ประเพณีการเตรียมสินสอดทองหมั้นในการแต่งงานของชนเผ่าแหยเจียง

(VOVworld)- แม้จะเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรไม่มาก ราวกว่า5หมื่นคนที่อาศัยส่วนใหญ่ในจังหวัดกอนตุม แต่ชนเผ่าแหยเจียงก็ยังคงอนุรักษ์และปฏิบัติประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ต่างๆโดยเฉพาะการเตรียม“กองฟืนสินสอด”หนึ่งในประเพณีการแต่งงานที่ได้สืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้



ประเพณีการเตรียมสินสอดทองหมั้นในการแต่งงานของชนเผ่าแหยเจียง - ảnh 1
ตามประเพณีจะต้องเตรียมฟืนอย่างน้อย100มัด(photo thethao-vanhoa)

เมื่อเดินทางไปเยือนหมู่บ้านต่างๆของชนเผ่าแหยเจียงในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน เราสามารถสังเกตเห็นว่าตามบ้านต่างๆมักจะมีกองฟืนขนาดใหญ่ที่ถูกตัดให้เท่ากันและจัดอย่างเรียบร้อยใต้หลังคาลานหน้าบ้าน นี่คือสินสอดทองหมั้นของสาวเผ่าแหยเจียงที่เตรียมไว้เพื่อการแต่งงานเมื่อถึงวัย  ตามประเพณีที่ปฏิบัติกันมาแต่เนิ่นนาน บ้านไหนมีลูกสาวเข้าวัย16ปีก็จะเริ่มการเก็บฟืนเพื่อเตรียม“กองฟืนสินสอด”ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการหาคู่  โดยในการไปทำไร่ทำนาทุกครั้ง คุณแม่ในครอบครัวจะแนะนำให้ลูกสาววิธีการเลือกและเก็บฟืนตามมาตรฐานคือต้องเป็นแท่งไม้ที่มีขนาดเท่ากันและถูกตัดอย่างสวยงาม หากกองฟืนยิ่งสวยยิ่งใหญ่เท่าไหร่ก็หมายความว่าความรักและชีวิตคู่จะยิ่งมั่นคง ดังนั้นชาวเผ่าแหยเจียงจึงถือว่า เพียงแค่สังเกตกองฟืนสินสอดก็สามารถประเมินคุณสมบัติและฝีมือของสาวบ้านนั้นได้ หากกองฟืนมีขนาดเท่ากันแล้วฟืนแต่ละแท่งจะถูกฝ่าเป็น5แจกแต่ไม่แยกจากกันก็หมายถึงเป็นคนมีฝีมือ และฟืนแห่งความรักนั้นก็เปรียบเสมือนเป็นของหมั้นพิเศษที่เจ้าสาวนำไปที่บ้านเจ้าบ่าวเพื่อใช้สร้างความอบอุ่นในครอบครัวของสามียามหน้าหนาว ซึ่งนี่ยังเป็นประเพณีที่มีความหมายที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณสมบัติของสตรีแหยเจียงที่ขยันหมั่นเพียรและเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก นาง อี ห่ง ประธานคณะกรรมการประชาชนต.ดั๊กยุก อ.หงอกโห่ย จ.กอนตุม เผยว่า“ประเพณีการเตรียมกองฟืนสินสอดของชนเผ่าแหยเจียงนั้นเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่งดงามที่ยังคงปฏิบัติกัน ซึ่งสาวๆแหยเจียงจะต้องขยันทำงานเพื่อเก็บฟืนได้อย่างน้อย100มัดถึงจะครบเงื่อนไขเพื่อหาคู่ได้”

ประเพณีการเตรียมสินสอดทองหมั้นในการแต่งงานของชนเผ่าแหยเจียง - ảnh 2
สาวเผ่าแหยเจียงต้องเตรียมฟืนเพื่อใช้เป็นสินสอด
(photo thethao-vanhoa)

ตามประเพณีของชนเผ่าแหยเจียง ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ได้สิทธิ์เลือกคู่เองและพ่อแม่ให้ความเคารพการตัดสินใจของลูกสาว ซึ่งถ้าอยากแต่งงานสาวๆแหยเจียงไม่เพียงแต่ต้องเตรียมกองฟืนสินสอดเท่านั้นหากต้องถนัดกับการทอเสื่อทอผ้าอีกด้วย เมื่อถึงวัยแต่งงานและได้พบคนที่ชอบใจ สาวๆจะเลือกชุดสิ่งของที่เป็นต้นอ้อย แตงกวา หรือข้าวโพตปิ้งที่เอามากจากไร่ของครอบครัวนำไปไว้ที่บ้านโรงในวันที่หนุ่มสาวของหมู่บ้านมาชุมนุมพร้อมหน้าแล้วเชิญผู้ชายที่ตนชอบ หากผู้ชายคนนั้นรับและกินของเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นว่าทั้งสองคนได้กลายเป็นคู่รักกันแล้ว หลังจากนั้นในระหว่างการคบกันระหว่างสองฝ่าย จะต้องมีผู้อาวุโสในหมู่บ้ายที่ไม่เป็นเครือญาติของทั้งสองครอบครัวเป็นคนกลางเตรียมสิ่งของเพื่อเป็นพ่อสื่อ สำหรับพิธีแต่งงานนั้นได้ถูกแบ่งเป็นสองส่วนคืองานหมั้นและงานแต่ง โดยงานหมั้นถูกจัดขึ้นในตอนค่ำและต้องทำแบบลับๆในขอบเขตครอบครัวของสองฝ่าย โดยคนที่เป็นสื่อจะทำพิธีเซ่นไหว้ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และให้เจ้าสาวเป็นผู้เชือกไก่ที่ฝ่ายชาวเอามาให้ หลังจากเสร็จพิธีที่บ้านฝ่ายหญิง ทุกคนก็จะกลับไปทำพิธีที่บ้านฝ่ายชายอีกรอบ ต่อจากนั้นเมื่อถึงวันที่มีฤกษ์ดีงานแต่งจะถูกจัดขึ้นในช่วงกลางวัน โดยสิ่งแรกที่ถือว่ามีความสำคัญที่สุดคือการขน“กองฟืนสินสอด”จากบ้านเจ้าสาวไปที่บ้านเจ้าบ่าว ส่วนฝ่ายชายจะมีสิ่งของตอบแทนที่เป็นน่องหมู ข้าว เกลือ พริกและเหล้า

เมื่อเสร็จสิ้นทุกขั้นตอน ทั้งสองฝ่ายชายหญิงจะอวยพรกันด้วยการร้องเพลงพื้นเมืองโต้ตอบจนถึงเวลาเลยเที่ยง นาย ดว่านหว่ายถวด นักท่องเที่ยวจากฮานอยที่มีโอกาสร่วมงานแต่งงานของชนเผ่าแหยเจียงเผยว่า    “โอกาสที่ได้เข้าร่วมพิธีแต่งงานของชนเผ่านั้นยากมากและผมก็รู้สึกมีความสุขเมื่อได้ร่วมการร้องรำในงานแต่งงานของชนเผ่าแหยเจียงแม้จะเป็นสิ่งแปลกใหม่แต่ก็เป็นประสบการณ์ที่ดี” ปัจจุบันนี้ แม้ชาวบ้านแหยเจียงยังคงสืบทอดประเพณี “กองฟืนสินสอด” ที่มีความหมายทางวัฒนธรรมนี้ต่อไปแต่จะปฏิบัติตามแบบพิธีการเท่านั้น คือต้องเตรียมกองฟืนแค่10-15กองเท่านั้นและสิ่งนี้ก็ได้ถูกระบุในกฎระเบียบของหมู่บ้านเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตาม อันเป็นการมีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนารักษาความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด