่ามีบทบาทสำคัญในการยกระดับสถานะของเศรษฐกิจภูมิภาค อีกทั้งสร้างความยุติธรรมทางสังคมและเสถียรภาพในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง แต่ละประเทศต่างมีแนวเศรษฐกิจเฉพาะเพื่อเชื่อมโยงกับเมียนมาร์ ลาวและกัมพูชา ความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศในอาเซียน ตลอดจนหุ้นส่วนใหญ่ๆนอกภูมิภาคได้สร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ ตลอดจนยืนยันถึงอิทธิพลในภูมิภาค

การเยือนประเทศไทยครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก เป็นโอกาสเพื่อให้ทั้งสองประเทศผลักดันสัมพันธไมตรีที่ยาวนานและแปรความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างสองประเทศให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อนำความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศนับวันยิ่งพัฒนา และเข้าสู่ส่วนลึกมากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด