ชาวเวินเกี่ยวอนุรักษ์สถาปัตยกรรมบ้านเรือนไม้โบราณ

(VOVWorld)-โดยที่ใช้วิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ในปัจจุบัน                 ทำให้เอกลักษณ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของชนเผ่าเวินเกี่ยวค่อยๆจางหายไป  โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมบ้านเรือนไม้ยกพื้นโบราณ  ดังนั้นสำนักงานวัฒนธรรมการกีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดกว๋างจิจึงวางแผนก่อสร้างหมู่บ้านเรือนไม้ยกพื้นโบราณ16 หลัง ที่หมู่บ้านกาลู ตำบลดั๊กกรง  อำเภอเขตเขาดั๊กกรงซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชนเผ่าเวินเกี่ยวบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกและตะวันตก

(VOVWorld)-โดยที่ใช้วิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ในปัจจุบัน                 ทำให้เอกลักษณ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของชนเผ่าเวินเกี่ยวค่อยๆจางหายไป  โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมบ้านเรือนไม้ยกพื้นโบราณ  ดังนั้นสำนักงานวัฒนธรรมการกีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดกว๋างจิจึงวางแผนก่อสร้างหมู่บ้านเรือนไม้ยกพื้นโบราณ16 หลัง ที่หมู่บ้านกาลู ตำบลดั๊กกรง  อำเภอเขตเขาดั๊กกรงซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชนเผ่าเวินเกี่ยวบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกและตะวันตก
ชาวเวินเกี่ยวอนุรักษ์สถาปัตยกรรมบ้านเรือนไม้โบราณ  - ảnh 1
บ้านของชาวเวินเกี่ยว

ถ้ามีโอกาสไปเที่ยวหมู่บ้านกาลูในช่วงมีงานเทศกาลพื้นบ้าน  เราจะได้พบปะชาวบ้านทั้งผู้เฒ่าผู้แก่และหนุ่มๆสาวๆกำลังดื่มเหล้ากันอย่างสนุกสนานในบ้านเรือนไม้ยกพื้นโบราณที่เพิ่งฟื้นฟูก่อสร้างขึ้นมาใหม่ซึ่งยังอบอวลกลิ่นหอมของไม้ป่า  นายโฮแทงหม่าน  ชาวบ้านคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า:สมัยก่อนบ้านเรือนไม้โบราณของชาวเวินเกี่ยวทำด้วยไม้หรือไม้ไผ่  หลังคามุงใบหวาย  แต่จากการผันเปลี่ยนวิถีชีวิตตามกาลเวลา ชาวเวินเกี่ยวไม่สร้างบ้านแบบโบราณอีกหากสร้างบ้านก่ออิฐถือปูนมุงหลังคาด้วยสังกะสีหรือฟีโปรซีเมนต์  ฉนั้นเมื่อได้อยู่ในบ้านเรือนไม้โบราณสมัยก่อนชาวบ้านจึงดีใจกันมาก“โครงการลงทุนฟื้นฟูการสร้างบ้านโบราณขึ้นมาใหม่ทำให้พี่น้องชาวชนเผ่าเวินเกี่ยวดีใจกันมาก  เมื่อก่อนนี้เงื่อนไขเศรษฐกิจไม่พร้อม  บ้านเรือนไม้ไม่ค่อยสวย  เดี๋ยวนี้ทางการลงทุนสร้างให้  บ้านเรือนไม้ยกพื้นสวยมากและยังคงอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดั้งเดิมไว้ได้”
เพื่ออนุรักษ์อัตลักษณ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของชนเผ่าน้อยให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง  สำนักงานวัฒนธรรมการกีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดกว๋างจิจึงลงทุนสร้างบ้านโบราณใหม่ในหมู่บ้านกาลู  พัฒนาหมู่บ้านกาลูให้เป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดกว๋างจิ      อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์ศักยภาพการท่องเที่ยวบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกและตะวันตกอย่างได้ผลอีกด้วย
ชาวเวินเกี่ยวอนุรักษ์สถาปัตยกรรมบ้านเรือนไม้โบราณ  - ảnh 2
ขั้นตอนที่ยากที่สุดในการสร้างบ้านเรือนไม้โบราณนั้นคือ  
การมุงหลังคาที่มีความประณีต

วิธีการสร้างบ้านเรือนไม้ยกพื้นแบบโบราณของชนเผ่าเวินเกี่ยวจะเน้นในหลักการให้มีความเย็นสบายในฤดูร้อนและอบอุ่นในฤดูหนาว  บ้านโบราณ16 หลังที่ทางการจังหวัดกว๋างจิลงทุนสร้างใหม่ในหมู่บ้านกาลูนั้น  แต่ละหลังมูลค่า 300-400 ล้านด่ง  พ่อเฒ่าโฮจันฮึมกล่าวว่า :  ขั้นตอนที่ยากที่สุดในการสร้างบ้านเรือนไม้โบราณนั้นคือ  การมุงหลังคาที่มีความประณีตซึ่งสมัยก่อนผู้ชายเวินเกี่ยวทุกคนทำได้  ปัจจุบันมีแต่ผู้สูงอายุเท่านั้นรู้วิธีทำ “การฟื้นฟูการสร้างบ้านเรือนไม้ยกพื้นโบราณขึ้นมาใหม่ให้ชนเผ่าเวินเกี่ยวนั้นไม่เพียงแต่เป็นการช่วยให้ชนรุ่นเยาว์เรียนรู้อาชีพสร้างบ้านเรือนไม้ยกพื้นแบบดั้งเดิมเท่านั้น  หากยังทำให้การท่องเที่ยวของหมู่บ้านกาลูพัฒนามากขึ้นและกลายเป็นจุดท่องเที่ยวที่ดึงดูดใจอีกด้วย”
ถ้ามีโอกาสท่องเที่ยวตามเส้นทางของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกและตะวันตกแล้ว  เราจะเห็นบ้านเรือนไม้ยกพื้นสวยงามของชาวเวินเกี่ยวและจะได้ยินเสียงดนตรี  เสียงเพลงอันไพเราะที่ชาวบ้านกำลังฝึกซ้อมเพื่อแสดงในงานเทศกาลพื้นบ้านของชนเผ่าที่จะจัดขึ้นเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว  นายฝ่ามวันทั้ง  หัวหน้าคณะบริหารโครงการของสำนักงานวัฒนธรรมการกีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดกว๋างจิเผยว่า : นอกจากการฟื้นฟูบ้านเรือนไม้ยกพื้นโบราณในหมู่บ้านกาลูแล้ว  ทางการจังหวัดยังสร้างกลุ่มบ้านพักในชุมชน(แบบโฮมสเตย์)  และหอชมวิวในหมู่บ้านซึ่งเป็นกิจกรรมในโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวของอณุภูมิภาคแม่น้ำโขงไปด้วย “ควบคู่กับการฟื้นฟูกิจกรรมวัฒนธรรมรูปธรรมและนามธรรมแล้วทางจังหวัดยังเน้นการพัฒนาอาหารพื้นบ้าน  เครื่องมือใช้ในการทำอาหาร  เครื่องดนตรีและทำนองเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าเวินเกี่ยว  ซึ่งเป็นการสร้างงานทำให้แก่ชาวบ้าน  ช่วยให้พวกเขามีรายได้เสริมและมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น  ทำให้พวกเขาเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่าตน”
หมู่บ้านกาลูอยู่เลียบตามทางหลวงโฮจิมินห์แห่งประวัติศาสตร์ที่เคยสร้างวีรกรรมในการต่อสู้กู้ชาติเพื่อรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว  ปัจจุบันกำลังได้รับการลงทุนพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทั้งในเชิงนิเวศและการศึกษาค้นคว้าแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ ในเส้นทางค้นคว้าวัฒนธรรมพื้นบ้านอันหลากหลายของชนเผ่าน้อยเวียดนามทางตะวันตกภูเขาเจื่องเซิน.

           

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด