เวียดนามเน้นแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

( VOVworld )- โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสำหรับตำบลยากจนในเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขาหรือโครงการ ๑๓๕ ระยะที่ ๓ เพิ่งได้รับการอนุมัติจากนายกฯเมื่อเร็วๆนี้ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนและกระจายนโยบายแก้ปัญหาความยากจนถึงหมู่บ้านตำบล


( VOVworld )- โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสำหรับตำบลยากจนในเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขาหรือโครงการ ๑๓๕ ระยะที่ ๓ เพิ่งได้รับการอนุมัติจากนายกฯเมื่อเร็วๆนี้ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนและกระจายนโยบายแก้ปัญหาความยากจนถึงหมู่บ้านตำบล

เวียดนามเน้นแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน - ảnh 1
แก้ปัญหาความยากจนให้แก่ชนเผ่าในเขตเขาสูง ( เวียดนามเน็ต )

ภายหลังปฏิบัติโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสำหรับตำบลยากจนในเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขาหรือโครงการ ๑๓๕ มา ๑๖ ปี เวียดนามได้ประสบความสำเร็จเป็นที่น่ายินดีโดยได้ถูกระบุในรายชื่อประเทศที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาเศรษฐกิจ   ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติโครงการ ๑๓๕ โฉมของเขตเขาและเขตชนกลุ่มน้อยได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด  คุณภาพชีวิตของชาวบ้านดีขึ้นกว่าก่อน โดยอัตราครอบครัวยากจนลดลงเฉลี่ยร้อยละ ๓.๖ ต่อปี  อย่างไรก็ดี ยังมีความเหลื่อมล้ำระหว่างเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขากับเขตอื่นๆของประเทศ  โดยผลการสำรวจของคณะกรรมการชนเผ่าแห่งรัฐบาลเมื่อเร็วๆนี้ปรากฎว่า  มีตำบล ๑๔๙ แห่งจาก ๙,๐๐๐ แห่งยังไม่มีถนนสำหรับรถเข้าถึงใจกลางหมู่บ้านหมู่บ้านประมาณร้อยละ ๖๗ ยังไม่มีถนนสายหลักที่ก่อสร้างด้วยคอนกรีต หมู่บ้านตำบลหลายพันแห่งไม่มีไฟฟ้าใช้หรือสายไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงใจกลางหมู่บ้านตลอดจนครอบครัวร้อยละ ๓๒ ยังไม่มีน้ำบริโภคที่ถูกหลักสุขอนามัย  ครอบครัว ๑ แสน ๒ หมื่นรายที่อยู่ในบริเวณชายแดนยังไม่สามารถปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงชีพได้  ส่วนสำหรับบุคลากรนั้น แถวขบวนผู้บริหารของหมู่บ้านและตำบลกว่า ๒ แสนคนยังไม่ได้รับการฝึกอบรมเพิ่มความรู้ในทุกด้าน  ดังนั้น โครงการ ๑๓๕ ระยะที่ ๓ จึงได้ตั้งเป้าไว้ว่า ต้องแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน  นายหว่างวันด่วาน รองเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดหล่างเซินเผยว่าในระยะ๓ นี้ การสนับสนุนการผลิตมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะจะช่วยให้ชนกลุ่มน้อยพ้นจากความยากจน เนื่องจากว่า ปัจจุบันพวกเขาไม่มีเงินพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ใหม่และไม่สามรถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ซึ่งการช่วยเหลือของรัฐบาลในการสนับสนุนราคาพืชและสัตว์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

นายดิงกงแน้น ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลเจี่ยงซาย อำเภอบั๊กเอียน จังหวัดเซินลาเห็นว่า ปัญหาในเขตเขาที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่คือ โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมที่ไม่สามารถเชื่อมกับตลาดขายผลิตภัณฑ์เกษตรได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายครอบครัวกลับมายากจนอีกจำนวนมาก นายแน้นกล่าว “ เส้นทางคมนาคมภายในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้านตำบลยังไม่สะดวกจึงส่งผลกระทบต่อการเดินทางและขนส่งสินค้าการเกษตร  ปัจจุบันพวกเราเน้นลงทุนก่อสร้างเส้นทางคมนาคมเพื่อแก้ไขปัญหาการจำหน่ายสินค้าการเกษตร

ส่วนดร.ดั่งกิมเซิน หัวหน้าสถาบันนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาเกษตรกรรมของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทได้เผยว่า โครงการ ๑๔๕ ระยะที่ ๓ ที่เน้นลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาการผลิตจะสร้างก้าวกระโดดในการระดมแหล่งเงินทุน อันเป็นการมีส่วนร่วมให้แก่การแก้ปัญหาความยากจนในตำบลยากจนพิเศษ ตำบลชายแดนและตำบลที่เป็นฐานที่มั่นปลอดภัยในสงครามต่อต้านฝรั่งเศส แต่ละตำบลจะได้รับงบ ๑ พันล้านด่งต่อปี และตั้งแต่ปี ๒๐๑๕ จะมีการประเมินสถานการณ์เพื่อเพิ่มเป็น ๒ พัน ๕๐๐ ล้านด่งต่อปีโดยจะระดมเงินจากช่องทางต่างๆนอกเหนือจากงบของรัฐบาล

นายหย่างแซวฝื่อ รมว.และประธานคณะกรรมาธิการชนเผ่าแห่งรัฐสภาเผยถึงข้อใหม่ๆของโครงการ ๑๓๕ ระยะ๓ เพื่อปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกล่าวว่า  “ ข้อใหม่ของโครงการคือ การสานต่อเนื้อหาต่างๆของระยะที่๒ ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ อีกทั้งขยายเวลาการดำเนินนโยบายเป็น ๕ ๑๐ ปีเพื่อมีเวลาปฏิบัติอย่างเพียงพอและประเมินกระบวนการดำเนินงาน อีกประการคือ การผลิตบุคลากร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการปฏิบัตินโยบายอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

การปฏิบัติเป้าหมายลดครอบครัวยากจนลงเหลือร้อยละ ๕ ในปี ๒๐๑๕ ถือเป็นความท้าทายของเวียดนามโดยต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในขั้นพื้นฐานและแหล่งเงินทุน  จากผลสำเร็จในช่วงที่ผ่านมาบวกกับความพยายามในการปฏิบัติโครงการ ๑๓๕ ระยะที่๓ เชื่อแน่ว่าจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในตำบลยากจนและเขตชนกลุ่มน้อยเพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างมีประสิทธิภาพ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด