ผลพวงจากเหตุก่อการร้ายที่ประเทศศรีลังกา

(VOVWORLD) - ชาวโลกยังคงหวาดผวาต่อเหตุวางระเบิดก่อการร้ายติดต่อกันหลายครั้งที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายร้อยคน ซึ่งถือเป็นเหตุนองเลือดที่รุนแรงที่สุดในรอบ 1 ทศวรรษหลังสงครามกลางเมืองยุติลง อีกทั้งการก่อเหตุครั้งนี้เกี่ยวโยงถึงการก่อการร้ายระหว่างประเทศ ซึ่งเสมือนเป็นคำเตือนให้ทุกประเทศต้องไม่ประมาทในกระบวนการต่อต้านการก่อการร้าย
ผลพวงจากเหตุก่อการร้ายที่ประเทศศรีลังกา - ảnh 1กองกำลังรักษาความมั่นคงในสถานที่เกิดเหตุ (Photo THX/VNplus)

 

ในวันอีสเตอร์ 21 เมษายน ได้เกิดเหตุลอบวางระเบิดที่โบสถ์และโรงแรมหรูในกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 300 คนและมีผู้ได้รับบาดเจ็บนับร้อยคน ซึ่งนับเป็นการก่อเหตุที่มุ่งเป้าไปยังประชาชนจนทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของศรีลังกานับตั้งแต่ที่สงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมา 26 ปีได้ยุติลงในปี 2009 ต่อจากนั้นเมื่อวันที่ 22 ที่ผ่านมา ก็ได้เกิดเหตุคาร์บอมใกล้โบสถ์ เซนต์แอนโธนี ในกรุงโคลัมโบในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังพยายามปลดชนวนระเบิด

สำหรับชาวศรีลังกา เหตุลอบวางระเบิดติดต่อกันได้ทำให้นึกถึงเหตุปะทะต่างๆในอดีตที่ยาวนานเกือบ 30 ปี ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100,000 คน

พบเบาะแสการก่อการร้ายระหว่างประเทศ

หนึ่งวันหลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของศรีลังกาได้แถลงอย่างเป็นทางการว่า กลุ่มก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรง National Thowheeth Jama ath หรือ NTJ เป็นผู้ก่อเหตุ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า NTJ ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายก่อการร้ายระหว่างประเทศ นี่คือข้อสรุปตามหลักฐานที่ปรากฎเพราะ NTJ คือกลุ่มหัวรุนแรงขนาดเล็กที่ไม่ได้รับรู้มากนักในศรีลังกา โดยกลุ่มนี้เคยทำลายพระพุทธรูปเมื่อปี 2018 เท่านั้นและไม่เคยเกี่ยวข้องกับเหตุก่อการร้ายนองเลือด ดังนั้น การที่กลุ่ม NTJ ก่อเหตุลอบวางระเบิดอย่างต่อเนื่องใส่สถานที่ที่มีชาวคริสต์อาศัยนั้นเป็นเรื่องที่เกินกว่าศักยภาพของพวกเขา

ส่วนนักวิเคราะห์ให้ข้อสังเกตว่า มีความเป็นไปได้สูงที่กลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสอยู่เบื้องหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูชื่อเสียงหลังจากที่ถูกกวาดล้างเกือบทั้งหมดในอิรักและซีเรีย นอกจากนี้ เหตุระเบิดในศรีลังกายังมีลักษณะเหมือนการก่อเหตุของกลุ่มไอเอสคือ มุ่งเป้าไปยังประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่ง เป็นพฤติกรรมป่าเถื่อนที่สร้างความหวาดผวาที่สุดและหลักฐานต่างๆก็มีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อแหล่งข่าวจากชุมชนชาวมุสลิมในศรีลังกาได้เปิดเผยว่า NTJ ได้ประกาศสนับสนุนไอเอสและผู้ก่อตั้งกลุ่ม NTJ คือนาย Zahran Hashim ก็ถูกกล่าวหาว่า เป็นหนึ่งในผู้ก่อเหตุด้วย

อาจจะเกิดเหตุปะทะครั้งใหม่

ศรีลังกาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการต่อต้านลัทธิก่อการร้าย การแยกตัวและเหตุวุ่นวายต่างๆ ในประชากรของศรีลังกา มีชาวคริสเตียนคิดเป็นร้อยละ 7 – 8 ชาวมุสลิมคิดเป็นร้อยละ 10 ชาวฮินดูคิดเป็นร้อยละ 13 ส่วนที่เหลือคือชาวพุทธ ดังนั้นการปะทะทางศาสนาและชาติพันธุ์เป็นปัญหาเรื้อรังของรัฐบาลศรีลังกาชุดต่างๆ ส่วนเหตุลอบวางระเบิดครั้งนี้ แม้ยังไม่สามารถระบุถึงเหตุจุงใจได้อย่างชัดเจนแต่นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่า การมุ่งเป้าไปยังชาวคริสต์อาจจุดชนวนการปะทะทางชาติพันธุ์ในศรีลังกาขึ้นอีก

สำหรับประชาคมโลก เหตุก่อการร้ายอย่างนองเลือดในศรีลังกาได้เป็นคำเตือนให้ทุกประเทศต้องตระหนักว่า ถึงแม้กลุ่มไอเอสในตะวันออกกลางจะพ่ายแพ้แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากลุ่มก่อการร้ายนี้จะหมดพิษลง ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก รัฐบาลได้ผลักดันกิจกรรมการตรวจสอบและข่าวกรองเพื่อเฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวของ “เครือข่ายก่อการร้ายที่กำลังหลบซ่อน” โดยตำรวจได้ตั้งอยู่ในภาวะเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุวุ่นวายต่างๆ โดยเฉพาะแผนการก่อความไม่สงบของกลุ่มกบฎ ส่วนในทวีปอเมริกา สหรัฐได้ยืนยันว่า ลัทธิก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงยังคงเป็นภัยคุกคามต่อโลกและสหรัฐจะต่อสู้กับภัยคุกคามนี้ต่อไป

เหตุระเบิดในสองสามวันที่ผ่านมาที่ประเทศศรีลังกาถือเป็นการยุติทศวรรษแห่งสันติภาพของประเทศนี้นับตั้งแต่ปี 2009 โดยไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบในทางลบต่อกระบวนการพัฒนาของประเทศนี้เท่านั้น หากยังแสดงให้เห็นว่า ลัทธิก่อการร้ายยังคงสามารถปรากฎตัวได้ทุกที่ทุกเวลาถ้าหากเรามีความประมาท.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด