ยุโรปและความพยายามในการเสริมสร้างสถานะในปี2017

(VOVWORLD) -ในปี2017  ยุโรปได้พยายามเสริมสร้างความสามัคคีภายในกลุ่มหลังการตัดสินใจถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปหรืออียูของอังกฤษและวางมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ  ยุโรปได้ปฏิบัติแผนการสร้างสรรค์กองกำลังทหารร่วมผ่านการประกาศจัดตั้งกลไกความร่วมมือแบบถาวรด้านกลาโหมหรือ PESCO  ซึ่งถือเป็นก้าวเดินใหม่ในกระบวนการพัฒนายุโรป
ยุโรปและความพยายามในการเสริมสร้างสถานะในปี2017 - ảnh 1บรรดาผู้นำอียู(Photo: EPA/TTXVN) 

ปี2017เป็นปีที่เต็มไปด้วยอุปสรรคและความท้าทายต่อยุโรป  โดยยุโรปต้องแก้ไขความขัดแย้งภายในกลุ่มเกี่ยวกับการจัดสรรผู้อพยพ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ รับมือกับการก่อการร้าย เสริมสร้างความสามัคคีในการเจรจาเกี่ยวกับการแยกตัวออกจากอียูของอังกฤษหรือ Brexit ซึ่งสิ่งที่ยุโรปได้ทำในปี2017เพื่อแก้ไขอุปสรรคดังกล่าวถือเป็นก้าวเดินที่น่าพอใจ

การเพิ่มทักษะความสามารถด้านกลาโหม

  หลังจากที่อังกฤษประกาศแยกตัวออกจากอียู  อียูต้องฟื้นฟูโครงการเก่าเกี่ยวกับพันธมิตรป้องกันตนเองเพื่อมุ่งสู่การจัดตั้งกองทัพร่วมของยุโรป  โดยในการประชุมผู้นำอียูเมื่อวันที่14-15ธันวาคมที่ผ่านมา ผู้นำของ25ประเทศสมาชิกอียูยกเว้นอังกฤษ เดนมาร์กและมอลตาได้ประกาศจัดตั้งกลไกความร่วมมือแบบถาวรด้านกลาโหมหรือ PESCO  ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือด้านกลาโหมของยุโรปและถือเป็นข้อตกลงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทัพร่วมของอียู  ซึ่งแผนการดังกล่าวถูกคาดหวังว่าจะช่วยให้อียูกลายเป็นองค์การทางทหารและความมั่นคงชั้นนำของโลกและทัดเทียมกับสถานะทางเศรษฐกิจการเมืองที่มีอยู่

อียูจะสงวนงบประมาณในการปกป้องตนเอง มูลค่า5พันล้านยูโรเพื่อซื้ออาวุธ กิจกรรมทางทหารและการวิจัย  โดยแต่ละประเทศสมาชิกต้องเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหมคือสงวนร้อยละ20ให้แก่การซื้ออาวุธยุโธปกรณ์และร้อยละ2ให้แก่การวิจัยเทคโนโลยี  PESCOก็มุ่งสู่การจัดตั้งศูนย์บัญชาการเกี่ยวกับเสนารักษ์ การขนส่ง  ศูนย์รับมือกับภัยพิบัติและโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทหารร่วม แต่อย่างไรก็ดี ต้องใช้เวลานานเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของ PESCOแต่ในภาพรวมแล้วปัญหาที่ถูกระบุใน PESCOต่างแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาตนเองของยุโรป  ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในสภาวการณ์ที่สหรัฐและนาโต้เคยตำหนิเจ้าหน้าที่อียูเกี่ยวกับการพึ่งพาสหรัฐในการปกป้องความมั่นคงของกลุ่ม

ยุโรปและความพยายามในการเสริมสร้างสถานะในปี2017 - ảnh 2ชาวอังกฤษนับพันคนได้ออกสู่ท้องถนนเพื่อคัดค้านการที่อังกฤษถอนตัวออกจากอียู (Photo: EPA/TTXVN) 

เสริมสร้างความสามัคคีภายในอียู

  ปี2017ครบรอบ60ปีการจัดตั้งสหภาพยุโรปหรืออียู นี่เป็นโอกาสเพื่อให้อียูเสริมสร้างความสามัคคีภายในกลุ่มหลัง Brexit  โดยผู้นำ27ประเทศสมาชิกอียูได้ลงนามในแถลงการณ์โรมที่ให้คำมั่นมุ่งสู่อนาคตร่วมที่ไม่มีอังกฤษ พร้อมทั้ง ยืนยันความตั้งใจที่จะเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่อียูผ่านความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ความสามัคคีและการเคารพหลักการร่วม

เพื่อส่งเสริมสถานะของอียู  ในปี2017 ได้มีการเปิดตัวหนังสือปกขาวเกี่ยวกับอนาคตของยุโรป   โดยเสนอ5แผนการเปลี่ยนแปลงใหม่อียูในระดับการผสมผสานที่แตกต่างกัน  โดยบรรดาประเทศสมาชิกอียูที่มีความประสงค์ผลักดันความร่วมมือในด้านกลาโหมและการบริหารเขตยูโรโซนจะไม่ถูกขัดขวางจากประเทศสมาชิกที่ยังไม่มีการตัดสินใจที่แน่นอน

การเพิ่มความเข้มแข็งของยุโรปต้องผสานกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ในปี2017 ยุโรปได้ประกาศนโยบายใหม่เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรป  ธนาคารกลางยุโรปได้ประกาศที่จะซื้อหนี้จากภาครัฐและภาคเอกชน ไม่เพิ่มดอกเบี้ยระยะยาวเพื่อเอื้อให้แก่การปฏิบัตินโยบายการเงินที่เปิดกว้างมากขึ้น    ธนาคารกลางยุโรปก็ได้ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้อยู่ในระดับต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์และปล่อยเงินกู้ด้วยดอกเบี้ยต่ำแก่ธานาคารและซื้อพันธบัตรมูลค่า1.8พันล้านยูโร

เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการยุโรปหรืออีซีได้ประกาศวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการปฏิรูปเขตยูโรโซน รวมทั้ง การจัดตั้งกองทุนการเงินของยุโรปเพื่อส่งเสริมความเป็นฝ่ายรุกในการปฏิบัติโครงการช่วยเหลือทางการเงินในอนาคตและการช่วยเหลือด้านการลงทุน   อีซียังเร่งรัดให้จัดตั้งเครือข่ายธนาคารร่วมในเขตยูโรโซน ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มที่มีขึ้นเมื่อหลายปีก่อนหลังจากที่ประเทศต่างๆ เช่น ไอร์แลนด์ สเปนและกรีซตกสู่ภาวะวิกฤตทางการเงิน

ในปี2017 แม้จะไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งเกี่ยวกับการแก้ไขวิกฤตผู้อพยพและการรับมือกับการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายแบบหมาป่าโดดเดี่ยว”ยังไม่มีประสิทธิภาพแต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธความพยายามในการฟื้นฟูสถานะของยุโรป  ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้ประเทศยุโรปเชื่อมโยงกันมากขึ้นในอนาคต. 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด