ยืนยันคำมั่นและบทบาทของเวียดนามในความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น

(VOVworld) – ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ วันที่ 2 กรกฎาคม ท่าน เหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำแม่โขง-ญี่ปุ่นครั้งที่ 7 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นการประชุมสำคัญเพื่อเห็นพ้องแนวทางความร่วมมือแม่ โขง-ญี่ปุ่นในช่วงปี 2016-2018 เวียดนามเข้าร่วมการประชุมเพื่อยืนยันถึงคำมั่นและบทบาทต่อความร่วมมือแม่ โขง-ญี่ปุ่น พร้อมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือมิตรภาพกับประเทศต่างๆในเขตอนุภูมิภาคแม่น้ำ โขงและพัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับญี่ปุ่นให้มีความลึกซึ้งมาก ขึ้น
(VOVworld) – ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ วันที่ 2 กรกฎาคม ท่าน เหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำแม่โขง-ญี่ปุ่นครั้งที่ 7 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นการประชุมสำคัญเพื่อเห็นพ้องแนวทางความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่นในช่วงปี 2016-2018 เวียดนามเข้าร่วมการประชุมเพื่อยืนยันถึงคำมั่นและบทบาทต่อความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น พร้อมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือมิตรภาพกับประเทศต่างๆในเขตอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงและพัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับญี่ปุ่นให้มีความลึกซึ้งมากขึ้น
ยืนยันคำมั่นและบทบาทของเวียดนามในความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น - ảnh 1
บรรดาผู้นำประเทศที่เข้าร่วมการประชุมผู้นำแม่โขง-ญี่ปุ่นครั้งที่ 6
การประชุมผู้นำแม่โขง-ญี่ปุ่นครั้งที่ 7 ณ กรุงโตเกียวได้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่ความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่นกำลังประสบผลสำคัญๆ ที่ประชุมครั้งนี้จะสรุปผลความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น โดยเฉพาะผลการปฏิบัติแผนปฏิบัติการแม่โขง-ญี่ปุ่นในช่วงปี 2013-2015 และวางแนวทางที่จะให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆในเวลาที่จะถึง
ประสิทธิภาพของกลไกร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น

กลไกความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่นได้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2007และจนถึงขณะนี้ กลไกนี้ได้บรรลุประสิทธิผลที่เข้มแข็ง ญี่ปุ่นได้กำหนดว่า ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเป็นเขตที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากเงินโอดีเอ ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทยและเวียดนาม ความสัมพันธ์หุ้นส่วนญี่ปุ่น-แม่โขงเน้นถึงด้านที่จะให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ เช่นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน การขยายความเชื่อมโยงภูมิภาค ผลักดันการค้า-การลงทุน แก้ปัญหาความยากจน ควบคุมโรคระบาดและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาในอาเซียนและสนับสนุนเป้าหมายจัดตั้งประชาคมอาเซียน
ในตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้ให้การช่วยเหลือเงินโอดีเอเป็นจำนวนมากเพื่อให้ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนามพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะได้สงวนเงิน 20 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่ 4 ประเทศดังกล่าว เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกและแนวนครโฮจิมินห์-พนมเป็ญ-กรุงเทพฯ ญี่ปุ่นยังจัดเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการหรือโอดีเอ รวม 5 แสนล้านเยนเพื่อให้การช่วยเหลืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในช่วงปี 2009-2012 เพิ่มเงินโอดีเอให้แก่เวียดนาม ลาวและกัมพูชา ในช่วงปี 2013-2015 ญี่ปุ่นได้ให้คำมั่นว่า จะสงวนเงินโอดีเอประมาณ 6 แสนล้านเยนให้แก่ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อไปเพื่อมีส่วนร่วมปฏิบัติแผนปฏิบัติการในช่วงนี้ แม่โขง-ญี่ปุ่นยังปฏิบัติโครงการ “ข้อคิดริเริ่มร่วมมือเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแม่โขง-ญี่ปุ่น” ปฏิบัติข้อคิดริเริ่ม “ทศวรรษแม่โขงแห่งสีเขียว”โดยเน้นถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การบริหารป่าไม้อย่างยั่งยืน การป้องกันและต่อต้านภัยธรรมชาติและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในตัวเมือง
ยืนยันคำมั่นและบทบาทของเวียดนามในความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น - ảnh 2
นายกรัฐมนตรีเวียดนามและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ยืนยันบทบาทที่กระตือรือร้นในกลไกความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น
เวียดนามได้เข้าร่วมกิจกรรมของกลไกความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่นอย่างเข้มแข็งนับตั้งแต่กลไกนี้ได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2007 โดยในเวียดนาม หลายโครงการได้รับการปฏิบัติในกรอบความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น เช่นโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก แหลกเหวี่ยน ไฮฟอง โครงการก่อสร้างศูนย์ฝึกสอนอาชีพแม่โขง-ญี่ปุ่น โครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมโลจิสติกระดับอนุภูมิภาคในเวียดนาม โครงการร่วมมือระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงในด้านศุลกากรของภูมิภาคแม่โขงและทางด่วนบางแห่ง เวียดนามยังมีส่วนร่วมสำคัญต่อกลไกความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น เช่น ข้อคิดริเริ่มเกี่ยวกับการบูรณาการระบบคมนาคมเพื่อใช้ประโยชน์จากแม่น้ำ ประสานงานและให้การช่วยเหลือการขนส่งทางบกและทางทะเลซึ่งได้เป็นประโยชน์เป็นอย่างมากต่อภูมิภาค อาทิ การใช้ประโยชน์ระบบคมนาคมทางบกและแนวคมนาคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดจำนวนยานพาหนะในเส้นทางสายหลักๆ นาย บุ่ยแทงเซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เผยว่าการผลักดันการเชื่อมโยงคมนาคมทางน้ำก็เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายและใช้ความได้เปรียบของภูมิภาคที่มีแม่น้ำโขงและแม่น้ำสายอื่นๆที่เชื่อมกับประเทศต่างๆเพื่อช่วยลดการเดินทางและการขนส่งทางบกและทางทะเลเพื่อผลักดันการแลกเปลี่ยนสินค้า ตลอดจนการท่องเที่ยวระหว่างประเทศต่างๆในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและประเทศในลุ่มน้ำโขงกับนอกภูมิภาค”
เวียดนามยังเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อผลักดันการพัฒนาการท่องเที่ยว การพบปะสังสรรค์ระดับประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและหุ้นส่วนต่างๆ รวมทั้งญี่ปุ่น ในฟอรั่มการท่องเที่ยวแม่โขงปี 2015 เมื่อเร็วๆนี้ ณ นครดานัง นาย เลแค้งหาย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวได้ย้ำว่าเวียดนามมีความประสงค์ที่จะเชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยวเวียดนามกับสถานที่ท่องเที่ยวในภูมิภาค ตลอดจนกับหุ้นส่วนอื่นๆเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและดึงดูดใจนักท่องเที่ยว สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติประเทศลุ่มน้ำโขงต้องประสานงาน เสนอกลไก นโยบายและอำนวยความสะดวกให้แก่การสัญจร ส่งเสริมสถานประกอบการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยว สร้างสรรค์และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ระหว่างเขตและประเทศ”
นายกรัฐมนตรี เหงียนเติ๊นหยุงเข้าร่วมการประชุมผู้นำแม่โขง-ญี่ปุ่นครั้งที่ 7 เพื่อมีส่วนร่วมขยายความร่วมมือแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่นในระยะต่อไปตามแนวทางให้การช่วยเหลือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้เข้มแข็งมากขึ้น รวมทั้งเวียดนามเพื่อยืนยันถึงคำมั่นและบทบาทของเวียดนามต่อความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น เสริมสร้างความสัมพันธ์ร่วมมือมิตรภาพกับประเทศต่างๆในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผลักดันความไว้วางใจทางการเมือง พัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในทุกด้านกับญี่ปุ่นให้เข้าสู่ส่วนกว้างและส่วนลึกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด