วิกฤตผู้อพยพในยุโรป

(VOVworld)วันที่ 27 สิงหาคม การประชุมสุดยอดเขตะวันตกบอลข่านได้เปิดขึ้น ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ตามกำหนดการและธรรมเนียมปฏิบัติของการประชุม ผู้นำของรัฐบาล รัฐมนตรีและตัวแทนระดับสูงของสหภาพยุโรปหรืออียูจะหารือถึงความร่วมมือใน ภูมิภาคและศักยภาพของประเทศในภาคตะวันตกเขตบอลข่านที่มีความประสงค์เข้าเป็น สมาชิกของอียู แต่วิกฤตผู้อพยพในยุโรปมีความเสี่ยงที่จะทำให้ระเบียบวาระการประชุมครั้งนี้ เปลี่ยนแปลงไป

(VOVworld)วันที่ 27 สิงหาคม การประชุมสุดยอดเขตะวันตกบอลข่านได้เปิดขึ้น ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ตามกำหนดการและธรรมเนียมปฏิบัติของการประชุม ผู้นำของรัฐบาล รัฐมนตรีและตัวแทนระดับสูงของสหภาพยุโรปหรืออียูจะหารือถึงความร่วมมือในภูมิภาคและศักยภาพของประเทศในภาคตะวันตกเขตบอลข่านที่มีความประสงค์เข้าเป็นสมาชิกของอียู แต่วิกฤตผู้อพยพในยุโรปมีความเสี่ยงที่จะทำให้ระเบียบวาระการประชุมครั้งนี้เปลี่ยนแปลงไป

วิกฤตผู้อพยพในยุโรป - ảnh 1
ผู้อพยพจากแอฟริกาเหนือลี้ภัยไปยังยุโรป(Eurucate)


ในหลายวันที่ผ่านมา ยุโรปต้องเผชิญกับแรงกดดันจากกระแสผู้อพยพจากตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือและเขตตะวันตกบอลข่านที่นับวันเพิ่มมากขึ้น ในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวและอัตราคนว่างงานอยู่ในระดับสูง ปัญหาผู้อพยพกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างอุปสรรคมากขึ้นต่อยุโรปทั้งด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงและสังคม
วิกฤตผู้อพยพที่เลวร้ายที่สุด
วิกฤตผู้อพยพที่ยุโรปกำลังต้องเผชิญถือว่ารุนแรงที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามรายงานสถิติของสำนักงานชายแดนอียู ตั้งแต่ต้นปีนี้มาจนถึงปัจจุบัน มีผู้อพยพประมาณ 1 แสน 2 พันคนไปยังอียูผ่านมาซิโดเนีย เซอร์เบีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา อัลบาเนีย มอนเตเนโกร โคโซโวและฮังการีซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 8000 คน โดยเฉพาะฮังการีได้กลายเป็นจุดร้อนแรงในวิกฤตผู้อพยพที่เลวร้ายที่สุดในกว่าครึ่งทศวรรษที่ผ่านมาในยุโรปโดยต้องรองรับผู้อพยพนับหมื่นคนในทุกๆวัน ในฐานะสมาชิกของ 26 ประเทศที่ลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับการเดินทางอย่างเสรีในยุโรปหรือเชงเก้น ฮังการีกำลังกลายเป็นจุดหมายปลายทางของผู้อพยพผ่านประเทศต่างๆในเขตบอลข่าน ตำรวจของฮังการีได้เผยว่า ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปัจจุบันได้มีผู้อพยพชาวเซอร์เบียกว่า 1 แสน 4 หมื่นคนข้ามชายแดนไปยังฮังการีซึ่งสูงกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม  สถานการณ์ได้ทวีความตึงเครียดมากขึ้นหลังจากตำรวจฮังการีใช้แก๊สน้ำตาเพื่อขัดขวางผู้อพยพทที่อยากเดินทางออกจากศูนย์รองรับผู้อพยพใกล้เขตชายแดนแห่งหนึ่งที่ติดกับเซอร์เบียจนทำให้รัฐบาลฮังการีต้องระดมกองกำลังทหารเข้าไปให้การช่วยเหลือกองกำลังที่กำลังปฏิบัติหน้าที่
กระแสผู้อพยพข้ามชายแดนได้ทำให้หลายประเทศตกเข้าสู่ภาวะไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้และยุโรปกำลังสับสนในการแก้ไขปัญหานี้โดยหลายประเทศได้ปฏิบัติมาตรการที่แข็งกร้าวเพื่อขัดขวางกระแสผู้อพยพทั้งทางทะเลและทางบก สัปดาห์ที่แล้ว มาซิโดเนียได้ประกาศภาวะฉุกเฉินโดยปิดจุดผ่านแดนเป็นเวลา 3 วันเพื่อรับมือกับกระแสผู้อพยพจากกรีซ ในขณะเดียวกัน ทางการบูดาเปสต์ได้เสร็จสิ้นการติดตั้งรั้วลวดหนามยาว 175 กิโลเมตรตามแนวชายแดนที่ติดกับเซอร์เบียเพื่อขัดขวางกระแสผู้อพยพ

วิกฤตผู้อพยพในยุโรป - ảnh 2
ผู้อพยพไปยังเกาะต่างๆของกรีซ (AP)

เหตุผลมาจากไหน
ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ สาเหตุของวิกฤตผู้อพยพคือสถานการณ์ความยากจนในประเทศต่างๆในภาคตะวันตกของเขตบอลข่านโดยเหตุผลหลักของความยากจนก็คือผลกระทบจาก การปฏิวัติ“ฤดูใบไม้ผลิอาหรับ” ในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือและ “การปฏิวัติดอกมะลิ”ในประเทศต่างๆ เช่นลิเบีย อียิปต์และซีเรียซึ่งการปฏิวัตินี้ได้ทำให้หลายประเทศตกเข้าสู่สถานการณ์ไร้เสถียรภาพและสร้างกระแสผู้อพยพ กระแสผู้อพยพไปยังยุโรปได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อปี 2014 เนื่องจากการปะทะและความไร้เสถียรภาพที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในซีเรีย อิรักและบางประเทศในแอฟริกาเหนือ ตุรกีต้องรองรับผู้ลี้ภัยเกือบ 2 ล้านคนซึ่งส่วนใหญ่คือชาวซีเรียที่หนีภัยการปะทะภายในประเทศซึ่งในนั้นผู้ลี้ภัยนับพันคนต้องอพยพผ่านชายแดนไปยังบัลแกเรียและกรีซอย่างผิดกฎหมาย นอกจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งเป็นเส้นทางทะเลที่อันตรายที่สุดต่อผู้อพยพแล้ว ในปีนี้ได้มีผู้อพยพกว่า 240 คนเสียชีวิตในทะเลแดงและอ่าวเอเดนจากจำนวนผู้อพยพกว่า 8 หมื่น 2 พันคนที่อพยพผ่านเส้นทางนี้ แต่ผู้อพยพส่วนใหญ่มาจากเอธิโอเปียและโซมาเลียเพื่อหาทางไปยังเยเมน ซาอุดิอาระเบียหรือประเทศต่างๆในอ่าวเปอร์เซีย นอกจากนั้น เหตุผลอื่นๆก็คือสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว การละเมิดสิทธิมนุษยชนและความมั่นคงในประเทศจึงทำให้ผู้อพยพไม่มีทางเลือกอื่อนอกจากการลี้ภัย
ผลกระทบจากการเพิ่มกระแสผู้อพยพ

ปัญหาผู้อพยพกำลังสร้างความท้าทายไม่น้อยให้แก่แต่ละประเทศและภูมิภาค โดยเฉพาะอียูที่กำลังเผชิญกับสองวิกฤตซ้อนกล่าวคือ ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจเพิ่งคลี่คลายลงและปัญหานี้สาธารณะของกรีซยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างสมบูรณ์ วิกฤตผู้อพยพได้ทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้นซึ่งสามารถสร้างความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจสังคม แต่ถึงแม้เยอรมนีและฝรั่งเศสได้เรียกร้องให้มีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในอียูเกี่ยวกับผู้อพยพแต่วิธีการแก้ไขปัญหานี้ยังทำให้สมาชิกอียูมีการถกเถียงกันโดยเมื่อเร็วๆนี้ อีซีได้มีข้อเสนอแนะที่สร้างการถกเถียงคือประเทศสมาชิกอียูต้องรองรับผู้อพยพตามการจัดสรรโควต้า แต่จนถึงปัจจุบัน อังฤษและบางประเทศยังคงคัดค้านแผนการนี้ ในขณะที่ยังไม่มีแผนการร่วม ประเทศต่างๆในยุโรปต้องทำการแก้ไขปัญหานี้กันเอง
ในการประชุมสุดยอดภาคตะวันตกของเขตบอลข่านที่มีขึ้นในวันที่ 27 สิงหาคม ประเทศเจ้าภาพออสเตรียได้เสนอแผนปฏิบัติการ 5 ข้อ ประกอบด้วยการปราบปรามแก๊งค้ามนุษย์ การจัดสรรโควต้าผู้อพยพที่มีความยุติธรรมมากขึ้นในอียู มีความร่วมมือด้านความมั่นคงที่กว้างขวางมากขึ้น ให้การช่วยเหลือประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางของผู้อพยพและยุทธศาสตร์ผู้อพยพระหว่างยุโรป บรรดานักวิเคราะห์ได้แสดงความเห็นว่า สำหรับอียู ปัญหาผู้อพยพไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ งานทำและความมั่นคงเท่านั้น หากยังสร้างปัญหาเกี่ยวกับระเบียบการอีกด้วย การถกเถียงเกี่ยวกับมาตรการที่ได้รับการยอมรับทั้งด้านกฎหมายและมนุษยธรรมยังคงเป็นปัญหาที่ยังไม่มีทางออก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด