เวียดนามสนับสนุนความร่วมมือใต้-ใต้อยู่เสมอ

(VOVWORLD) -วันที่ ๒๒ มีนาคม การประชุมระดับสูงของสหประชาชาติครั้งที่ ๒ เกี่ยวกับความร่วมมือใต้-ต้ได้เสร็จสิ้นลงหลังจากประชุมมาเป็นเวลา 2 วัน ณ ประเทศอาร์เจนตินา คณะผู้แทนเวียดนามนำโดยนาย บุ่ยแทงเซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมนี้ การเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้เป็นการยืนยันถึงคำมั่นและการสนับสนุนของเวียดนามต่อความร่วมมือใต้-ใต้ อีกทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับความสำเร็จของเวียดนามในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม 
เวียดนามสนับสนุนความร่วมมือใต้-ใต้อยู่เสมอ - ảnh 1นาย บุ่ยแทงเซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม (vtv.vn)

ความร่วมมือใต้-ใต้คือรูปแบบความร่วมมือเพื่อผลักดันการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพผ่านการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนา ความร่วมมือใต้-ใต้ ได้สนับสนุนมาตรการที่เป็นรูปธรรมต่อความท้าทายในการพัฒนาของโลก แลกเปลี่ยนบทเรียนที่มีประสิทธิภาพจากสถานการณ์จริง ให้การช่วยเหลือโครงการนำร่อง จัดสรรเงินทุนเพื่อขยายโครงการให้ประสบความสำเร็จ พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

เข้าร่วมความร่วมมือใต้-ใต้อย่างเข้มแข็ง

เวียดนามนับวันเข้าร่วมอย่างเข้มแข็งและกว้างลึกต่อความสัมพันธ์ร่วมมือกับประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆหรือความร่วมมือใต้-ใต้และความร่วมมือไตรภาคีโดยมีการเข้าร่วมของประเทศพัฒนาและนักอุปถัมภ์ เวียดนามได้รับหน้าที่เป็นรองประธานคณะกรรมการระดับสูงเกี่ยวกับความร่วมมือใต้ ใต้สมัยที่ ๑๗ และเข้าร่วมการสนทนาใต้-ใต้ รัฐบาลเวียดนามยังอนุมัติเอกสารความสัมพันธ์หุ้นส่วนเวียดนามหรือวีพีพี โดยให้คำมั่น “ผลักดันความร่วมมือกับประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆผ่านการขยายการค้า การลงทุน แลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือด้านเทคนิค” ด้วยแนวทางนี้ ในเวลาที่ผ่านมา เวียดนามได้ขยายความร่วมมือทวิภาคีกับประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศในย่านเอเชีย แอฟริกา ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน

สำหรับหลายประเทศในแอฟริกา เวียดนามมีความสัมพันธ์ร่วมมือที่ใกล้ชิดในหลายด้าน เช่นความมั่นคงด้านอาหาร ความร่วมมือด้านการเกษตร โครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาและฝึกอบรม สาธารณสุข การแก้ปัญหาความยากจนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่วนสำหรับความสัมพันธ์หุ้นส่วนกับประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้ เวียดนามได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถ่ายทอดความรู้ โดยเฉพาะได้ส่งผู้เชี่ยวชาญไปฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี และผลักดันกิจกรรมร่วมมือทวิภาคีกับหลายประเทศ เช่นแองโกลา โมซัมบิก อียิปต์และลิเบีย เป็นต้น ในการส่งออกข้าว การพัฒนาการปลูกยางพารา กาแฟ ผักและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

สำหรับกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียน เวียดนามได้ขยายและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคนี้อย่างเข้มแข็งนับตั้งแต่เวียดนามเริ่มภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่และผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก จนถึงปัจจุบัน เวียดนามมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับแทบทุกประเทศลาตินอเมริกา มีการจัดตั้งกลไกคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลกับ ๕ ประเทศลาตินอเมริกา กลไกการทาบทามความคิดเห็นทางการเมืองกับ ๑๕ ประเทศ ลงนามข้อตกลงร่วมมือหลายฉบับ สร้างกลไกและกรอบทางนิตินัยที่สะดวกให้แก่ความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้

พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์

ภายใต้หัวข้อ “บทบาทของความร่วมมือใต้ ใต้ และการปฏิบัติระเบียบวาระการประชุม ๒๐๓๐ เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โอกาสและความท้าทาย” การประชุมระดับสูงของสหประชาชาติครั้งที่ ๒ เกี่ยวกับความร่วมมือใต้-ใต้ ได้ประเมินกระบวนการ ๔๐ ปีการปฏิบัติแผนปฏิบัติการบัวโนสไอเรส หรือบีเอพีเอเกี่ยวกับการผลักดันและปฏิบัติความร่วมมือด้านเทคนิคระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาและวางแนวทางความร่วมมือใต้ ใต้ ในเวลาที่จะถึง

ในโอกาสเข้าร่วมการประชุม คณะผู้แทนเวียดนามนำโดยนาย บุ่ยแทงเซิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีบทปราศรัยสำคัญในการประชุมครบองค์และเข้าร่วมการเสวนาและการสนทนาในกรอบการประชุม เวียดนามยืนยันพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์บทเรียนจากการพัฒนาและผสมผสานของเวียดนามกับประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีเงื่อนไขและสถานการณ์เหมือนเวียดนาม นอกจากด้านที่มีจุดแข็ง เช่นการเกษตร การศึกษาและฝึกอบรมและสาธารณสุข เวียดนามมีความประสงค์ขยายความร่วมมือในด้านที่มีศักยภาพและจริงจังเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศที่กำลังพัฒนาบนพื้นฐานเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน เวียดนามเห็นว่า ต้องผลักดันประสิทธิภาพของฟอรั่มต่างๆ กรอบความร่วมมือใต้-ใต้ในระดับภูมิภาคและโลก เพื่อผลักดันการมีเสียงพูดและผลประโยชน์ร่วมของประเทศที่กำลังพัฒนาในการแก้ปัญหาระดับโลก

การผสมผสานเข้ากับกระแสโลกคือเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆและเป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศของเวียดนาม การที่เวียดนามให้ความสำคัญและมีความกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมต่อการผลักดันความร่วมมือใต-ใต้ คือก้าวเดินที่เข้มแข็ง สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาของโลกและสถานการณ์ที่เป็นจริงของประเทศ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด