ดิงตู๊ด เครื่องดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าแหยเจียง

(VOVworld)- ชนกลุ่มน้อยแหยเจียงมีหลักแหล่งอาศัยอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนรวมประชากรราว3หมื่น3พันคน นอกจากนั้น ที่อ.เขตเขานามยางในจังหวัดกว๋างนามก็มีชุมชนเผ่าแหยเจียงที่มีประชากรกว่า1หมื่น9พันคนคิดเป็นร้อยละ39ของจำนวนประชากรเผ่าแหยเจียงในทั่วประเทศเวียดนาม ซึ่งในด้านชีวิตวสัฒนธรรมนั้น การแสดงดนตรีศิลปะพื้นเมืองนั้นถือว่ามีความหลากหลายด้วยการประกอบของเครื่องดนตรีหลายชนิดโดยเฉพาะ ดิงตู๊ต 


ดิงตู๊ด เครื่องดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าแหยเจียง - ảnh 1

สำหรับชนเผ่าแหยเจียง ดนตรีพื้นเมืองคือหนึ่งในวัฒนธรรมที่มีความสำคัญยิ่งในชีวิตจิตใจและในคลังดนตรีอันหลากหลายนั้น ดิงตู๊ต ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและเป็นเครื่องดนตรีที่ขาดมิได้ในทุกกิจกรรมโดยเฉพาะในเทศกาลต่างๆ ดิงตู๊ต เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งในชุดเครื่องเป่าที่เรียกว่า ดิง ที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่รวมกว่า10อย่าง และเป็นเครื่องดนตรีที่มีความผูกพันธ์กับชีวิตของชาวเเหยเจียงตั้งแต่เกิดจนตาย โดยเมื่อบ้านไหนเพิ่งมีบุตร เสียงดิงตู๊ตก็จะบรรเลงแสดงความยินดี สร้างบรรยากาศที่สนุกสนานรื่นเริงแห่งความสุขในงานแต่งงานหรืองานเทศกาลต่างๆ และเป็นเสียงแห่งความอาลัยอาวรของชาวบ้านเมื่อต้องส่งคนในชุมชนกลับสู่สรวงสวรรค์

ดิงตู๊ด เครื่องดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าแหยเจียง - ảnh 2
การทำเครื่องดนตรีในชุดดิงตู๊ตนั้นจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบคือกระบอกไม้ไผ่ โดยต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ถึงจะดูออกและเลือกไผ่ที่ได้มาตรฐานเป็น ต่อจากนั้นให้ตัดต้นไผ่ให้เป็น6กระบอกที่มีขนาดสั้นยาวแตกต่างกัน อีกด้านเหลาให้แหลม กระบอกไผ่1อันเท่ากับโน้ตดนตรี1โน้ตที่ช่วยสร้างเป็นระดับเสียงเฉพาะให้แก่ ดิงตู๊ต สำหรับงานเทศกาลพื้นเมืองที่มีความหมายต่างๆอย่างงานบุญข้าวใหม่ งานเซ่นไหว้เทวดา งานแทงกระบือ หรืองานสังสรรค์บนบ้านโรง ก็ต่างต้องมีเสียงเพลงบรรเลงจาก ดิงตู๊ต โดยเฉพาะในงานเทศกาลใหญ่ต่างๆ การแสดงดิงตู๊ตยังถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งเมื่อเสียงฆ้องเริ่มดังขึ้น หนุ่มแหยเจียง6คนในชุดประจำชนเผ่าที่สวยงามจะเริ่มเป่าดิงตู๊ตเพื่อบรรเลงเพลงให้สาวๆแสดงการฟ้อนรำท่ามกลางเสียงเจียร์อย่างคึกครื้นของชาวบ้าน  จังหวะสูงต่ำสั้นยาวของดิงตู๊ตขึ้นอยู่กับเนื้อร้องที่ผสานกับเสียงกลองเสียงฆ้องในงาน นางเหี่ยนเตี๊ยบ จากอำเภอเมือง แถกหมี อ.นามยาง จ.กว๋างนามกล่าวว่า“การรำดิงตู๊ตคือเอกลักษณ์ของชาวเผ่าแหยเจียงที่ได้รับการสืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น เพื่อร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะนี้ให้คงอยู่ต่อไป”

เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่สะท้อนความสามัคคีแห่งชุมชนดังนั้นในการแสดงดิงตู๊ตจะต้องมีผู้เล่นตั้งแต่6-8คน และต้องประสานกันอย่างกลมกลืน โดยคนที่เดินนำหน้าคือหังหน้าวงและเป็นผู้ที่ควบคุมจังหวะเพื่อให้คนอื่นๆเป่าตาม ตามเรื่องที่บรรดาผู้ใหญ่บ้านได้เล่านั้น การฟ้อนรำดิงตู๊ตมี8บทแต่ละบทจะมีความหมายเฉพาะและมีท่ารำที่ไม่ซ้ำกันและชาวแหยเจียงทุกคนต่างรู้จักการเป่าดิงตู๊ตเพราะถือเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดมิได้ในชีวิตจิตใจของทุกคน นาย เยอรามแวง ชาวอ.นามยาง กล่าวว่า“การเป่าดิงตู๊ตนั้นยากพอสมควร แค่เรียนเพื่อเป่าได้ก็ยากแล้ว เราต้องฝึกและเรียนจากผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ เมื่อลูกหลานสนใจเรียนและรู้จักใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองก็ถือเป็นการสานต่อและพัฒนาเกียรติประวัติวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ”

ผ่านความผันผวนต่างๆมาหลายชั่วคน ชาวแหยเจียงก็ยังสามารถอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดีเลิศและโดดเด่นของชนเผ่าตนไว้อย่างสมบูรณ์และเสียงดิงตู๊ตที่ดังกัลวาลไปทั่วป่าเขาถือเป็นเสียงแห่งพลังชีวิตที่ชาวแหยเจียงที่ผูกพันกับการพัฒนาคงอยู่ของชุมชนชนเผ่าแหยเจียงในเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด