ฟอรั่มปารีสเกี่ยวกับสันติภาพ: ร่วมมือแก้ไขความท้าทายในโลก

(VOVWORLD) - ในโอกาสที่โลกรำลึกครบรอบ 100 ปีวันลงนามข้อตกลงยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน ในปลายสัปดาห์นี้ ณ ประเทศฝรั่งเศส ผู้นำจากเกือบ 70 ประเทศจะเข้าร่วมฟอรั่มปารีสเกี่ยวกับสันติภาพ นี่คือโอกาสเพื่อผลักดันกระบวนการร่วมมือระหว่างประเทศให้ดีขึ้นเพื่อแก้ไขความท้าทายในโลก ตลอดจนเพื่อทำให้ระบบพหุภาคีมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผลงานของฟอรั่มนี้จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ไม่เข้าร่วมกิจกรรมนี้
ฟอรั่มปารีสเกี่ยวกับสันติภาพ: ร่วมมือแก้ไขความท้าทายในโลก - ảnh 1(Photo: vietnamhoinhap.vn

 

ฟอรั่มปารีสเกี่ยวกับสันติภาพจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฟอรั่มที่อยู่ในกรอบกิจกรรมต่างๆในโอกาสรำลึกครบรอบ 100 ปีวันลงนามข้อตกลงยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฟอรั่มปารีสเกี่ยวกับสันติภาพได้อาศัยรูปแบบการประชุม COP 21 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมาตรการใหม่ๆ มีการเข้าร่วมของผู้บริหารด้วยเป้าหมายคือผลักดันสันติภาพผ่านการบริหารโลกให้ดีขึ้นและส่งเสริมข้อคิดริเริ่มทุกข้อเพื่อมีส่วนร่วมลดความตึงเครียดระหว่างประเทศ

ผลักดันกลไกร่วมมือพหุภาคี

ฟอรั่มปารีสเกี่ยวกับสันติภาพคือส่วนหนึ่งของการรณรงค์โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอมานูเอล มาครง เป็นผู้ริเริ่มเพื่อยืนยันอีกครั้งถึงความสำคัญของลัทธิพหุภาคีและปฏิบัติการร่วมเพื่อรับมือกับความท้าทายในปัจจุบัน เช่นการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจ ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ การก่อการร้าย อาชญากรรมบนอินเตอร์เน็ต เขตที่ร้อนระอุและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งใช้ความสนใจของประชามติโลกเกี่ยวกับสัปดาห์รำลึกวันยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเพื่อเรียกร้องให้ต่อต้านลัทธิชาตินิยม และปฏิบัติเพื่อตอกย้ำคำเตือนของเขาว่า โลกกำลังจะลืมบทเรียนจากการปะทะครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 20

หัวข้อ 5 ประเด็นที่ได้รับการหารือในฟอรั่มปารีสเกี่ยวกับสันติภาพ ประกอบด้วย สันติภาพและความมั่นคง สิ่งแวดล้อม การพัฒนา เทคโนโลยีดิจิตอล เทคโนโลยีใหม่และเศรษฐกิจในรอบด้าน ซึ่งล้วนเป็นปัญหาที่เร่งด่วนของโลกในปัจจุบัน ซึ่งบนพื้นฐานหัวข้อ 5 ประเด็นนี้  150 โครงการจะได้รับการรายงาน เพื่อมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการทำให้กระบวนการร่วมมือระหว่างประเทศที่ดีขึ้นด้วยกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่มีความยุติธรรมและความเสมอภาค ตลอดจนระบบพหุภาคีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การที่ผู้นำจากนับสิบประเทศ ผู้บริหารรัฐบาล องค์การระหว่างประเทศและองค์การสังคมพลเรือนเข้าร่วมฟอรั่มได้สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจของประชาคมโลกต่อการร่วมมือพหุภาคีเพื่อร่วมกันแก้ไขความท้าทายในโลก

ขาดการเข้าร่วมของสหรัฐ

ถึงแม้จะยังคงเดินทางไปยังกรุงปารีสพร้อมกับผู้นำของ 70 ประเทศเพื่อเข้าร่วมพิธีรำลึก 100 ปีวันยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ปฏิเสธไม่เข้าร่วมฟอรั่มสันติภาพ ซึ่งการตัดสินใจของผู้นำทำเนียบขาวไม่ได้สร้างความแปลกใจให้แก่ประชามติ เพราะนาย โดนัลด์ ทรัมป์ เห็นว่า เป้าหมายของฟอรั่มไม่สอดคล้องกับแนวทาง “America first” หรือ “ประเทศสหรัฐต้องมาก่อน” ของตน

ท่าทีนี้ของประธานาธิบดีสหรัฐมีขึ้นหลังจากตัดสินใจถอนตัวออกจากข้อตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับที่สหรัฐเคยเข้าร่วม รวมทั้งข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกหรือทีพีพี ข้อตกลงด้านนิวเคลียร์กับอิหร่าน ถอนตัวจากองค์การยูเนสโกและคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ ในการกล่าวปราศรัยเป็นเวลา 35 นาทีในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติเมื่อวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา นอกจากปัญหาอิหร่าน ประธานาธิบดีสหรัฐยังปฏิเสธแนวโน้มโลกาภิวัตน์และยืนยันว่า จะปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐ

ท่าทีดังกล่าวของสหรัฐได้ถูกตำหนิอย่างเข้มแข็งจากประชามติโลก โดยเฉพาะนโยบาย“ประเทศสหรัฐต้องมาก่อน” ของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ เพราะว่า ลัทธิคุ้มครองจะนำไปสู่การเพิ่มความตึงเครียด และถ้าหากประเทศต่างๆยกเลิกคำมั่นปกป้องหลักการขั้นพื้นฐาน สงครามโลกก็จะกลับมา

 โลกกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆที่ไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง การจัดฟอรั่มปารีสเกี่ยวกับสันติภาพได้รับการประเมินว่า เป็นความพยายามที่น่าชื่นชมเพื่อให้ประเทศต่างๆร่วมกันแก้ไข แต่เรื่องนี้จะลำบากมากขึ้นเมื่อผู้นำของสหรัฐปฏิเสธไม่เข้าร่วมฟอรั่มนี้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด