สัญญาณที่ไม่สดใสของการแก้ไขปัญหาผู้อพยพย้ายถิ่น

(VOVWORLD) - ในหลายวันที่ผ่านมา ได้มีบางประเทศที่ประกาศว่า จะถอนตัวจากอนุสัญญาว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศของสหประชาชาติและจะไม่เข้าร่วมการประชุมลงคะแนนผ่านความเห็นชอบเอกสารดังกล่าวของสหประชาชาติในช่วงกลางเดือนธันวาคม ณ ประเทศโมร็อกโก ซึ่งการถอนตัวจากอนุสัญญาฯที่ประเทศต่างๆได้เห็นพ้องกันเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อความพยายามแก้ไขปัญหาการอพยพย้านถิ่นระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์การพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดในโลกและแสดงให้เห็นถึงอุปสรรคและความซับซ้อนของการแก้ไขปัญหาในขอบเขตทั่วโลก
สัญญาณที่ไม่สดใสของการแก้ไขปัญหาผู้อพยพย้ายถิ่น - ảnh 1ผู้อพยพจากเม็กซิโกรอเดินทางไปยังสหรัฐ (Reuters )

ออสเตรเลียเป็นประเทศล่าสุดที่เพิ่งประกาศถอนตัวจากอนุสัญญาว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ก่อนหน้านั้น สหรัฐ ฮังการี ออสเตรีย สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์และอิสราเอลก็ได้ประกาศว่า จะไม่เข้าร่วมอนุสัญญาดังกล่าว

อนุสัญญาว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศของสหประชาชาติตั้งไว้ 23 เป้าหมายเพื่อค้ำประกันการอพยพย้านถิ่นที่ชอบด้วยกฎหมาย ยืนยันและปกป้องสิทธิของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพโดยเฉพาะสตรีและเด็กอย่างสมบูรณ์ และป้องกันการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มเป้าหมายนี้

สาเหตุ

ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ยกเว้นสหรัฐได้เห็นพ้องเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศของสหประชาชาติเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาหลังการเจรจาเป็นเวลา 18 เดือน ซึ่งถือเป็นการเจรจาที่เต็มไปด้วยความลำบากเพราะเกี่ยวข้องถึงสิทธิและผลประโยชน์ของแต่ละประเทศในการแก้ไขปัญหาการอพยพย้ายถิ่น โดยการขัดขวางมาตรการแก้ไขกระแสผู้อพยพอย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งการที่รัฐบาลประเทศต่างๆต้องการส่งผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารระบุตัวกลับประเทศถือเป็นความขัดแย้งที่สำคัญระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งสร้างความวิตกกงวัลและทำให้บางประเทศตัดสินใจถอนตัวจากอนุสัญญาฯถึงแม้ได้เห็นด้วยกับอนุสัญญาฉบับนี้แล้วก็ตาม โดยนาย Scott Morrison นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียได้ให้เหตุผลว่า การให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวอาจทำให้การลักลอบเข้าออสเตรเลียอย่างผิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบในทางลบต่อผลสำเร็จซึ่งยากที่จะบรรลุได้  ในกระบวนการต่อต้านการค้ามนุษย์ ส่วนเจ้าหน้าที่บางคนในคณะรัฐมนตรีออสเตรเลียได้เผยว่า อนุสัญญาดังกล่าวไม่สอดคล้องกับนโยบายและไม่เอื้อประโยชน์ให้แก่ออสเตรเลีย

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลโปแลนด์ที่นิยมฝ่ายขวาก็ประกาศว่า จะไม่สนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศของสหประชาชาติเพราะไม่ค้ำประกันความมั่นคงของชาติและอาจนำไปสู่ปัญหากระแสผู้อพยพย้ายถิ่นอย่างผิดกฎหมาย อีกทั้งขัดกับประเด็นต่างๆที่โปแลนด์ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ รวมทั้งการค้ำประกันความปลอดภัยให้แก่พลเมืองและการเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายควบคุมกระแสผู้อพยพและย้ำว่า อนุสัญญาว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศของสหประชาชาติไม่มีข้อผูกมัดเพื่อค้ำประกันสิทธิอธิปไตยของประเทศต่างๆ ส่วนฮังการีและสาธารณรัฐเช็กยืนหยัดจุดยืนที่แข็งกร้าวต่อการรับผู้อพยพเพราะเห็นว่า ปัญหานี้เป็นภัยคุกคามต่อความมีเสถียรภาพของยุโรปและส่งผลกระทบต่อเขตชายแดนทางทิศใต้ของฮังการี

ผลกระทบ

การที่เอกสารเกี่ยวกับการควบคุมการอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศฉบับแรกถูกคัดค้านจากประเทศต่างๆแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนและอ่อนไหวของปัญหาดังกล่าว ซึ่งการแก้ไขปัญหาการอพยพย้ายถิ่นในทางเป็นจริงแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบและความมีมนุษยธรรมของประเทศที่รับผู้ลี้ภัยถึงแม้ปัญหาจะส่งผลกระทบในทางลบต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศนั้นๆ

อย่างไรก็ตาม การที่นานาประเทศไม่สามัคคีกันเพื่อแก้ไขปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการค้ำประกันการอพยพย้ายถิ่นที่ชอบด้วยกฎหมายและการบริหารกระแสผู้อพยพในโลกให้ดีขึ้นในสภาวการณ์ที่จำนวนผู้อพยพได้เพิ่มขึ้นถึง 250 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 3 ของประชากรโลก

บรรดาผู้นำประเทศต่างๆได้เผยว่า ถ้าหากอนุสัญญาว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศของสหประชาชาติได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะช่วยสร้างกลไกให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติมีความรับผิดชอบมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพและผู้ลี้ภัยในโลก ดังนั้น เมื่อประเทศต่างๆประกาศถอนตัวจากอนุสัญญาว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศของสหประชาชาติ โดยเป็นประเทศยุโรปถึงครึ่งหนึ่ง นาย ฌอง-โคลด ยุงเคอร์ประธานคณะกรรมการยุโรปได้ตำหนิการกระทำดังกล่าวและเตือนว่า อียูจะสูญเสียบทบาทเป็นผู้นำในการแก้ไขวิกฤตผู้อพยพถ้าหากประเทศสมาชิกอียูอื่นๆก็ประกาศถอนตัวจากอนุสัญญาดังกล่าวเช่นกัน ส่วนนาง อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้ประเมินว่า เอกสารนี้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของเยอรมนีและเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลก

การที่ปัญหาผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัยเป็นประเด็นที่สร้างความถกเถียงอย่างรุนแรงทั้งที่สหรัฐและยุโรปแสดงให้เห็นว่า นี่ไม่ใช่เป็นความท้าทายของประเทศใดประเทศหนึ่ง หากเป็นวิกฤตระดับโลกที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังนั้น จึงไม่มีประเทศใดสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ด้วยตนเองเพียงลำพัง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด