สหประชาชาติกับความพยายามปฏิรูปภายหลัง 72 ปีของการก่อตั้งและพัฒนา

(VOVWORLD) -การประชุมเกี่ยวกับการปฏิรูปองค์กรสหประชาชาติได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน ซึ่งเป็นกิจกรรมเปิดสัปดาห์สุดยอดของการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติครั้งที่ 72 ที่มีขึ้น ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐ โดยมีกว่า 120 ประเทศได้ลงนามแถลงการณ์ทางการเมืองที่สนับสนุนความพยายามปฏิรูปองค์กรสหประชาชาติของนาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาการปฏิรูปสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดของโลกเป็นเรื่องที่จำเป็นของทั้งองค์กรสหประชาชาติและประชาคมระหว่างประเทศ
สหประชาชาติกับความพยายามปฏิรูปภายหลัง 72 ปีของการก่อตั้งและพัฒนา - ảnh 1 การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติครั้งที่ 72

การประชุมครั้งนี้มีตัวแทนของ 193 ประเทศที่เป็นสมาชิกของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติเข้าร่วม ซึ่งนอกจากหารือในประเด็นร้อนต่างๆ เช่น ปัญหาความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการต่อต้านการก่อการร้าย ที่ประชุมยังหารือถึงการปฎิรูปองค์กรสหประชาชาติอีกด้วย

การปฏิรูปองค์กรสหประชาชาติ นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่

การปฏิรูปองค์กรสหประชาชาติได้มีขึ้นนานแล้วแต่เป็นการปฏิบัติที่เชื่องช้าและระมัดระวัง เมื่อเดือนกันยายนปี 2000 สหประชาชาติได้จัดการประชุมสุดยอดสหัสวรรษและอนุมัติแถลงการณ์สหัสวรรษที่ระบุเป้าหมายการให้สิทธิพิเศษของสหประชาชาติในศตวรรษใหม่ รวมถึงเป้าหมายการปฏิรูปเพื่อส่งเสริมบทบาท ประสิทธิภาพและความเป็นประชาธิปไตยของสหประชาชาติ หลังจากนั้น 3 ปี ในรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติแถลงการสหัสวรรษ นาย โคฟีอันนัน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติในสมัยนั้นได้ตัดสินใจจัดตั้งกลุ่มวิจัยและเสนอมาตรการรับมือความท้าทายในด้านสันติภาพ ความมั่นคงและการปฏิรูปองค์กรสหประชาชาติ ต่อจากนั้น ในสาส์นที่ประกาศเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมปี 2005 เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 60 ปีการก่อตั้งสหประชาชาติ นาย โคฟีอันนัน ได้เรียกร้องให้ผู้นำทุกประเทศสมาชิกมีการตัดสินใจอย่างจริงจังและเข้มแข็งมากขึ้นเพื่อปฏิรูปองค์กรพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดของโลก ส่วนนาย บันคีมูน ซึ่งรับตำแหน่งต่อจากนายโคฟีอันนันได้กำหนดว่า การปฏิรูปองค์กรสหประชาชาติเป็นหนึ่งในภารกิจหลักและเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในสมัยการดำรงตำแหน่งของตน ในการกล่าวปราศรัยรับตำแหน่งเมื่อต้นปี 2017 นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติคนปัจจุบันได้ย้ำว่า “ สหประชาชาติต้องทำการปฏิรูปเพื่อปกป้องคุณค่าการเป็นผู้บุกเบิกของตน” สหประชาชาติควรให้ความสนใจมากขึ้นถึงกระบวนการปฏิบัติ ลดเวลาของการวางแผน เน้นให้ความสนใจมนุษย์และลดระเบียบกลไกที่ขาดประสิทธิภาพ

สำหรับการปฏิรูปองค์กรสหประชาชาตินั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นเนื่องจากเมื่อเริ่มจัดตั้งมีสมาชิก 51 ประเทศเท่านั้นแต่ในปัจจุบัน สหประชาชาติมีสมาชิกถึง 193 ประเทศที่ร่วมมือและแข่งขันกัน ประชากรได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า พลังความเข้มแข็งของหลายประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีการเกิดขึ้นของศูนย์กลางอำนาจ ระบบเศรษฐกิจใหม่ๆและระบบหลายขั้ว ในขณะเดียวกัน ภัยคุกคามต่างๆ เช่น การก่อการร้ายและอาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ตได้เข้มแข็งขึ้นจนสูงกว่าความสามารถในการรับมือของแต่ละประเทศและการปะทะในทั่วโลกที่นับวันเพิ่มมากขึ้น ส่วนในหลายปีมานี้ องค์กรสหประชาชาติก็ไม่สามารถใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่เนื่องจากระบบการทำงานแบบเดิมๆและความอ่อนแอในการบริหาร แม้มีงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 140 มีจำนวนเจ้าหน้าที่มากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2000 แต่ประสิทธิภาพยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวังมากนัก

เสนอก้าวเดินที่เป็นรูปธรรม

ในฐานะประเทศอำนวยการของการประชุมเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ได้ยืนยันว่า ต้องมุ่งสู่สหประชาชาติที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในทั่วโลก แต่เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว สหประชาชาติต้องมอบหมายหน้าที่ให้แก่ผู้บริหารทุกระดับ ปกป้องผู้ที่เปิดโปงผู้กระทำผิด มุ่งเน้นผลงานแทนขั้นตอนปฏิบัติ ในขณะเดียวกัน นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ได้เผยว่า การลดระเบียบปฏิบัติ การมุ่งสู่ผลงานและถือมนุษย์เป็นศูนย์กลางเป็นแนวทางการปฏิรูปของสหประชาชาติ สหประชาชาติต้องสามารถปรับตัวได้ดี คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันนี้ สหประชาชาติเริ่มปฏิบัติแผนการปฏิรูปในการค้ำประกันความเสมอภาคทางเพศในกลไกของสหประชาชาติ ปรับปรุงโครงสร้างการต่อต้านการก่อการร้าย แก้ไขปัญหาทหารรักษาสันติภาพล่วงละเมิดทางเพศ นอกจากนี้ ระบบการพัฒนาของสหประชาชาติก็ได้รับการปฏิรูปเพื่อสามารถมุ่งเน้นและประสานงานกับประเทศอื่นๆในกรอบระเบียบวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2020 อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อผลักดันกระบวนการปฏิรูปดังกล่าว นอกจากความตั้งใจทางการเมือง นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรสยังเรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมแรงร่วมใจผลักดันโครงการปฏิรูปอย่างสมบูรณ์และเข้มแข็งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสหประชาชาติ

ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ได้แสดงความคิดเห็นว่า ความพยายามปฏิรูปสหประชาชาติจะต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆเนื่องจากความแตกแยกภายในของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและข้อกำหนดที่ว่า ทั้งเลขาธิการใหญ่และคณะเลขาธิการของสหประชาชาติต่างไม่มีบทบาทจัดทำนโยบายที่เป็นอิสระ และมีความเป็นไปได้สูงที่สหประชาชาติต้องรับมือกับอุปสรรคด้านการเงินเมื่อสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดของสหประชาชาติได้กล่าวตำหนิว่า การดำเนินงานของสหประชาชาติยังไม่ทัดเทียมกับศักยภาพที่มี

จากการก่อตั้งมาเป็นเวลากว่า 70 ปีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1945 สหประชาชาติได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในการปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพ ความมั่นคงและผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมนุษย์ แต่จากการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของสถานการณ์โลก เพื่อปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สหประชาชาติต้องได้รับการปฏิรูปอย่างสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่จำเป็นของทั้งสหประชาชาติและประชาคมระหว่างประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด